การจดทะเบียนสมาคม
การจดทะเบียนสมาคม
ให้ผู้จะเป็นสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขตสำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัดอื่นที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
1. ข้อบังคับของสมาคม
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
3. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
4. รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
5. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
6. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
7. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ ในกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
เมื่อสำนักงานเขตหรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการดังนี้
1. ตวจสอบคำขอและข้อบังคับว่าถูกต้องหรือไม่
2. ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของสมาคม ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
3. ตรวจสอบรายการในคำขอหรือข้อบังคับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม
4. ตรวจสอบผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม ต้องมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
เมื่อสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้พิจารณาเอกสารและคำขอแล้วเห็นว่า ครบถ้วนและถูกต้อง ก็ให้เสนอเรื่องราวพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน โดยส่งเรื่องไปกรุงเทพมหานคร(สำหรับในกรุงเทพมหานคร) หรือจังหวัด (สำหรับในจังหวัดอื่น) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาจดทะเบียน โดย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นนายทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร
- ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายทะเบียนสมาคมในจังหวัดอื่น
เมื่อนายทะเบียนพิจารณารับจดทะเบียน ก็จะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคม (ส.ค.4) และส่งประกาศการรับจดทะเบียนสมาคมไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบเพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ จำนวน 2,000.-บาท
1. ข้อบังคับของสมาคม
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
3. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
4. รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
5. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
6. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
7. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ ในกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
เมื่อสำนักงานเขตหรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการดังนี้
1. ตวจสอบคำขอและข้อบังคับว่าถูกต้องหรือไม่
2. ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของสมาคม ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
3. ตรวจสอบรายการในคำขอหรือข้อบังคับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม
4. ตรวจสอบผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม ต้องมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
เมื่อสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้พิจารณาเอกสารและคำขอแล้วเห็นว่า ครบถ้วนและถูกต้อง ก็ให้เสนอเรื่องราวพร้อมความเห็นต่อนายทะเบียน โดยส่งเรื่องไปกรุงเทพมหานคร(สำหรับในกรุงเทพมหานคร) หรือจังหวัด (สำหรับในจังหวัดอื่น) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาจดทะเบียน โดย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นนายทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร
- ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นนายทะเบียนสมาคมในจังหวัดอื่น
เมื่อนายทะเบียนพิจารณารับจดทะเบียน ก็จะออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคม (ส.ค.4) และส่งประกาศการรับจดทะเบียนสมาคมไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขต หรืออำเภอ/กิ่งอำเภอ และแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบเพื่อขอรับใบสำคัญฯ และชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ จำนวน 2,000.-บาท