1. กลุ่มงานทะเบียนราษฎร
- การขอเลขที่บ้าน ให้เจ้าของบ้านผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกบ้านยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ขอภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
     - ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง
     - หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีไม่มีหลักฐานตามอข้อ 2)
     - หนังสือมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
- การแจ้งรื้อบ้านหรือบ้านถูกทำลาย ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อบ้านเสร็จ หรือวันที่บ้านถูกทำลาย หากไม่แจ้งภายในกำหนดโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
     - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - หนังสือมอบหมาย และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย (กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
- การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน หรือเจ้าของกรรมสิทธิ
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - หลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง
- การขอจัดทำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกรณี ชำรุด / สูญหาย / ถูกทำลาย
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- การแจ้งการเกิด
1. เด็กเกิดในบ้านเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดาของเด็กเป็นผู้แจ้ง
2. เด็กเกิดนอกบ้าน บิดาหรือมารดาของเด็ก หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้ง
3. เด็กเกิดในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ทำคลอดจะออกหนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1) ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล ซึ่งทำหน้าที่เจ้าบ้านจะเป็นผู้แจ้งการเกิด สถานพยาบาลจะนัดมารดาหรือบิดาไปรับสูติบัตรและใบแจ้งย้ายที่อยู่เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อ ต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แจ้งการเกิดภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารประกอบ
กรณีเกิดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
     - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ( เจ้าบ้านหรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หรือบิดา หรือมารดา )
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - หนังสือรับรองการเกิด ( แบบพิมพ์ ท.ร.1/1 )
     - กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ให้แนบสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อเด็กเข้า
- การแจ้งการตาย
1. คนตายในบ้านเจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ณ สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่แจ้งตายภายในเวลาที่กำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2. คนตายนอกบ้าน บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ณ ทะเบียนท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ หากไม่แจ้งภายในเวลาที่กำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
3. กรณีมีคนตายในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลจะออกหนังสือรับรองการตาย (ท.ร. 4/1) ให้ญาติผู้ตายนำไปแจ้งต่อนายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งการตายก็ได้
เอกสารประกอบ
กรณีตายปกติทั่วไป
     - บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
     - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
     - หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
     - กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เพิ่มหลักฐานใบรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสถาบันนิติเวช
- การแจ้งย้ายออก
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
- การแจ้งย้ายเข้า
เอกสารประกอบ (กรณีปกติทั่วไป)
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
     - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 , 2 ที่มีรายการครบถ้วนและลงลายมือชื่อของเจ้าบ้านและผู้แจ้ง
- การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก กรณีมอบหมาย  บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า หากบ้านหลังดังกล่าวยังไม่มีทะเบียนบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองมาแสดง  กรณีมอบหมาย  บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง (เฉพาะกรณีมีหลักฐาน)
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้แจ้งเป็นบุคคลเดียวกันกับรายการบุคคลที่จะแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
     - กรณีรายการบุคคลที่จะย้ายออกเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้งย้ายโดยเรียกบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
     - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
     - กรณีรายการบุคคลที่จะย้ายเข้าเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้งย้ายโดยเรียกบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
     - หากบ้านหลังดังกล่าวยังไม่มีทะเบียนบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิ ครอบครองมาแสดง
- การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีตาย (มีหลักฐาน)
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีรายการของผู้ตาย  กรณีมอบหมาย ให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบและหนังสือมอบหมาย
     - มรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายของผู้ตาย กรณีหลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศอื่นให้แปลและรับรองความถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎรโดยมีหลักฐานเอกสารราชการมาแสดง
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง  กรณีมอบหมาย ให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบและหนังสือมอบหมาย
     - เอกสารการทะเบียนราษฎรที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
     - เอกสารราชการที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอแก้ไขรายการ
- การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
เอกสารประกอบ
     - กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
     - กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น บัตรประจำตัวผู้ยื่นคำร้อง เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
     - หากมีการมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบ หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติม.


2. กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
- การขอมีบัตรครั้งแรกอายุ 7 ปีบริบูรณ์
เอกสารประกอบ
     - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
     - ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
     - กรณีผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานสูติบัตร ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง
     - กรณีที่ต้องใช้ผู้รับรองให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย
- การขอมีบัตรครั้งแรก เกินกำหนด
เอกสารประกอบ
     - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
     - ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
     - บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
     - ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย

- การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุ
เอกสารประกอบ
     - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
- การขอมีบัตรกรณีบัตรหาย
เอกสารประกอบ
     - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายติดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง, วุฒิการศึกษา
     - หากไม่มีหลักฐานเอกสารข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดง ให้นำผู้รับรองมาให้ถ้อยคำเพื่อยืนยันตัวบุคคล เช่น บิดา มารดา หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี  โดยผู้รับรองต้องนำบัตรประจำตัวมาแสดง
ข้อควรรู้  กรณีบัตรหายไม่ต้องแจ้งความ ณ สถานีตำรวจ
- การขอมีบัตรกรณีขอเปลี่ยนบัตร
เอกสารประกอบ
     - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
     - หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ( กรณีเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ) หรือหลักฐานทะเบียนบ้านที่มีการเปลี่ยนที่อยู่ ( กรณีเปลี่ยนบัตรเนื่องจากย้ายที่อยู่ )

- การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
เอกสารประกอบ
     - กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาขนของผู้แจ้ง
     - กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย ( คำร้องขอตรวจ รายการเกี่ยวกับบัตร)


3. กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป
- การจดทะเบียนสมรส
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย
     - คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ ( ชายหรือหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ) ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฏหมาย
     - ใบหย่า หรือใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิม กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเคยสมรส หรือเคยหย่า
     - ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี )
     - การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต้องมีหนังสือรับรองจากสถานทูตหรือกงสุลของผู้ร้องในประเทศไทยหรือจากองค์การที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย และแปลข้อความเป็นภาษาไทยโดยกระทรวงต่างประเทศเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
     - พยานบุคคล 2 คน
     - คำร้องตามแบบ คร.1
- การจดทะเบียนหย่า
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย
     - ใบสำคัญการสมรส
     - ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี )
     - ฝ่ายหญิงต้องทำการแก้ไขคำนำหน้านามจาก นางสาว เป็น นาง ในทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้ว
     - พยานบุคคล 2 คน
     - คำร้องตามแบบ คร.1

- การจดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา บุตร (กรณีอายุเกิน 7 ปี) และทะเบียนบ้าน
     - สูติบัตรของบุตร พร้อมทะเบียนบ้านของบุตร
     - มารดาและบุตรต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง
     - คำพิพากษาของศาล พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ( ตามแต่กรณี )
     - พยานบุคคล 2 คน
     - คำร้องตามแบบ คร.1

- การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
     - เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกซึ่งเป็นต้นฉบับพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองความถูกต้องโดยกระทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสาร
     - พยานบุคคล 2 คน
     - คำร้องตามแบบ คร.1
- การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน
     - บัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมใบสำคัญการสมรส
     - หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จากสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก
     - พยานบุคคล 2 คน ( ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี )
     - คำร้องตามแบบ คร.1
- การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน
     - หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
     - กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองไปให้ความยินยอมด้วย
     - พยานบุคคล 2 คน
     - คำร้องตามแบบ คร.1
- การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
     - ค่าธรรมเนียม 50 บาท
 - การขอตั้งชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
     - กรณีหญิงหม้าย ให้แนบใบสำคัญการหย่า
     - ค่าธรรมเนียม 100 บาท
- การขอร่วมชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
     กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่ต่างเขตกับเจ้าของชื่อสกุล
          - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
          - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
          - หนังสืออนุญาตให้ร่วมชื่อสกุล
     กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่เขตเดียวกันกับเจ้าของชื่อสกุล
          - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอร่วมชื่อสกุล และเจ้าของชื่อสกุล พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
          - ใบสำคัญตั้งชื่อสกุล ( แบบ ช.2 )
          - คำขออนุญาตร่วมชื่อสกุล ( แบบ ช.5 )
          - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
          - ค่าธรรมเนียม 100 บาท
- การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     - สูติบัตรของผู้ขอ ( ฉบับจริง )
     - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส พร้อมหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
     - กรณีหย่าให้แนบบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด
     - เอกสารทางทะเบียนที่แสดงชื่อสกุลเดิมของบิดาหรือมารดาที่จะขอใช้
     - คำร้องแบบ ช.1
- การขอออกใบแทนเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
     - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
     - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
     - หลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย
     - ค่าธรรมเนียม 25 บาท
     - คำร้องแบบ ช.1
- การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป
เอกสารประกอบ
     - กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
     - กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำร้อง เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
     - หากมีการมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้เรียกบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติม, คำร้องแบบคำขอเกี่ยวกับงานทะเบียนทั่วไป


การจดทะเบียนการสมรสในข้อจำกัด ตามหนังสือสั่งการ
1. การจดทะเบียนสมรสของบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายกับบุคคลสัญชาติไทย ตามหนังสือ ด่วนมาก ที่ มท 0313/ว 741 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2521
    1.1 คู่สมรสฝ่ายที่เป็นคนต่างด้าว ขอหนังสือรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุล สัญชาติที่ตนสังกัดประจำประเทศไทย หรือจากองค์การที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย หนังสือรับรอง ต้องระบุในเรื่องต่อไปนี้
         1.1.1 ผู้ร้องมีคุณสมบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2519 และเหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย
         1.1.2 ระบุอาชีพและรายได้ของผู้ร้อง
         1.1.3 ภาวะทางการสมรสของผู้ร้อง เป็นโสดหรือสมรสแล้ว หากสมรสแล้ว มีภาระผูกพันที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง
         1.1.4 ระบุชื่อบุคคลที่ทางราชการสามารถติดต่อ และขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ 2 คน ซึ่งมีถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาเดียวกันกับผู้ร้อง
    1.2 คู่สมรสฝ่ายที่เป้ฯคนต่างด้าว นำหนังสือรับรองที่ได้จากสถานทูตฯ แปล(เป็นภาษาไทย) และให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยรับรองคำแปล หรือ ให้สถานทูตของประเทศนั้นรับรองคำแปล
    1.3 คู่สมรสยื่นคำร้อง เอกสารตาม 1.1 และ 1.2 พร้อมหนังสือเดินทางของฝ่ายที่เป็นคนต่างด้าวต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่สำนักงานเขต
    1.4 นายทะเบียนตรวจสอบ คำร้อง หนังสือรับรองจากสถานทูตฯ พร้อมคำแปล บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของคู่สมรสฝ่ายที่เป็นต่างด้าว
    1.5 นายทะเบียนสอบสวนปากคำผู้ร้องขอจดทะเบียนไว้โดยละเอียด โดยใช้แบบ ป.ค. 14 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องขอจดทะเบียนเป็นใคร อยู่ที่ใด สัญชาติอะไร มีรายได้ที่แน่นอนอย่างไร เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใดแล้ว จดทะเบียนสมรสแล้วจะไปอยู่ที่ใด
    1.6 การดำเนินการจดทะเบียน ปฏิบัติตามการจดทะเบียนสมรส ตามวิธีต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว
    1.7 พยาน 2 คน และล่าม 1 คน ถ้าพยานเป็นต่างด้าวต้องแปลหนังสือเดินทางและให้กระทรวงการต่างประเทศรับรองด้วย
2. การจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กับบุคคลสัญชาติไทย หรือกับบุคคลต่างด้าวด้วยกัน (หนังสือด่วนมาก ที่ มท 0313/ว 99 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2525)
    ขั้นตอนการปฏิบัติ
    2.1 คู่สมรสยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ หรือที่สำนักงานเขต
    2.2 การดำเนินการจดทะเบียน ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับกรณี หนังสือ ด่วนมาก ที่ มท 0313/ว 741 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2521 และ
    2.3 กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ร้องจะขาดคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรส ให้นายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียนไว้ก่อน โดยอ้างกฎหมาย เช่น มาตรา 1450 และมาตรา 1452 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2519 ว่า นายทะเบียนไม่อาจตรวจสอบหลักฐานได้ว่า ขณะที่ผู้ร้องขอจดทะเบียน ผู้ร้องกับคู่สมรสเป็นญาติสืบสายโลหิตกันหรือไม่ หรือผู้ร้องมีคู่สมรสอยู่หรือไม่ ผู้ร้องจะต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ปรากฏต่อหน้านายทะเบียนว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน

สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มสำหรับติดต่อราชการฝ่ายทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มฝ่ายทะเบียน