อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2483 ประเทศไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสเรื่องการขอปรับปรุงเขตแดนอินโดจีน (ฝั่งลาวและกัมพูชา) แต่ได้รับคำปฏิเสธในคำขอดังกล่าว ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทและการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ เป็นสงครามอินโดจีน ทำให้วีระชนไทยอันมีทหารบก ทหารเรือทหารอากาศ ตำรวจและพลเรือนเสียชีวิตจำนวน 59 คน และกรณีพิพาทดังกล่าวให้ยุติลงด้วยการเจรจาประนีประนอมของทั้งสองฝ่าย
               จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น รัฐบาลไทยได้จัดสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ณ บริเวณจุดบรรจบของถนนดินแดง ถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ซึ่งจะเรียกได้ว่าเป็นใจกลางกรุงเทพ ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเชิดซูเกียรติแก่เหล่าวีระชนผู้กล้าหาญที่พลีชีพเพื่อประเทศชาติ พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 ผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล 
รูปแบบของอนุสาวรีย์ ประกอบด้วย ลานอนุสาวรีย์เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีบันไดขึ้นสู่อนุสาวรีย์ทั้งสี่ด้าน ตัวอนุสาวรีย์ทำเป็นรูปดาบปลายปืน 5 แฉก ส่วนสูงจากพื้นดินถึงยอดดาบ 50 เมตร ดาบปลายปืนหล่อตัน ใช้หินล้างสีอ่อนเป็นผิว ประดับรูปหล่อทองแดงขนาด 2 เท่าคนจริง ภายใต้การควบคุมการปั้นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นรูปทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน ฐานที่รองรับรูปทองแดง ประดับด้วยหินแกรนิตชนิดที่มีในประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยกรมศิลปากร กองการโยธา เทศบาลกรุงเทพ สำนักพลตรีหม่อมราชวงศ์ชิด กำภู และบริษัทวิศวกรรมไทย
ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรี)  ที่คอฐานอนุสาวรีย์ประดับแผ่นหินอ่อนจารึกนามผู้เสียชีวิต เนื่องในการรบครั้งนี้และการสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483ถึง พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801 คน 
                อนึ่ง ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นวันทหารผ่านศึก องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้จัดให้มีพิธีวางพวงมาลา เพื่อสักการะและรำลึกถึงดวงวิญญาณวีรชนผู้กล้าหาญที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเป็นชาติพลีในทุกสมรภูมิ ณ อนุสรณ์สถานแห่งนี้เป็นประจำทุกปี 
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อนที่จะมีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นบริเวณนี้ คือ จุดตัดของ  ถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า"
                อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ หรือที่เรียกว่า "สงครามอินโดจีน" ในสงครามครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิต 59 คน
หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล สถาปนิกผู้ออกแบบ ได้ออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จากแรงบันดาลใจ 5 ประการ คือ ปฏิบัติการของกองทัพทั้งสาม ปฏิบัติการ อย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะอาวุธที่ทหารใช้สู้รบ เหตุการณ์สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ และความสนใจของประชาชน
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีรูปทรงมาจากดาบปลายปืนอันเป็นอาวุธประจำกายทหารจำนวน5 เล่ม รวมกันจัดตั้งเป็นแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน คมดาบหันออก มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายฝืนมีประติมากรรมทองแดงนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือนยืนล้อมรอบอยู่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการปั้นและหล่อประติมากรรมทองแดง 
บริเวณใต้รูปหล่อมีแผ่นทองแดงจารึกรายชื่อของผู้เสียชีวิตและผู้สละชีพ เพื่อชาติจากสงครามกรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีตั้งแต่ พ.ศ. 2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 ราย
                อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 0 ถนนพหลโยธิน