วัดอรุณราชวราราม ( TEMPLE  OF  DAWN )
 
             วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า ” วัดมะกอก ” แล้วเปลี่ยนมาเป็น  “ วัดแจ้ง ”   ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2   พระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ วัดอรุณราชธาราม ”  ถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ  ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก   แล้วเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “ วัดอรุณราชวราราม ” มีชื่อเต็มว่า “ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ”  
             ความสำคัญของวัด  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร  อยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง เดิม   และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  (พระแก้วมรกต)   ครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์   ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานผ้าพระกฐินทางชลมารค ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำ

 
แผนที่การเดินทาง  (ระบบ Gis กรุงเทพมหานคร)
 
เลขที่ 34 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ 10600  โทร.02-4651989,02-465-1117    รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน สาย 19 , 57


street view
 
สิ่งสำคัญที่น่าชม
1. พระอุโบสถ   สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2   ซึ่งมีพระประธานนามว่า  “ พระพุทธธรรมมิศรราช-โลกธาตุ
ดิลก ”  หล่อในรัชกาลที่ 2  กล่าวกันว่า  “ พระพักตร์เป็นฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 2 ”  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  หน้าตักกว้าง 3 ศอกคืบ  ประดิษฐานเหนือแท่นไพที  บนฐานชุกชี

 
2. พระประธานในพระวิหารวัดอรุณนามว่า พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 6 ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทอง มีประวัติว่ารัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศน์เทพวราราม ฝั่งพระนคร
3. พระอรุณหรือพระแจ้ง ในพระวิหารวัดอรุณฯ เป็นพระพุทธปางมารวิชัย ทำด้วยทองสีต่างๆหน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่บนแท่น หน้าพระแจ้งในวิหารหน้าตักกว้าง 70 เซนติเมตร
4. พระปรางค์ ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ จาน ชามเบญจรงค์ และเปลือกหอยที่เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล และมงกุฏปิดทอง มีความสูง 67 เมตร
5. ซุ้มประตูยอดมงกุฏ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นซุ้มจตุรมุข หลังคาลด 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี มียอดเป็นทรงมงกุฏ ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสลับสี
6. รูปปั้นยักษ์ยืน หน้าซุ้มประตูยอดมงกุฏ มี 2 ตน ยักษ์กายสีขาวคือ สหัสเดชะ และยักษ์กายสีเขียว คือ ทศกัณฐ์
7. มณฑปพระพุทธบาทจำลอง อยู่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในมีพระพุทธบาทจำลองเป็นหินสลักจากกวางตุ้ง
8. ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีนมี 6 หลัง ตั้งอยู่ที่เขื่อนหน้าวัด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3
 
สถานที่ถัดไป (พระราชวังเดิม)