มัสยิดฮารูณ (Haroon Mosqu)
Haroon Mosqu
ประวัติ
ภายในอาคารบริเวณชั้น 2 ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่สวยงามด้วยสีเขียวและสีแดง ประกอบด้วยมิมบัร (ที่สำหรับแสดงธรรม) และเมียะห์รอบ (ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ส่วนด้านบนรอบโถงมีลายอักษรอาหรับ เป็นบทแรกในพระคัมร์อัลกุรอาน เหนือมิมบัรประดับด้วยโคมไฟที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมมัสยิดฮารูณ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จร่วมพิธีฝังศพจุฬาราขมตรี ต่วน สุวรรณศาสน์
บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีกุโบร (สุสาน) ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญ เช่น ท่่านจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ รวมทั้งนายทหารจากสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม มัสยิดฮารูณนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชนมุสลิฮารูณและชาวมุสลิมทั่วไปแล้ว ยังมีทั้งชาวต่างชาติรวมถึงประเทศในกลุ่มอาหรับก็ได้มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจอยู่เสมอรวมถึงยังได้ต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศอีกมากมาย
เวลาละหมาด
การเดินทางด้วยรถเมล์
รถประจำทาง สาย 1, 16, 36, 45, 75, 93
รถประจำทางปรับอากาศ ปอ. 16, 36,45, 75, 93, 187
การเดินทางด้วยเรือ ท่าเรือวัดม่วงแค
ข้อมูลและรูปภาพ masjidinfo.com,foodtravel.tv,m-culture.in.th
มัสยิดฮารูณ (Haroon Mosque) สร้างขึ้นโดย โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ชาวเมืองปนเจอะนะ ประทศอินโดนีเซีย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ณ บริเวณ หมู่บ้านต้นสำโรง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในอำเภอบางรักตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 3 ประมาณปีพ.ศ. 2371 ได้สร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิมในหมู่บ้าน เป็นเรือนไม้สักยกพื้นชั้นเดียว ท่านเป็นอิหม้ามคนแรกของมัสยิด เมื่อท่านถึงแก่กรรม หะยีมูฮำหมัด ยูซุป (ต่วนโส) ผู้เป็นบุตรชายของท่านได้ทำหน้าที่อิหม่ามแทน ในเวลาต่อมา มัสยิดเรือนไม้ชำรุดทรุดโทรมลง จึงได้รื้อมัสยิดหลังเดิมออก และก่อสร้างใหม่เป็นแบบก่ออิฐถือปูนดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นไม้ของเดิมก็นำมาประกอบ เช่น ใช้ทำเป็นไม้พื้นและเป็นเสากลม โดยใช้เงินส่วนตัวของท่านเอง อักษรภาษาอาหรับต่างๆ ซึ่งปรากฏอยู่ที่ฝาผนังด้านบนภายในมัสยิด เป็นฝีมือแกะสลักและฉลุของ หะยีสะอิ๊ด ซึ่งเป็นชาวเมืองปนเจอะนะ ประเทศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับโต๊ะฮารูณ บาฟาเดน
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2490 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ให้บรรดามัสยิดต่างๆ จดทะเบียนตามกฎหมาย จึงน้ำมัสยิดไปจดทะเบียนในนาม มัสยิดม่วงแค และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น มัสยิดฮารูณ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ผู้ก่อตั้งมัสยิดแห่งนี้
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2490 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ให้บรรดามัสยิดต่างๆ จดทะเบียนตามกฎหมาย จึงน้ำมัสยิดไปจดทะเบียนในนาม มัสยิดม่วงแค และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น มัสยิดฮารูณ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ผู้ก่อตั้งมัสยิดแห่งนี้
ภายในอาคารบริเวณชั้น 2 ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่สวยงามด้วยสีเขียวและสีแดง ประกอบด้วยมิมบัร (ที่สำหรับแสดงธรรม) และเมียะห์รอบ (ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ส่วนด้านบนรอบโถงมีลายอักษรอาหรับ เป็นบทแรกในพระคัมร์อัลกุรอาน เหนือมิมบัรประดับด้วยโคมไฟที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมมัสยิดฮารูณ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จร่วมพิธีฝังศพจุฬาราขมตรี ต่วน สุวรรณศาสน์
บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีกุโบร (สุสาน) ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญ เช่น ท่่านจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ รวมทั้งนายทหารจากสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม มัสยิดฮารูณนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชนมุสลิฮารูณและชาวมุสลิมทั่วไปแล้ว ยังมีทั้งชาวต่างชาติรวมถึงประเทศในกลุ่มอาหรับก็ได้มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจอยู่เสมอรวมถึงยังได้ต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศอีกมากมาย
เวลาละหมาด
แผนที่และการเดินทาง
การเดินทางด้วยรถเมล์
รถประจำทาง สาย 1, 16, 36, 45, 75, 93
รถประจำทางปรับอากาศ ปอ. 16, 36,45, 75, 93, 187
การเดินทางด้วยเรือ ท่าเรือวัดม่วงแค
ข้อมูลและรูปภาพ masjidinfo.com,foodtravel.tv,m-culture.in.th