การให้บริการตามอำนาจหน้าที่
          ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุ ที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่างๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเลคทรอนิกส์)การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน 9 ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี ระบบบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน ระบบงานบริหารคลังพัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น) การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณ การเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
 
การรับชำระค่าภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ
ค่าภาษี
1. ภาษีโรงเรียนและที่ดิน
• รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
2. ภาษีป้าย
• รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
3. ภาษีบำรุงท้องที่
เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
• ใบเสร็จรับเงินการชำระภาษีครั้งสุดท้ายของทุกรอบระยะเวลาภายใน 4ปี ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน หากยังไม่เคยได้รับการประเมินให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้
• ใบแจ้งเตือนการชำระเงินที่ส่งไปตามที่อยู่ของผู้เสียภาษี
• หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน

วิธีการชำระเงิน
1. ยื่นชำระเงินที่ศูนย์ Bangkok Service Center (BSC) ของสำนักงานเขต สามารถชำระได้โดย
• เงินสด
• เช็คโดย
>> จ่าย “กรุงเทพมหานคร” หรือ Bangkok Metropolitan Administration
>> ขีดคร่อมเช็ค และขีด “หรือผู้ถือ/ตามคำสั่ง”
>> เป็นเช็คหักบัญชีสำนักเดียวกันกับกรุงเทพมหานคร
>> ไม่สามารถรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าได้ และเป็นเช็คลงวันที่ที่เจ้าหน้าที่รับชำระเช็คนั้นหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 30 วัน
>> จำนวนเงินเช็คต้องไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระ จำนวนเงินตัวเลขและตัวอักษรถูกต้องตรงกัน
>> กรณีผ่อนชำระให้นำใบผ่อนชำระเงิน หรือใบเสร็จรับเงินที่ชำระงวดก่อนมาแสดง
• การชำระภาษีด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตประเภท Visa และ Master ของสถาบันการเงินทุกแห่งคิดค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 1 ของยอดชำระเงิน/รายการ
• การชำระเงินผ่านบัตร ATM หรือ Visa Debit ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คิดค่าธรรมเนียม 10 บาท/รายการ
• ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ต
ค่าธรรมเนียมต่างๆ
สามารถติดต่อขอรับบริการและชำระเงินได้ที่เคาน์เตอร์บริการของฝ่ายต่างๆ ณ สำนักงานเขต
การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ทั่วไป
ติดต่อขอรับเงินกับฝ่ายการคลังของสำนักงานเขต ได้ 2 กรณี
1. กรณีผู้มีอำนาจรับเงินมารับด้วยตนเอง ใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
• ใบเสร็จรับเงิน,ใบกำกับภาษี (ถ้ามี)
• ตรายางประทับของบริษัท ห้างร้าน (ถ้ามี)
• บัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
• ใบเสร็จรับเงิน
• ตรายางประทับของบริษัท ห้างร้าน (ถ้ามี)
• หนังสือมอบอำนาจรับเงิน
• สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัท ห้างร้าน (ให้ผู้มีอำนาจเซ็นชื่อรับรองสำเนาด้วย)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ไม่หมดอายุก่อนวันมารับเงิน)

การติดต่อยื่นวางเงินค่าประกันซองราคา การถอนเงินประกันซองประกวดราคา การรับหลักประกันสัญญา การถอนเงินซองประกันสัญญา การรับเงิน
1. ขั้นตอนในการติดต่อยื่นวางเงินค่าประกันซองประกวดราคา
1. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำหลักประกันซองอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวข้างต้นมายื่นต่อคณะกรรมการผู้มีหน้าที่รับซองเสนอราคาตามวันและเวลากำหนด
2. เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินประกันซองประกวดราคาให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยืนซองประกวดราคา
3. เมื่อสิ้นสุดเวลาตามที่ประกาศแจ้งความประกวดราคา เจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐานและรายงานถึงจำนวนที่มีผู้มายื่นซองประกวดราคาให้หน่วยงานที่ดำเนินการประกวดราคาซื้อหรือจ้างทราบ

2. การถอนเงินประกันซองประกวดราคา
• ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์
1. เมื่อทราบผลการประมูลในวันเปิดซองว่าประมูลไม่ได้ก็ขอถอนได้ โดยทำเรื่องแจ้งมาที่เขตเพื่อยื่นความจำนงขอถอนเงินได้ กรณีผลการประกวดราคาแล้วและมิได้เป็นรายที่ต้องยึดไว้พิจารณา 3 ราย
2. สำหรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณา จะคืนให้หลังวันเซ็นสัญญา คือเมื่อผู้มีอำนาจซื้อหรือสั่งจ้างได้มีคำสั่งเด็ดขาดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เข้าประกวดราคารายใดแล้วเรียกให้ผู้เข้าประกวดราคารายนั้นมาเซ็นสัญญาสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. ผู้เป็นเจ้าของกิจการมารับด้วยตนเองพร้อมบัตรประชาชนตัวจริงมาแสดง
2. กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง ให้มอบหมายบุคคลอื่นมาแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่ามอบให้ใครมารับเงิน เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าไรและต้องมีพยาน 2 คนเซ็นเป็นพยานด้วย พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3. เอกสารหรือใบเสร็จรับเงิน ที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้เป็นหลักฐานในการรับเงินประกันซอง
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ยื่นหลักประกันซองไว้ เช่น ยื่นไว้ที่ฝ่ายโยธา ก็ให้ติดต่อขอถอนเงินประกันซองจากฝ่ายโยธาเป็นต้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนเงินประกันซองประกวดราคา
1. เมื่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาแล้ว ผู้ที่ได้รับการพิจารณาซื้อหรือจ้างสามารถถอนเงินประกันซองจากคณะกรรมการเปิดซองได้ โดยยื่นหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าว
2. กรณีที่คณะกรรมการเปิดซองเห็นว่าควรให้ยึดไว้เพื่อรอการอนุมัติให้ผู้ขายกำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้อนุมัติการคืนเงินประกันซองแล้ว หน่วยงานก็จะแจ้งให้มารับคืนเงินประกันซองได้ต่อไป
3. สำหรับรายที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ซื้อหรือจ้างให้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซองพร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อได้ทำสัญญาเรียบร้อยแล้วจะคืนเงินประกันซองให้ต่อไป

3. การรับหลักประกันสัญญา
• ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์
ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ซื้อหรือจ้างเมื่อได้รับแจ้งให้มาทำสัญญา ต้องยื่นหลักประกันสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1. เงินสด
2. เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3วันทำการ
3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบที่กำหนด
4. พันธบัตรรัฐบาลไทยเป็นจำนวนเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ10 ของราคาพัสดุที่ตกลงชื้อหรือจ้างกับหน่วยงานที่ดำเนินการซื้อหรือจ้าง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องมาลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง หากไม่สามารถมาได้ต้องมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องทำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
2. บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ และบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ (กรณีเจ้าของกิจการมิได้มาด้วยตนเอง)
3. บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ (กรณีมาด้วยตนเอง)
4. ตรายางบริษัท ห้าง ร้าน
5. เงินประกันสัญญาตามที่จำนวนที่กำหนด
สถานที่ติดต่อ
ตามหนังสือของหน่วยงานที่แจ้งไป เช่น ฝ่ายโยธา ได้มีหนังสือแจ้งให้นำหลักฐานมาทำสัญญาก็ให้นำหลักประกันสัญญามาติดต่อทำสัญญากับฝ่ายโยธาของสำนักงานเขตนั้น
ขั้นตอนในการติดต่อยื่นหลักประกันสัญญา
1. ผู้ได้รับการพิจารณาซื้อหรือจ้างให้มายังสถานที่ทำสัญญาตามที่กำหนดพร้อมหลักฐาน
2. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบรายละเอียดว่ามีหลักฐานครบถ้วนหรือไม่
3. กรณีที่นำเงินสดหรือเช็คมาค้ำประกันสัญญา เจ้าหน้าที่การเงินจะออกใบเสร็จรับเงิน ให้ไว้เป็นหลักฐาน

4. การถอนเงินประกันสัญญา
• ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์
หลังจากวันที่ส่งของหรือส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จะพ้นภาระผูกพันตามสัญญา ผู้ยื่นหลักประกันสัญญาสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. หนังสือของบริษัท ห้าง ร้าน ถึงหน่วยงานที่ซื้อ หรือจ้างแจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
2. กรณีที่หลักประกันสัญญาเป็นเงินสด ต้องแนบใบเสร็จรับเงินต้นฉบับที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้ในวันที่มาทำสัญญาด้วย
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ติดต่อทำสัญญาไว้
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนหลักประกันสัญญา
1. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำหลักฐานมาติดต่อกับหน่วยงานที่ทำสัญญา
2. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสด เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเห็นว่าถูกต้องแล้วจะดำเนินการตามขั้นตอนจนได้รับอนุมัติ จึงแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับแจ้งมารับคืนเงินต่อไป
3. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันสัญญา หน่วยงานคืนหลักประกันสัญญาให้กับผู้ซื้อ/ผู้ขาย/ผู้ได้รับมอบอำนาจ แล้วมอบให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างต่อไป
4. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันสัญญาที่ออกโดยสถาบันการเงินหากผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่มารับคืนภายหลังจากพ้นภาระผูกพันภายในกำหนดแล้ว หน่วยงานจะส่งหนังสือค้ำประกันคืนสถานบันการเงินผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้น และแจ้งต่อผู้ออกหนังสือค้ำประกันว่าผู้ขาย/ผู้รับจ้างรายนั้นพ้นภาระผูกพันในการค้ำประกันสัญญาในเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งแจ้งให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบ
5. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสดหรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย หากพ้นภาระผูกพันแล้ว และได้ติดตามให้ผู้ขาย/ผู้รับจ้างไปรับเงินภายในกำหนดแล้ว หากผู้ขาย/ผู้รับจ้างเพิกเฉยหรือไม่ติดต่อแจ้งปัญหาอุปสรรคในการขอรับเงินดังกล่าว หน่วยงานจะดำเนินการส่งเงินนั้นเข้าเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
5.การรับเงิน
หลักเกณฑ์
งบประมาณ กทม. งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือจากแหล่งเงินอื่นที่ได้รับโอนเข้าบัญชีของสำนักงานเขต .ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานครให้โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังสำนักงานเขต ส่วนงบประมาณจากแหล่งเงินอื่นๆที่ไม่ได้มีการโอนเข้าบัญชีของสำนักงานเขต. ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างติดต่อรับเงินที่กองระบบการคลัง สำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานคร
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1. บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการตัวจริง พร้อมถ่ายเอกสารรับรองสำเนา 1 ชุด
2. กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง ให้มอบหมายบุคคลอื่นมาแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่ามอบให้ใครมารับเงิน เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าไร และต้องมีพยาน 2 คนเซ็นเป็นพยานด้วย พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
3. ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้า หรือค่าจ้าง
ค่าธรรมเนียม
ผู้ขายสินค้าหรือรับจ้างทำงานให้กับสำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังนี้
- นิติบุคคลตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ร้านค้า,บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 10.000 บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
สถานที่ติดต่อ
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
ขั้นตอนในการติดต่อขอรับเงิน
1. ผู้มารับเงินนำหลักฐานมาติดต่อ
2. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ เห็นว่าถูกต้องครบถ้วนจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จแล้วมอบเช็คเงินสดค่าสินค้าหรือค่าจ้างที่หักภาษีแล้ว แก่ผู้มารับเงินต่อไป
บทกำหนดโทษ
1. ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าให้กับสำนักงานเขตส่งมอบสินค้าไม่ทันกำหนดตามใบสั่งซื้อหรือสัญญาซื้อจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ
2. ในกรณีที่ผู้รับจ้างทำงานให้สำนักงานเขตไม่แล้วเสร็จตามใบสั่งจ้าง หรือสัญญาจ้าง จะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราระหว่าง ร้อยละ0.01-0.10 ของราคาจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท นับถัดจากวันสิ้นสุดของสัญญาจนถึงวันส่งมอบ แต่ถ้าเป็น

รับชำระเงิน
1. ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย
ผู้ชำระเงินค่าภาษีต้องติดต่อที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ตรวจสอบคำนวณภาษี และเขียนใบนำชำระเงินค่าภาษี ผู้ชำระเงินค่าภาษีจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่ฝ่าย การคลัง สำนักงานเขต
2. ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้แก่
- ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
- ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
- ใบอนุญาตสถานที่แต่งผม
- ใบอนุญาตผู้รับจ้างแต่งผม
- ใบอนุญาตการทำน้ำแข็งเพื่อการค้า
- ใบอนุญาตตลาดเอกชน
ผู้ชำระเงินค่าธรรมเนียมต้องติดต่อที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดลอมและสุขาภิบาลตรวจสอบคำนวณค่าธรรมเนียมและเขียนใบนำชำระเงินค่าธรรมเนียม ผู้ชำระค่าธรรมเนียมจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต