ภาษีบำรุงท้องที่สามารถชำระได้ที่ใดบ้าง
ตอบ  :  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท.9)   โดยสามารถยื่นขอชำระได้ ดังนี้
  1.  สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
  2.  กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร1 (เสาชิงช้า)
  3.  ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
  4.  ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคาร สั่งจ่าย “กรุงเทพมหานคร” โดยทางไปรษณีย์
อัตราภาษีป้ายคิดอย่างไร
ตอบ  :  ประเภทของป้ายและอัตราภาษีป้าย  ประกอบด้วย
  •  ประเภท 1  ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
 คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  •  ประเภท 2  ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น
 คิดอัตรา 20 บาท  ต่อ 500  ตารางเซนติเมตร
  •  ประเภท 3  ป้ายดังต่อไปนี้
           ก)  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม
           ข)  ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
           คิดอัตรา  40  บาท  ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

          หมายเหตุ  :  ป้ายทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมา เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วมีอัตราที่ต้องเสียต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียป้ายละ 200 บาท
                     
ทรัพย์สินใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิ
          ตอบ  :  1.  พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
                     2.  ทรัพย์สินของรัฐในกิจการของรัฐและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
                     3.  ทรัพย์สินของโรงพยาบาลและโรงเรียนของสาธารณะซึ่งกระทำการโดยมิใช่การหารายได้หรือผลกำไรส่วนบุคคลและใช้ในกิจการรักษาพยาบาลและการศึกษา เช่น โรงพยาบาลของรัฐบาล โรงเรียนของรัฐบาลเป็นต้น
                     4.  ทรัพย์สินซึ่งเป็นของศาสนสมบัติใช้ในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์คริสต์
                     5.  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอาศัย นอกจากให้คนเฝ้า
                     6.  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้
                     7.  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งเจ้าของอยู่เอง อาศัยเอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม เช่น บ้านอยู่อาศัยทั่วไป
Page 1 of 1