ภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ
สุกลช่างแทงหยวกวัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร (วัดหมู)
“สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ สมัยนั้นยังไม่มีสํานักพระราชวัง เวลามีงานศพ ในวัง บุคคลที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ จะต้องลงโกศ สมัยนั้นในวังไม่มีเจ้าหน้าที่ก็ต้องมาหาคน ทําพิธีลงโกศ สมัยนั้นสํานักใหญ่คือ วัดพลับ ปู่โพธิ์ แอ๊ดสกุล และหลวงปู่ขึ้น เป็นทั้งต้นฉบับ สวดทํานองหลวง และประกอบหยวก ถึงสํานักใหญ่จะเป็นวัดพลับ แต่ก็มี วัดสังข์กระจาย วัดท่าพระ ร่วมทําอยู่ด้วย ในยุคหลังรัชกาลที่ ๗ มีสํานักพระราชวังหลวง มีเจ้าหน้าที่ตอนหลัง เจ้าหน้าที่ในกองพระราชพิธีก็ทํากันเอง และออกมาหาตามข้างนอกบ้างเป็นบางครั้ง ต้นตํารับวัดหมู หรือวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร (วัดหมู) ในปัจุบัน คือ หมื่นสวัสดิ์ ประชารักษ์ (จ้อย) เป็นผู้ใหญ่ และเป็นทั้งนายป่าช้าด้วย”
ตระกูลช่างแทงหยวก - แกะสลักของอ่อน
วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร (วัดหมู)ต.ปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ตัวอย่างผลงานคุณปู่ขันธ์ คชาพงษ์
งานฌาปนกิจศพ คุณทวดเหลี่ยม คชาพงษ์ ตั้งเมรุลอย (นางลอยกลางแจ้ง)
ณ วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร (วัดหมู)
งานฌาปนกิจศพคุณทวดกลีบ พลายองอาจ
ณ เมรุวัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร (วัดหมู)
สุดท้ายนี้ตลอดชีวิตการเป็นช่างแทงหยวก มีโอกาสได้ไปแทงหยวกหลายงาน ทั้งงาน เล็กและงานใหญ่ แต่งานที่ประทับใจและจําไม่ลืม คือการได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมช่างจัดทํา เครื่องสดประดับพระจิตกาธาน (เชิงตะกอน) ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙