1. การรับเงินประกันซองประกวดราคา
หลักเกณฑ์
เมื่อมีการประกาศแจ้งความประกวดราคาซื้อหรือจ้าง ผู้เสนาราคาจะต้องนำหลักประกันซองเป็นจำนวนเงินอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง วางไว้กับหน่วยงานที่ดำเนินการประกวดราคาซื้อหรือจ้างอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) เงินสด
2) เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ (ไม่รับเช็คล่วงหน้า)
3) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศที่กรุงเทพมหานครเชื่อถือตามแบบของกรุงเทพมหานคร
4) พันธบัตรรัฐบาลไทย

2. การถอนเงินประกันซองประกวดราคา
หลักเกณฑ์
1) เมื่อทราบผลการประมู่ลในวันเปิดซองว่าประมูลไม่ได้ ก็ขอถอนได้จากคณะกรรมการเปิดซองได้ทันทีเว้นแต่คณะกรรมการเปิดซองเห็นว่าควรให้ยึดไว้เพื่อรอการอนุมัติก็ให้ถอนในภายหลัง
2) สำหรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาจะคืนให้หลังวันเซ็นสัญญา คือเมื่อผู้มีอำนาจซื้อหรือสั่งจ่ายได้มีคำสั่งเด็ดขาดให้สั่งซื้อ หรือจ้าง จากผู้เข้าประกวดราคารายใดแล้ว เรียกให้ผู้ประกวดราคารายนั้นมาเซ็นสัญญาสั่งซื้อหรือสั่งจ่ายแล้ว
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
2) กรณีผู้เป็นเจ้าของกิจการไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาทำการแทน โดยต้องนำบัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบและหนังสือมอบอำนาจ
3) เอกสารที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้เป็นหลักฐานในการรับเงินประกันซอง

3. การถอนเงินประกันสัญญา
หลักเกณฑ์
หลังจากวันที่ส่งของถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาหรือวันที่รับมอบงานแล้ว และพ้นภาระผูกพันตามสัญญา ผู้ยื่นหลักประกันสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1) หลังสือของบริษัท ห้าง ร้าน ถึงหน่วยงานที่ซื้อหรือจ้าง แจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
2) กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสด ต้องแนบใบเสร็จรับเงินที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้ในวันที่มาทำสัญญาด้วย

4. การรับเงิน
หลักเกณฑ์
งบ กทม. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างเหมาที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักการคลังกรุงเทพมหานคร ใด้โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังสำนักงานเขตแล้ว
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
2) กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนของผุ้รับมอบ และหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
3) ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้า หรือค่าจ้างเหมา
ค่าธรรมเนียม
1) ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผุ้ขายสินค้าให้กับสำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
ภาษีเงินได้
- นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
2) ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผู้รับจ้างทำงานให้สำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
2.1 ภาษีเงินได้
- นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
2.2 ติดอากร ใบสั่งจ่าย หรือสัญญาจ้างพันละ 1 บาท