การจัดตั้งชุมชน

          ตามระเบียนกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. 2555 ชุมชน หมายถึง ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร และชุมชนอาคารสูงที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
เอกสารหลักฐานที่ใช้
1. หนังสือจากชุมชนเพื่อขอจัดตั้งเป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพฯ
2. แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน
3. แผนที่กำหนดขอบเขตชุมชน
4. แบบ กช.1-19 
ขั้นตอน
          1. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งให้สำนักพัฒนาชุมชนพิจารณา
          2. สำนักพัฒนาชุมชนพิจารณาแล้วนำเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร การทำบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน 

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการจัดตั้งชุมชน

          - ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
          - สามารถพัฒนาองค์กรประชาชนและการพึ่งตนเอง
          - ได้รับการอบรมความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่ชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย การฝึกอาชีพ ศีลธรรม วัฒนธรรม ประเพณี
               1. ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการรวมกลุ่มองค์กร และการพัฒนาองค์กรในชุมชน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ โดยผ่านคณะกรรมการชุมชนและนักพัฒนาชุมชน
               2. การปรับปรุงชุมชนแออัดในพื้นที่รับผิดชอบของเขต ทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ โดยผ่านคณะกรรมการชุมชน
               3. ฝึกอาชีพและการจัดหาตลาดรองรับ
               4. ให้คำแนะนำด้านการสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้ด้อยโอกาส โดยผ่านคณะกรรมการชุมชนและนักพัฒนาชุมชน
               5. ให้ข้อแนะนำในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยผ่านคณะกรรมการชุมชนและนักพัฒนาชุมชน
               6. การขอจัดตั้งชุมชนใหม่ จะดำเนินการโดยการจัดตั้งตัวแทนเสนอข้อมูลและความต้องการของประชาชน ผ่านฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
               7. งานอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนโดยผ่านคณะกรรมการชุมชนหรือติดต่อฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมโดยตรง 
เอกสารเพิ่มเติม
1. ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕