แหล่งที่มาวีดิทัศน์


 
วัดเจ้ามูล

วัดเจ้ามูล เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานวัดหนึ่ง สันนิษฐานและคำบอกเล่าจากท่านผู้ใหญ่ ผู้มีอายุอยู่ ในถิ่นใกล้เคียงกับวัดเจ้ามูลเล่าสืบต่อ ๆ กันมาว่า วัดเจ้ามูลนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2207 เกี่ยวกับนามหรือชื่อวัด ตามที่ได้รับทราบหรือบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า พระราชวงศ์มีพระนามว่า “พระองค์เจ้ามูล”  ได้รื้อพระตำหนักมาสร้างถวายเป็นกุฏิสงฆ์ทรงเรือนไทยแบบสมัยโบราณ ถวายเป็นสมบัติของสงฆ์และเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ ผู้เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มสร้างวัดขึ้นพร้อมกับคณะท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ได้ร่วมสร้างขึ้น ครั้นแล้วได้พร้อมใจกันถวายนามว่า “วัดเจ้ามูลราชพงศาวราราม” แต่อยู่มาชาวบ้านนิยมเรียกสั้น ๆ เพียงว่า “วัดเจ้ามูล” กาลเวลาผ่านมาพระตำหนัก ที่รื้อมาสร้างเป็นกุฏิก็ชำรุดสูญหายไป จึงมีแต่สิ่งปลูกสร้างใหม่ขึ้นมาแทนตามลำดับ แต่ชื่อวัดยังคงเรียกกันว่า “วัดเจ้ามูล” และยังได้เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดเจ้ามูลได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.2209 โดยกำหนดเขตกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร             

แผนที่การเดินทาง  (ระบบ Gis กรุงเทพมหานคร)

26 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 8 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600   โทร. 02-411-4713 , 02-412-9183  รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน 42, 68, 80, 81, 91, 91ก, 108, ปอ 542 


 
street  view


 
สิ่งสำคัญ ที่น่าชม  




1. พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๘.๑๕ เมตร ยาว ๒๔.๗๐ เมตร หลังคาลด ๓ ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปลักษณะเป็นแบบพระพุทธชินราช นามว่า พระพุทธรังษีสมากร ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก สูง ๖.๕๐ ศอก เป็นพระประธานด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฝาผนังเขียนเป็นภาพเทวดาและเหตุการณ์ในพุทธประวัติ บานหน้าต่างอุโบสถเขียน  เป็นภาพของสำนวนไทย เช่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ตักน้ำรดหัวตอ อย่าจับปลาสองมือ



 
2. พระวิหาร  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๗ เมตร ยาว ๘ เมตร มีพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๒๐ เมตร มีนามว่า หลวงพ่อทับทิม ซึ่งเป็นพระประธานของอุโบสถหลังเก่า
 
สถานที่ถัดไป (วัดเครือวัลย์ฯ)