เดิมคือพิพิธภัณฑ์แร่และหิน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2491 ที่กรมโลหะกิจ (ปัจจุบันคือกรมทรัพยากรธรณี) โดยแผนกพิพิธภัณฑ์กองธรณีวิทยา ต่อมาในปี 2591 ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์และวิจัย และเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี ในปีพ.ศ.2529 โดยมีฝ่ายพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กองธรณีวิทยาดูแลรับผิดชอบดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยได้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาทรัพยากรธรณีแร่-หิน และธรณีวิทยาของประเทศ ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติของประเทศด้วย ซึ่งการจัดแสดงจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ

                ธรณีวิทยา จัดแสดงเรื่องโลกของเรา ซากดึกดำบรรพ์ หิน-แร่ แผ่นดินไหว และน้ำบาดาล

               ทรัพยากรแร่ จัดแสดงอัญมณี แร่ในชีวิตประจำวัน การใช้ประโยชน์ของแร่ต่าง ๆ เช่นการทำแร่เชื้อเพลิง ฯลฯ

                นิทรรศการพิเศษ จัดแสดงหมุนเวียนทุก 3-6 เดือน โดยนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในปัจจุบัน

                พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี ตั้งอยู่ที่ 75/10 กรมทรัพยากรธรณี ถ.พระราม 6 กรุงเทพฯ 10300 ใกล้กับโรงพยาบาลสงฆ์ โดยจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าศึกษาและเยี่ยมชมเป้นหมู่คณะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ดดยทำหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ล่วงหน้า 1 สัปดาห์

                วันหยุดทำการ : เสาร์ อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์

                ค่าเช้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ต้องเข้าชมเป็นหมู่คณะ
 
                อาคารพิพิธภัณฑ์ในอดีต คือ สถานีตำรวจรถไฟ จากนั้นสหภาพแรงงานได้ใช้เป็นที่ทำการก่อนจะเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ด้านหน้าอาคารมี “อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน”     เป็นรูปปูนปั้นคนงานชายหญิงกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้าบนรถถัง

                ภายในอาคารมีห้องโถงใหญ่ใช้เป็นห้องอเนกประสงค์ จัดประชุมสัมมนา นิทรรศการและขายของที่ระลึก ในส่วนของการจัดแสดงแบ่งเป็น 6 ห้อง

                ห้องแรก : แรงงานบังคับไพร่ทาสคือฐานของสังคมโบราณเป็นเรื่องราวของแรงงานไทย
ยุคโบราณ มีข้าวของเครื่องใช้และคำบรรยายที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานสมัยโบราณ
                ห้องที่สอง : แรงงานในกระบวนการปฏิรูปประเทศ – เป็นการบอกเล่าเรื่องราวการมีส่วนร่วมของแรงงานไทยต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                ห้องที่สาม : ทุกข์ของกรรมการ ใครจะช่วย – แสดงเรื่องราวสะท้อนปัญหาของผู้ใช้แรงงานไทยในช่วยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เอกสารหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้แรงงานไทยพยายามที่จะรวมตัวจัดตั้งองค์กรในรูปของสมาคมจากหลักฐานใบปลิว และหนังสือพิมพ์กรรมกร
                ห้องที่สี่ : แรงงานพิทักษ์ประชาธิปไตย – เป็นเรื่งอรวมผู้ใช้แรงงานระหว่างหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์
                ห้องที่ห้า : จากยุคมืดถึงยุคทองแรงงานไทย – มีการแสดงภาพถ่ายและเรื่องราวของผู้นำแรงงานที่เผชิญชะตากรรมระหว่างการปกครองของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมุ่งเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ และมองว่าขบวนการสหภาพแรงงานเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการลงทุน
                ห้องที่หก : วันนี้ของแรงงานไทย – เป็นเรื่องราวของแรงงานไทยในยุคใกล้ เช่น การต่อสู้เพื่อเรียกร้องกฎหมายประกันสังคม เรียกร้องสิทธิลาคลอด 90 วันของแรงงานสตรี เรื่องราวของทะนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานผู้ลุกขึ้นคัดค้านเผด็จการจนหายสาบสูญอย่างลึกลับ เรื่องการมีส่วนร่วมของแรงงานไทยระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เมื่อครั้งเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ.2535 และอีกมุมก็จัดแสดงซากสิ่งของจากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาแคเดอร์ ที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

                ส่วนห้องขังที่ยังมีลูกกรงเหล็กได้ดัดแปลงเป็น “ห้องสมุดแรงงาน ศ.นิคม จันทรวิทูร” อดีตอธิบดีกรมแรงงาน
นักวิชาการแรงงานอาวุโส ผู้ทุ่มเทให้กับการแก้ปัญหาแรงงานอย่างจริงจัง

                สถานที่ตั้ง : ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
                โทร. 0-2251-3173
                เปิดทำการ : วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น.
                ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม