บัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสัญชาติสามารถใช้เดินทางได้ทั่วประเทศหรือไม่ สามารถโอนเป็นสัญชาติไทยภายหลังได้หรือไม่ ช่วยแนะนำการใช้บัตรว่าจำกัดขอบเขตแค่ไหนและสามารถนำบัตรไปใช้อะไรได้บ้าง
บัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสัญชาติไทยใช้แสดงตัวเพื่อยืนยันตัวบุคคล สามารถใช้เดินทางออกนอกเขต/นอกอำเภอ/จังหวัดที่มีทะเบียนประวัติได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอผู้ราชการจังหวัด กรณีในกรุงเทพมหานครต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคงภายใน แล้วแต่กรณีและสามารถโอนเป็นสัญชาติไทยได้หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีเด็กเกิดที่ต่างจังหวัด ต้องการแจ้งเกิดที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลเนื่องจากเด็กเกิดที่บ้านพักต้องตรวจ DNA ประกอบการแจ้งเกิดหรือไม่
การแจ้งเกิดกรณีดังกล่าวต้องมีหนังสือรับรองการเกิดของคนที่จะแจ้งการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่คนนั้นเกิดและพยานบุคคลยืนยันความเป็นบิดาหรือมารดาของบุคคลดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีไม่มีหนังสือรับรองการเถิด ผู้แจ้งการเกิดอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจดีเอ็นเอพันธุ์กรรม (DNA) ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเป็นบิดาหรือมารดาและบุตรแทนได้ 
กรณีเด็กคลอดแล้วถูกทอดทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลไม่ปรากฏบิดา มารดาแล้วยังไม่ได้แจ้งเกิดจะดำเนินการอย่างไร
การเกิดกรณีเด็กถูกทอดทิ้ง กฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำตัวเด็กไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปฏิบัติงานในท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว เมื่อเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้แล้วจะเป็นผู้แจ้งการเกิดให้เด็กต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
จดทะเบียนสมรสกับสามีตามกฎหมายแล้วปัจจุบันใช้นามสกุลของสามีแต่ต้องการขอกลับไปใช้นามสกุล ตามมารดามีขั้นตอนการไปดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร จะต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง
หญิงจดทะเบียนสมรสใช้ชื่อสกุลของสามีต่อมาภายหลังมีความประสงค์จะกลับไปใช้ชื่อสกุลของตนเอง (ชื่อสกุลมารดา) เพราะเหตุการณ์สมรสให้ยื่นคำขอ (แบบ ข1) ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบัน จัดเตรียมเอกสารดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับเจ้าบ้าน)
3. ใบสำคัญการสมรส (คร.3)
4. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (แบบ ช5) เมื่อนายทะเบียนอนุญาตจะออกหลักฐานหนังสือสำคัญแสดงการ จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ สกุล (แบบ ช5) ให้ไว้เป็นหลักฐาน พร้อม เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาทและเรียกแบบ ช5 ฉบับเดิมคืน 
ถ้าเปลี่ยนชื่อตัวใหม่ จะต้องแก้ไขชื่อเก่าของตัวเองในใบเกิดลูกและใบทะเบียนสมรสให้เป็นชื่อใหม่ด้วยหรือไม่
การเปลี่ยนชื่อตัวเมื่อนายทะเบียนท้องที่อนุญาต จะออกหนังสือ สำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว (แบบ ช3) ให้ไว้เป็นหลักฐานประกอบ การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน (ทร 14) และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) พร้อมเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท 
เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผ่อนบ้านกับ ธอส.(สามีผ่อนแต่มีชื่อเก่าของเราเซ็นเป็นพยาน) หรือเอกสารผู้รับประโยชน์ประกันชีวิต ต้องเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ด้วยไหม
รายการชื่อตัวในสูติบัตรบุตร ใบสำคัญการสมรส (คร.3)และหลักฐานอื่นๆ ไม่ต้องแก้ไขรายการชื่อตัว เพราะสามารถใช้หลักฐานแบบ ช3 เป็นหลักฐานประกอบแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวจากชื่อเดิมเป็นชื่อใหม่ได้
เราสามารถเปลี่ยนชื่อได้กี่ครั้ง
พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการทะเบียนชื่อบุคคล พ.ศ.2551 ไม่ได้กำหนดจำนวนครั้งในการเปลี่ยนชื่อตัวแต่ต้องไม่มีเจตนาทุจริต(หรือทุจริตแอบแฝงในการเปลี่ยนชื่อตัว) 
ในกรณีที่ผู้อาศัยได้เป็นเจ้าบ้านนั้น แต่เนื่องจากเจ้าของบ้านตัวจริง จะย้ายเข้ามาในทะเบียนนั้น และจะมาเป็นเจ้าบ้านเองจึงอยากทราบว่าควรดำเนินการอย่างไร
1.ให้เจ้าบ้านและผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ เจ้าของบ้านเป็นเจ้าบ้านจะสะดวกที่สุด หรือ
2.นำหลักฐานกรรมสิทธิ์บ้านไปแสดงต่อนายทะเบียน และขอเป็นเจ้าบ้าน
3.อย่าลืมนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบนไปด้วย พร้อมบัตร ประจำตัวประชาชน
ในกรณีขอบ้านเลขที่ใหม่ต้องทำอย่างไรคะ
1.ให้เจ้าบ้านและผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ เจ้าของบ้านเป็นเจ้าบ้านจะสะดวกที่สุด หรือ
2.นำหลักฐานกรรมสิทธิ์บ้านไปแสดงต่อนายทะเบียน และขอเป็นเจ้าบ้าน
3.อย่าลืมนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบนไปด้วย พร้อมบัตร ประจำตัวประชาชน
กรณีเกิดในต่างประเทศได้แจ้งเกิดที่สถานทูตแล้วและมารดาคนไทย บิดาต่างชาติแต่ตั้งชื่อเด็กเป็นชื่อและชื่อรองเรียกคำภาษาอังกฤษ กรณีนี้เพิ่มชื่อได้หรือไม่
สามารถขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านได้ โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน (ทร14) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อบัตรประจำตัว ประชาชนของผู้ร้อง(ถ้ามี) หลักฐานการเกิดของผู้ขอเพิ่มชื่อได้แก่สูติบัตรที่ออกโดยสถานทูตไทย/สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศที่บุคคลนั้นเกิดซึ่งได้แปล และรับรองความถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ หนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อและพยานบุคคลที่นำเชื่อถือซึ่งสามารถรับรอง และยืนยันตัวบุคคลได้
Page 1 of 1