ประวัติ
 
          พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นหนึ่งใน แหล่งท่องเที่ยว มุมมองใหม่ใน บางกอกได้จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ และความตั้งใจของอาจารย์วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งอยากจะจัดบ้าน และทรัพย์สิน มรดกที่ได้จากมารดา คือ นางสอาง สุรวดี (ตันบุญเล็ก) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อ ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา เมื่ออาจารย์วราพรจัดสิ่ง ของได้ทำเรืองยกบ้านหลังนี้ให้เป็น สมบัติของ กรุงเทพ มหานคร หลังจากนั้นกรุงเทพมหานครก็ได้จัดทำบ้านดังกล่าว ให้เป็น โครงการ นำร่องสนอง นโยบายการมี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ของแต่ละเขตโดยรูปแบบการจัดแสดง เป็นอาคารและวัตถุซึ่ง บอกเล่า เรื่องราวเกี่ยวกับ สภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งข้าวของ เครื่องใช้ที่นำมาแสดงส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่เจ้าของบ้านได้ใช้งานจริง

อาคารหลังที่ 1
          เป็นอาคารที่ครอบครัวอาจารย์วราพรเคยใช้อาศัยอยู่เมื่อในอดีต ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาก จากตะวันตกซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น เป็นอาคารไม้สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าวสีแดง ผนังอาคาร สร้างด้วยไม้ทาสีเลียนแบบผนังก่ออิฐถือปูนฝีมือช่างชาวจีนเป็นผู้ก่อสร้าง ที่เรียกกันว่าทรงปั้นหยายุคปลาย โดยลดลายฉลุที่ชายคาออก ภายในอาคารหลังนี้ จะประกอบไปด้วยห้องต่างๆ ดังนี้
          1.ห้องรับแขก
          ห้องรับแขกห้องนี้มีเปียโนคู่ใจจากคุณแม่ของอาจารย์ นอกจากนี้ยังมีชุดรับแขก ตู้ใส่เครื่องแก้วเจียระไน แบบต่างๆ เช่นแก้วไวน์ แก้วมาตินี่ ขวดใส่ไวน์ จัดแสดงไว้ในตู้อย่างสวยงาม
          2.ห้องอาหาร
          ภายในมีโต๊ะรับประทานอาหาร 6-8 ที่นั่ง บนโต๊ะจัดแสดงชุด Dinner set แบบฝรั่ง และภาชนะลายครามแบบบจีน เครื่องเคลือบสีเขียวไข่กา รูปแบบต่างๆ
          3.ห้องหนังสือ
          ห้องหนังสือส่วนหนึ่งจะเป็นหนังสือของคุณหมอฟรานซิส ชาวอินเดีย สามีคุณสอาง สุรวดี ท่านจบการศึกษาทางด้านศัลยแพทย์ จากอังกฤษ เป็นตำราทางการแพทย์เกี่ยวกับ การรักษาโรคต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ และหนังสือเรียนภาษาอังกฤษของคุณแม่และลูก ติดกับห้องนี้ คือ ห้องน้ำ และโถส้วมแบบโบราณ
         4.โถงชั้นล่าง
          มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนาดใหญ่ของคุณหมอฟรานซิส ด้านตรงข้ามเป็นตู้มุกต์ จากเมืองจีน
          5.ห้องนอนคุณยายอิน
          ตั้งอยู่ชั้นสองของอาคาร ประกอบไปด้วยเตียงไม้โบราณแบบฝรั่งมีเสามุ้ง โต๊ะเครื่องแป้งพร้อมตลับเครื่อง แก้วสำหรับใส่เครื่องสำอาง และขวดน้ำหอมแบบต่างๆ ซึ่งมีอายุอยู่ในรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปบูชา สมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์
          6.ห้องแต่งตัวแบบยุโรป
          เป็นห้องแต่งตัวที่จัดแต่งแบบยุโรป มีโต๊ะเครื่องแป้ง อ่างล่างหน้าเครื่องใช้ของผู้ชายที่ใช้ในการโกนหนวด โต๊ะเครื่องแป้งมีกระจกประดับทั้งสามด้าน เป็นแบบศิลปะเดโด และหุ่นพลาสเตอร์รูปคุณหมอฟรานซิสซึ่ง อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผูปั้น
          7.ห้องนอนใหญ่
          ห้องนอนนี้เป็นห้องนอนของพี่สาวอาจารย์วราพร มีตู้เสื้อผ้าบานใหญ่เข้าชุดกับโต๊ะแต่งตัวและเตียงนานใหญ่
 

อาคารหลังที่ 2
          บ้านหลังนี้เดิมปลูกที่ทุ่งมหาเมฆ ซอยงามดูพลี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างจำลองขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับหลังเดิม จุดประสงค์ที่สร้างบ้านหลังนี้ในตอนแรก คือ เพื่อใช้ชั้นล่างเป็นคลีนิคคุณหมอฟรานซิส คริสเตียน บ้านหลังนี้ สร้างยังไม่ทันเสร็จคุณหมอก็ป่วยเสียชีวิต ต่อมาอาจารย์ จึงได้ รื้อบ้านที่ทุ่งมหาเมฆ มาจัดสร้างไว้ที่นี่ โดยจัด สร้างโดยย่อส่วนลงตามพื้นที่ ที่มีจำกัด ตกแต่งบ้านด้วยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของคุณหมอ ชั้นบนจะเป็น ห้องนอน

อาคารหลังที่ 3
          ชั้นล่างเป็นการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน มีทั้งเครื่องครัว เครื่องเขียน เครื่องมือช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ใน งานหัตถกรรม ฯลฯ ชั้นบน แสดงภาพรวมของ กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ได้แก่
     - ลักษณะทางกายภาพเขตบางรัก
     - สายสัมพันธ์ไทย-ตะวันตก
     - อิทธิพลชาติตะวันตกต่อประเทศไทย
     - ชุมชนนานาชาติ
     - บทบาทของชุมชนตะวันตกที่มีต่อการปฏิรูปประเทศ
     - สถานที่สำคัญของบางรัก
     - แรกมีในสยาม แรกมีในบางรัก
     - คนเด่นบางรัก
อาคารหลังที่ 4
          ตรงข้ามกับศาลาริมน้ำ ดัดแปลงเป็นสำนักงานห้องสมุด อาจารย์วราพร
 
แผนที่และการเดินทาง



การเดินทางด้วยรถเมล์
รถประจำทาง สาย 1, 16, 35, 75, 93
รถประจำทางปรับอากาศ ปอ. 16, 75, 93


ข้อมูลและรูปภาพ th.wikipedia.org,manager.co.th,paiduaykan.com
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 11 มีนาคม 2561