พื้นที่บริเวณพระราชวังพญาไทแห่งนี้ในอดีตเป็นสวนทุ่งนาบริเวณริมคลองสาเสนติดกับทุ่งพญาไท ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินประมาณ 100 ไร่ เศษจากชาวนาชาวสวนบริเวณนั้น เพื่อใช้ทดลองปลูกธัญพืช และเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ซึ่งโรงเรือนหลังแรกที่โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นคือ โรงนาและได้พระราชทานนามว่า “โรงนาหลวงคลองพญาไท” พร้อมกับโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยประกอบที่ทุ่งพระเมรุ(ท้องสนามหลวง) มาจัดที่ทุ่งแห่งนี้แทน พระตำหนักพญาไท สร้างขึ้นจึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วังพญาไท” ภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตในปี 2543 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนี้จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่วังพญาไทแห่งนี้

                ต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักน้อยขึ้นที่ริมคลองพญาไท เป็นเรือนไม้สักสองชั้นพระราชทานนามว่า “พระราชวังพญาไท” ซึ่งประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 5 องค์ ได้แก่ พระที่นั่วไวกูณฐเทพสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “ดุสิตธานี” เมืองจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกหัดและปูรากฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตยจากพระราชวังดุสิตมายังพระราชวังพญาไท แห่งนี้ด้วย

                หลังจากนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 7 กรมรถไฟหลวง ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เช่าพื้นที่และดัดแปลงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า “โฮเต็ลพญาไท” จากนั้นถูกเปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย ต่อมาปี 2475 กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ได้ย้ายมาอยู่และพัฒนาเป็น โรงพยาบาลทหารบก และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนนามใหม่เป็น “โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า”

                จนถึงปี 2512 กรมแพทย์ทหารบกเข้ามาตั้งกองบัญชาการอยู่แทนจนเมื่อปี 2532 ได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ จึงให้ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าใช้เป็นสถานที่ราชการเป็นการชั่วคราว โดยมีโครงการที่จะย้ายออกเมื่อพร้อมเช่นกัน

                ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระราชวังพญาไทเป็นโบรานสถานแห่งชาติซึ่งในอนาคตจะได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม สอบถามรายละเอียดได้ที่ชมรมคนรักวัง โทร.0-2246-1400 17 ต่อ 93694,0-2245-9770 (สายตรง) โทรสาร 0-2246-787