การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เจ้าของให้เช่าที่ทำการค้า ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรมที่ให้ญาติหรือผู้อื่นอยู่อาศัย ที่ใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ในปีที่ล่วงแล้ว
4. ฐานภาษีและอัตราภาษี ฐานภาษีที่นำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี คือค่ารายปีของทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี ซึ่งคิดจากยอดรวมของค่ารายปีทั้งหมดโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใด ๆ ทั้งสิ้น
ค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ โดยจะต้องคำนึงถึงว่าทรัพย์สินนั้น ตามความเป็นจริงแล้วควรจะให้เช่าได้เท่าใดจริง ๆ ในปีหนึ่งเป็นเกณฑ์ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้ประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตกรุงเทพมหานคร
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
5. การชำระภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินได้รับแจ้งการประเมินแล้ว จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกตามกฎหมาย ดังนี้
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
3. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ให้เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมหลักฐาน ดังนี้
4. การชำระภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้วจะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือน โดยสามารถชำระได้ทุกสำนักงานเขต กองการเงินศาลาว่าการกรุงเทพมหานครด้วยเงินสด บัตรเดบิต บัตรเครดิต เช็ค หรือธนาณัติ หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย ATM รวมทั้งผ่านทาง Internet
แบบฟอร์มสำหรับติดต่อ
1. แบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2)
2. คำร้องขออนุญาตการต่างๆ
3. หนังสือมอบอำนาจ
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือเจ้าของทรัพย์สินตาม ข้อ1 แต่ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ นั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีทั้งสิ้น
3. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.ร.ด.2) เจ้าของทรัพย์สินที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ณ สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี4. ฐานภาษีและอัตราภาษี ฐานภาษีที่นำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี คือค่ารายปีของทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี ซึ่งคิดจากยอดรวมของค่ารายปีทั้งหมดโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใด ๆ ทั้งสิ้น
ค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ โดยจะต้องคำนึงถึงว่าทรัพย์สินนั้น ตามความเป็นจริงแล้วควรจะให้เช่าได้เท่าใดจริง ๆ ในปีหนึ่งเป็นเกณฑ์ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้ประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตกรุงเทพมหานคร
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน
3. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
4. สำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
5. สำเนาโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือน
6. สำเนาสัญญาการเช่า
7. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะหรือทะเบียนพาณิชย์
8. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน
9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
10. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคล
2. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน
3. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
4. สำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
5. สำเนาโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือน
6. สำเนาสัญญาการเช่า
7. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะหรือทะเบียนพาณิชย์
8. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน
9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
10. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคล
11. หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของโรงเรือนพิกัดภาษี เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า ใบอนุญาตใช้สถานที่ขายอาหาร
12. สำเนาทะเบียนบ้านของโรงเรือนพิกัดภาษีและของเจ้าของทรัพย์สิน
13. แผนที่ของที่ตั้งโรงเรือนรายพิกัดภาษี
14. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน
15. งบดุล (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
16. ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบ ภ.ร.ด.2 ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือจะมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย
14. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน
15. งบดุล (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
16. ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบ ภ.ร.ด.2 ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือจะมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย
5. การชำระภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินได้รับแจ้งการประเมินแล้ว จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกตามกฎหมาย ดังนี้
1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนด ให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง
โดยท่านสามารถชำระได้ทุกสำนักงานเขต กองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครด้วยเงินสด บัตรเดบิต บัตรเครดิต เช็ค หรือธนาณัติหรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย ATM รวมทั้งผ่านทาง Internet2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง
1. ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
3. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ให้เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมหลักฐาน ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะทะเบียนพาณิชย์
4. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท
5. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
กรณีป้ายรายเก่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายไปแสดงด้วย
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะทะเบียนพาณิชย์
4. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท
5. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
4. การชำระภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้วจะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือน โดยสามารถชำระได้ทุกสำนักงานเขต กองการเงินศาลาว่าการกรุงเทพมหานครด้วยเงินสด บัตรเดบิต บัตรเครดิต เช็ค หรือธนาณัติ หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย ATM รวมทั้งผ่านทาง Internet
แบบฟอร์มสำหรับติดต่อ
1. แบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2)
2. คำร้องขออนุญาตการต่างๆ
3. หนังสือมอบอำนาจ