กรรมการชุมชน
กรรมการชุมชน
“สมาชิกชุมชน” หมายความว่า ผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนนั้น
“คณะกรรมการชุมชน” หมายความว่า ตัวแทนของสมาชิกชุมชนซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกชุมชน
ในชุมชนหนึ่งให้มีกรรมการชุมชน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวนอย่างน้อยชุมชนละ 7 คน ถ้าชุมชนใดมีบ้านเกินหนึ่งร้อยหลัง ให้มีการเลือกกรรมการชุมชนนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนบ้านทุกห้าสิบหลัง เศษของห้าสิบถ้าเกินยี่สิบห้าให้นับเป็นห้าสิบหลัง แต่ทั้งนี้เมื่อรวมกรรมการชุมชนทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนสิบห้าคน กรรมการชุมชนประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ คือ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ และตำแหน่งอื่นตามที่คณะกรรมการชุมชนเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนมีหน้าที่ ดังนี้
1) พัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2) จัดประชุมในชุมชนหรือเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนาชุมชนตาม (1)
3) ดูแลรักษาทรัพย์สินของชุมชนและสาธารณสมบัติในชุมชน
4) ประสานงานและดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายองค์กร หน่วยงานราชการ องค์การ และหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน
5) เสริมสร้างความสามัคคีและการมีวินัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชน
6) ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอันดีงาม
7) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8) เผยแพร่ผลงาน ติดตามประเมินผลและรายงานต่อสมาชิกชุมชน เช่น การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทางเครื่องขยายเสียง
9) ประสานงานแจ้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขตมีอำนาจแต่งตั้งผู้มีความรู้ความเหมาะสมเป็นที่ปรึกษา หรือคณะทำงานในฝ่ายต่างๆ
ขอมีบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน ขั้นตอน ดังนี้
1.ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมรวบรวมส่งสำนักพัฒนาชุมชน
2.สำนักพัฒนาชุมชนนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ขอมีบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน มีขั้นตอน ดังนี้
1.ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมรวบรวมส่งสำนักพัฒนาชุมชน
2.สำนักพัฒนาชุมชนนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แบบฟอร์มสำหรับติดต่อ
1. ใบสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน
2. ใบขอมีบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน