ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมหรือไม่
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีประเภทใหม่ที่จะนำมาใช้ทดแทนการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นทั้งหมด โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาล
ทำไมจึงต้องนำภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างมาใช้จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่
​1) เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เป็นกฎหมายที่ใช้มานาน และไม่ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากอดีต จึงทำให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับฐานภาษี อัตราภาษี และ การลดหย่อนภาษีที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
1.1) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(1) ภาษีโรงเรือนและที่ดินใช้ฐานค่ารายปีหรือ ค่าเช่าต่อปีในการประเมินภาษี จึงซ้าซ้อนกับการเก็บภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
(2) การประเมินค่ารายปีขึ้นกับดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการกำหนดค่าเช่าที่สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง
(3) อัตราภาษีที่จัดเก็บกำหนดไว้สูงมาก คือ ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปีหรือเทียบกับค่าเช่าเดือนครึ่ง
1.2) ภาษีบำรุงท้องที่
(1) ฐานภาษีไม่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากใช้ราคา ปานกลางของที่ดินซึ่งปกติต้องปรับปรุงทุกรอบ 4 ปี แต่ปัจจุบันยังคงใช้ราคาปานกลางที่ดินเดิมที่ใช้ในการประเมินภาษีปี 2521 – 2524 และยังมีการลดหย่อนเนื้อที่ดินที่นำมาคำนวณภาษีเป็นจำนวนมาก
(2) อัตราภาษีมีการกำหนดตามชั้นของราคาปานกลางที่ดินมากถึง 34 ชั้น และมีลักษณะถดถอย โดยที่ดินที่มีมูลค่าสูงเสียภาษีในอัตราเฉลี่ยที่ต่ำกว่าที่ดินที่มีมูลค่าต่ำ
2) รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาเองมีสัดส่วนที่ต่ำ ไม่เพียงพอในการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น ในอนาคต เนื่องจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอนาคต จะเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการพัฒนา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 
หลักการสําคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร
1) การจัดเก็บภาษีจะคํานวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการใช้ประโยชน์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น
2) กําหนดอัตราภาษีเป็นแบบก้าวหน้าตามมาตรฐานมูลค่า ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
3) การเพิ่มกระบวนการสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บ ภาษีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
4) การกําหนดมาตรการเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการ ชําระภาษี
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยการเชื่อมโยง ข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าด้วยกัน 
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคาดว่า จะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
1) ลดความเหลื่อมล้ํา ผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระต้องเสีย ภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ํา ซึ่งจะทําให้เกิดความ เป็นธรรมและช่วยลดความเหลื่อมล้ําในสังคม รวมถึงยังช่วย กระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
2) เพิ่มประสิทธิภาพ
2.1) ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษี
2.2) กระตุ้นให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
3) เพิ่มรายได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่จะ นําไปใช้ในการลงทุนและจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้ ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระตุ้นและสร้างจิตสํานึกให้ ประชาชนในพื้นที่มีการตรวจสอบการดําเนินงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีการเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็น ธรรม รวมถึงติดตามการใช้จ่ายเงินภาษีซึ่งจัดเก็บจาก ประชาชนในพื้นที่ไปพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของประชาชนหรือไม่
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร
ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่ สภาพ จะถูกเก็บภาษีในอัตรารกร้างว่างเปล่า ซึ่งมีอัตรา เท่ากับหรือสูงกว่าอัตราภาษีการใช้ประโยชน์อื่นๆ และหาก เสียภาษีที่รกร้างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ในปีที่ 4 จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.3 และจะเสียเพิ่มขึ้น อีกร้อยละ 0.3 ทุกๆ 3 ปี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน ร้อยละ 3 การเก็บภาษีในลักษณะนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิด การนําที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ ในลักษณะต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อทําให้เสียภาษีน้อยลง
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อไหร่
การบังคับใช้กฎหมายแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ
1) ช่วงแรกจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา คือ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจ ดําเนินการสํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และดําเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนจัดเก็บภาษี รวมทั้งกระทรวง มหาดไทยกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องจัดทําพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ และ ประกาศ รวมถึงดําเนินการในด้านอื่นๆ ที่จําเป็นเพื่อเตรียม ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แล้ว เสร็จก่อนที่จะเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
​2) ช่วงที่สองจะเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป พร้อมกับการยกเลิก การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ ยกเว้นกรณีภาษีที่ต้องเสียหรือพึงชําระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ ต้องคืนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 
ทําไมคนมีบ้าน 1 หลัง มูลค่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี แต่คนที่มีบ้าน ราคา 3 ล้านบาท 2 หลัง ต้องเสียภาษี บ้านหลังที่ 2
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย เป็นของตนเองเพราะเป็นปัจจัยสี่ในการดํารงชีวิต ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชน จึงกําหนดยกเว้นภาษี ให้กับบ้านที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเองเพียงหลังเดียวที่มีมูลค่า ไม่เกิน 50 ล้านบาท และสําหรับผู้ที่สะสมความมั่งคั่งใน อสังหาริมทรัพย์ที่มีบ้านที่ใช้อยู่อาศัยหลังที่ 2 หรือ 3 ก็จะ ไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีมาก เนื่องจากอัตรา ภาษีที่จัดเก็บจากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวมีอัตราที่ต่ํา
กฎหมายที่มีการอ้างถึงการยกเว้นภาษีภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรื
1) กฎหมายอื่นที่มีการอ้างถึงภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบํารุงท้องที่มิให้หมายความรวมถึงภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง เช่น การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีให้แก่หอพัก เอกชนที่ได้ประกาศเกียรติคุณ ตามมาตรา 41 แห่ง พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558
​2) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กําหนดว่า ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากร และเงินที่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วน ท้องถิ่นเรียกเก็บทุกชนิด บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ระบุถึง ภาษีอากรประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ จึงไม่มี ความหมายเป็นการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
3) การยกเว้นภาษีท้องถิ่นของรัฐและหัวหน้าคณะผู้แทน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความ คุ้มกันทางกงสุล พ.ศ. 2541 เป็นการยกเว้นภาษีอากรตาม กฎหมายที่ตราขึ้นตามข้อผูกตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต และทางกงสุล จึงได้รับยกเว้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 4 วรรคสาม แห่ง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
ใครคือผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1) เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2) เจ้าของอาคารชุด
3) ผู้ครอบครองหรือทําประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นทรัพย์สินของรัฐ
4) ผู้มีหน้าที่ชําระภาษีแทนผู้เสียภาษี เช่น ผู้จัดการมรดก หรือทายาท ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็นต้น 
ที่ดินที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไรบ้าง
ที่ดินที่จะต้องนํามาคํานวณหามูลค่าเพื่อเสียภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน และ ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ในกรณีที่มีผู้เข้าไปครอบครอง หรือทําประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
Page 1 of 1