ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม   


มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาชุมชน ทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งในชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน หมู่บ้านจัดสรร และชุมชนเมืองที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและทางราชการ การสนับสนุให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน และการปรับปรุงชุมชนบุกรุก ชุมชนก่อสร้าง ในด้านการศึกษา การสาธารณสุขและการรักษาความสะอาด การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการื้อย้ายชุมชนบุกรุก และจัดหาที่อยู่อาศัยอห่งใหม่ที่เหมาะสม ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาจิตใจ การจัดอบรมให้คำปรึกษาแนะนำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และความคิดริเริ่มในการพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพของประชาชน เช่น จัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น และประสานงานจัดหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตร สภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้การวมกลุ่ม การจัดสัมมนาศึกษาดูงาน การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (1 ล้านบาท) จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนด้วยการจัดตั้งลานกีฬา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

การจัดตั้งชุมชน
ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534 กำหนดว่าชุมชน หมายถึง ชุมชนแออัด ชุมชนชานเมืองที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น โอยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
กรรมการชุมชน

สมาชิกชุมชน หมายความว่าผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านในชุมชนนั้น ผู้อำนวยการเขตจะจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนขึ้นเป็นตัวแทนสมาชิกชุมชน จำนวนอย่างน้อยชุมชนละ 7 คน ถ้าชุมชนใดมีราษฎรเกิน 140 ครอบครัว ให้เลือกกรรมการชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรทุก 20 ครอบครัว แต่กรรมการชุมชนทั้งหมด ต้องไม่เกิน 25 คน ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ คือประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิต นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ และตำแหน่งอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรแต่งตั้ง

คณะกรรมการชุมชนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2) ประสานงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการ องค์การและหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน
3) พัฒนาชุมชนทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้เกิดประโยชน์สูงสุด
4) เสริมสร้างความสามัคคีและการทีวินัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชน
5) ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอันดีงาม
6) ดูแลทรัพย์สินของชุมชนและสาธารณสมบัติ
7) เผยแพร่ผลงาน ติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขต
8) แต่งตั้งผู้มีความสามารถเหมาะสมเป็นที่ปรึกษา หรือคณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ