ความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐ 

(Integrity and Transparency Assessment: ITA)

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามกรทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการ ป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า “การประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารการจัดการภาค รัฐ โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่มี โครงสร้างและภารกิจที่เหมาะสมและวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และ ผลประโยชน์ของส่วนรวม เปิดโอกาสให้ทุก ๆ ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ดำเนินการบริการสาธารณะ ตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐและ ภาคส่วนอื่น ๆ ตลอดจนดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสังคมได้ อย่างเหมาะสม โดยได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา และครอบคลุมการประเมินหน่วยงานภาครัฐกว่า 8,300 หน่วยงาน โดยเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 มติที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน และหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (สปท.) ครั้งที่ 7/2563 ให้สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ร่วมกับกรมการ ปกครอง ขยายการประเมินคุณธรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ลงสู่อำเภอ 878 แห่ง ทั่วประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้น ไป

สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ขยายผลการประเมิน ITA ลงสู่ส่วนราชการ ระดับต่ำกว่ากรมหรือเทียบเท่าในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้ ขยายลงสู่สถานีตำรวจนครบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สืบเนื่องจาก ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบนโยบายผ่านที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับ เคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมใน การป้องกันและปราบปรามการทุจริต เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยมอบหมายให้สำนักประเมินคุณธรรมและ ความโปร่งใส ศึกษาแนวทางและหารือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการ ขยายการประเมิน ITA ลงสู่สถานีตำรวจนครบาล เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม และเกิดการป้องกันการทุจริตในเชิงพื้นที่ (Area) เขตกรุงเทพมหานคร อย่างเป็น รูปธรรมที่ชัดเจน คู่ขนานไปกับการขยายการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ลงสู่ระดับสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครที่สำนักประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสได้ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ต่อ เนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ในการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะในมิติของหน่วยงานในกระบวนการ ยุติธรรมและในอนาคตจะมีการขยายออกไปสู่ "สถานีตำรวจทั่วประเทศ" ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติใด เห็นชอบพร้อมให้ความร่วมมือและรับดำเนินการ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ โดยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติแสดงเจตนารมณ์การขับเคลื่อนการ ประเมิน ITA ลงสู่ "สถานีตำรวจนครบาล" ทั้ง 88 แห่ง และมีการขยายผลการ ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ไปยังสถานีตำรวจทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

แนวทางการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับต่ำกว่ากรม (ได้แก่ สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร อำเภอ และสถานีตำรวจ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งเน้น การออกแบบและขับเคลื่อนการประเมินอย่างเป็นระบบ โดยการพัฒนาเครื่องมือ การประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบทของการทำคนที่มีความเหมาะสมกับการ ปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ระดับต่ำกว่ากรม ได้อย่างแท้จริงอัน จะส่งผลให้เกิดการรับรู้ถึงการดำเนินงานที่จะได้นำข้อมูลย้อนกลับ (feedback) มาพัฒนาการดาเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานในการประเมินและเกิดการ ขับเคลื่อนกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยผ่านกลไกการ ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับต่ากว่ากรม ให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งผลักดันดัชนี การรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำนักงาน ป.ป.ช. จึงดำเนินการพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับต่ำกว่ากรม (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ขึ้น โดยพัฒนาเครื่องมือการประเมินให้มี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบุรีบทภารกิจตามบทบาทของหน่วยงาน มีจุดมุ่ง หวังให้หน่วยงานภาครัฐ ระดับต่ำกว่ากรมนำเครื่องมือการประเมินที่ได้รับการ พัฒนาประสิทธิภาพนี้ ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ใน การปฏิบัติงานด้านการให้บริการที่สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนอง ต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานในฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ให้บริการกับประชาชน ในเขตพื้นที่อย่า เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน