ประเด็นปัญหา/แนวถามตอบ

งานทะเบียนราษฎร

คำถาม  1.  บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส  ทำไมย้ายที่อยู่บุตรผู้เยาว์ไม่ได้
ตอบ   กรณีจะย้ายที่อยู่บุตรผู้เยาว์  บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนรับรองบุตร  มารดาเป็นผู้ย้ายเข้าแทนบุตรผู้เยาว์เท่านั้น

คำถาม  2.  กรณีการแก้ไขชื่อตัว – ชื่อสกุล ในทะเบียนบ้านทำไมต้องขีดฆ่าด้วยสีแดง
ตอบ   ตามระเบียบทะเบียนราษฎร  การแก้ไขรายการต่าง ๆ ในทะเบียนบ้านต้องขีดฆ่าคำหรือข้อความเดิมแล้วเขียนคำหรือหรือข้อมูลที่ถูกต้องแทนด้วยหมึกสีแดง  พร้อมทั้งลงชื่อนายทะเบียนและวันเดือนปีกำกับไว้

คำถาม  3.  กรณีเจ้าบ้านแต่งตั้งใหม่ ไม่ถึง  180 วัน  ประสงค์ย้ายคนเข้าบ้านกลางทำไมถึงทำไม่ได้
ตอบ   ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร มาตรา 33  เมื่อผู้อยู่ในบ้านใดออกจากบ้านที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินหนึ่งร้อย 180 วัน  และเจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้นั้นไปอยู่ที่ใด ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกต่อนายทะเบียนภายใน  30  วัน  นับแต่วันครบ 180 วัน โดยระบุว่าไม่ทราบที่อยู่และให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งเพิ่มชื่อและรายการผู้นั้นในทะเบียนบ้านกลาง

คำถาม  4.  กรณีเจ้าบ้านได้ออกใบแจ้งย้ายที่อยู่แล้ว  แต่ภายหลังประสงค์เปลี่ยนแปลงบ้านที่จะย้ายเข้าทำได้หรือไม่
ตอบ   ตามระเบียบทะเบียนราษฎร  การรับแจ้งย้ายเข้า หากรายการที่อยู่ที่แจ้งย้ายเข้า      ผิดไปจากที่ระบุไว้ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ เช่น บ้านเลขที่  ถนน หมู่ที่ อำเภอ หรือจังหวัด         เป็นต้น  ให้นายทะเบียนที่ตนประสงค์จะย้ายเข้าไปอยู่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง 
 
คำถาม  5.  การย้ายเข้าบ้านต้องย้ายเข้าภายในกี่วัน  หากเกินกำหนดจะโดนปรับหรือไม่
ตอบ   ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในทะเบียนบ้านให้แจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน  นับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน กรณีเกินกำหนด มาตรา 47 (2)  ไม่ปฏิบัติตามาตรา 33  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
คำถาม  6.  กรณีสูติบัตร, มรณบัตรสูญหาย  ต้องคัดที่ไหน
ตอบ   กรณีสูติบัตร, มรณบัตรต้องขอคัด ณ สำนักทะเบียนที่ออก  แต่กรณีสูติบัตร,        มรณบัตร ที่ออกโดยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ขอรับบริการสามารถคัดทะเบียนคนเกิด              (ท.ร.1/ก), ทะเบียนคนตาย (ทร.4/ก)
 
คำถาม  7.  การคัดเอกสารทางทะเบียน นอกจากขอคัดของตนเองแล้ว  สามารถคัดของบุคคลอื่นได้หรือไม่
ตอบ   สามารถคัดได้ ถ้าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีส่วนได้เสียจะขอตรวจ หรือคัดสำเนารายการ หรือให้นายทะเบียนคัดและรับรองได้ที่สำนักทะเบียนในวันเวลาราชการ
 
คำถาม  8.  ถ้ามีบ้านอยู่หลายหลังในบริเวณเดียวกัน  สามารถใช้เลขบ้านเลขเดียวได้หรือไม่
ตอบ   ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534  มาตรา 35  ถ้ามีบ้านอยู่หลายหลังในบริเวณเดียวกัน ให้กำหนดเลขประจำบ้านเพียงเลขเดียว แต่ถ้าเจ้าบ้านประสงค์จะกำหนดเลขประจำบ้านเพิ่มขึ้นอีกให้ยื่นขอต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง  บ้านที่ปลูกเป็นตึกแถว ห้องแถว หรืออาคารชุด ให้กำหนดเลขประจำบ้านทุกห้องหรือทุกห้องชุด โดยถือว่าห้องเป็นห้องชุดหนึ่ง ๆ เป็นบ้านหลังหนึ่ง
 
คำถาม  9.  คัดข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร (ท.ร.12) อัตราค่าธรรมเนียมเท่าใด
ตอบ   การขอคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร อัตราค่าธรรมเนียม  20  บาท
หน้า 3
 
คำถาม  10.  คัดข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร (ท.ร.12) อัตราค่าธรรมเนียมเท่าใด
ตอบ   การขอคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร อัตราค่าธรรมเนียม  20  บาท

คำถาม  11.  คนตายนอกบ้าน  ใครเป็นผู้แจ้ง
ตอบ   ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 21 (2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ  แล้วแต่กรณี  หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้  ภายใน  24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ  กรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้

คำถาม  12.  กรณีเด็กเกิดบนรถแท็กซี่  ต้องแจ้งเกิดอย่างไร
ตอบ   กรณีเด็กเกิดบนรถแท็กซี่ ถือว่าคนเกิดนอกบ้าน  ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด  ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน       30 วัน นับแต่วันเกิด

คำถาม  13.  กรณีพบเด็กถูกทอดทิ้ง  ต้องทำอย่างไร
ตอบ   กรณีผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำตัวเด็กไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือเจ้าน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คำถาม  14.  การรื้อถอนบ้านต้องทำภายในกี่วัน
ตอบ   ผู้ใดรื้อบ้านที่มีเลขประจำบ้านโดยไม่ประสงค์จะปลูกบ้านใหม่ในที่ดินบริเวณนั้นอีกต่อไปหรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างบ้านใหม่ที่อื่น ให้แจ้งการรื้อบ้านต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่รื้อบ้านเสร็จเพื่อจำหน่ายเลขประจำบ้านและทะเบียนบ้าน
 
คำถาม  15.  การคัดและรับรองสำเนารายทะเบียนราษฎร กรณีใดบ้างที่ยกเว้นไม่ต้องเก็บค่าธรรมเนียม
ตอบ   การขอคัดและรับรองสำเนารายทะเบียนดังต่อไปนี้
  •  การศึกษาทั่วไป
  •  การเข้ารับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
  •  การขอรับการส่งเคราะห์จากทางราชการ
  •  การจัดที่ดินเพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยส่วนราชการหรือหน่วยของรัฐ
  •  การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือมติคณะรัฐมนตรี
 
 
 งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
คำถาม  1.  การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกอายุเท่าใด
ตอบ   ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 5  ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์  แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนด
คำถาม  2.  การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกใช้หลักฐานใดบ้าง
ตอบ   สูติบัตร, ทะเบียนบ้าน, ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ของตนเอง บิดา มารดา (ถ้ามี)
หลักฐานอื่น ๆ  เช่น  วุฒิการศึกษา
คำถาม  3.  เสียค่าธรรมเนียมบัตรประจำตัวประชาชนหายเท่าไหร่
ตอบ   ค่าธรรมเนียมบัตรประจำตัวประชาชนหาย  100 บาท (ตามประกาศกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน   พ.ศ. 2559)
 
คำถาม  4.  การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกสำหรับ เด็กอายุ 7 ปีบริบูรณ์ เริ่มปี พ.ศ. ใด
ตอบ   การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกสำหรับเด็กอายุ 7 ปีบริบูรณ์ เริ่มปี        พ.ศ. 2554
 
คำถาม  5.  การทำบัตรประจำตัวประชาชนเปิดให้บริการวัน และเวลาใดบ้าง
ตอบ   การทำบัตรประจำตัวประชาชนเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์                   เวลา 08.00 – 16.00 น.   หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
 
คำถาม  6.  การทำบัตรประจำตัวประชาชนกรณีหมดอายุ ต้องทำภายในกี่วัน
ตอบ   การทำบัตรประจำตัวประชาชนกรณีหมดอายุ สามารถดำเนินการขอทำบัตรหมดอายุ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ  หรือจะขอมีบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้  โดยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
 
คำถาม  7.  บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุกี่ปี
ตอบ   บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ  8  ปี นับจากวันที่ทำบัตร
 
คำถาม  8.  การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ มีกรณีใดบ้าง
ตอบ  การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่  กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
 
คำถาม  9.  การขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน มีกรณีใดบ้าง
ตอบ  การขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน กรณี บัตรชำรุดในสาระสำคัญ, แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน  หรือผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้
       
 
งานทะเบียนทั่วไป
ทะเบียนครอบครัว
คำถาม  1.  กรณีบุคคลสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศแล้ว  ต้องมาจดทะเบียนสมรส  ณ  สำนักงานเขต/อำเภอ อีกหรือไม่
ตอบ   กรณีบุคคลสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศแล้ว  ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยอีก  เนื่องจากการจดทะเบียนสมรส ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศถือว่าเป็นการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยแล้ว  แต่แบบฟอร์ม ณ สถานเอกอัครราชทูต และสำนักทะเบียนในประเทศไทยจะแตกต่างกัน 
           กรณีคู่สมรสคนไทย มีข้อตกลงใช้ชื่อสกุลใน คร.2  เรียบร้อยแล้ว  ก็สามารถดำเนินการเปลี่ยนคำนำหน้านาม และเปลี่ยนชื่อสกุลไปใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยออกหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) และดำเนินการแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชน

คำถาม  2.  กรณีบุคคลสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศ (หน่วยงานที่ต่างประเทศ)  ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปที่ประเทศไทย
ตอบ  กรณีบุคคลสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลสัญชาติไทยต้องนำเอกสารการสมรส (ใบสำคัญการสมรส, ทะเบียนสมรส)  แปลเป็นภาษาไทย
เช่น  จดทะเบียนสมรสประเทศเยอรมันนี  ลำดับแรก  ให้นำทะเบียนสมรสไปติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย เพื่อรับรองเอกสาร/แปล  จากนั้นนำเอกสารที่ได้รับการรับรองการแปลเป็นภาษาไทย  รับรองนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ  และมาติดต่อที่สำนักงานเขต/อำเภอแห่งใดก็ได้  เพื่อยื่นขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย โดยไม่ต้องมาจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยอีก

คำถาม  3.  กรณีบิดาประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตร  แต่บุตรยังเป็นบุตรผู้เยาว์และมารดาของบุตรเสียชีวิต มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร
ตอบ   การที่บิดาร้องขอจดทะเบียนรับรองให้บุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย  บิดา มารดาและบุตร ต้องมาพร้อมกันทั้ง 3  ฝ่าย  โดยกรณีหากบุตรผู้เยาว์ยังไม่รู้เดียงสา
(อายุประมาณแรกเกิด – 7 ปี)  บิดาต้องนำคำสั่งหรือคำพิพากษาศาล และใบสำคัญแสดงคดีถึงที่สุดมาให้ความยินยอมแทนบุตรผู้เยาว์  และมารดาของบุตรผู้เยาว์ด้วย

คำถาม  4.  กรณีประสงค์จะรับบุตรบุญธรรม  มีแนวทางปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ   กรณีประสงค์จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม  บุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ (อายุตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังไม่ถึง  20 ปีบริบูรณ์)  ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องติดต่อที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (บ้านราชวิถี กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ/กรณีอยู่ต่างจังหวัด ติดต่อศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัด)  เพื่อขอหนังสืออนุญาตให้รับบุตรบุญธรรมได้ก่อน  แล้วจึงมาดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่สำนักงานเขต/อำเภอแห่งใดก็ได้  (กรณีผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ผู้เยาว์ต้องมาลงลายมือชื่อ ณ สำนักงานเขตด้วย)  ผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส  คู่สมรสต้องมาให้ความยินยอมด้วย
        กรณีบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมสามารถมาดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ที่สำนักงานเขต/อำเภอแห่งใดก็ได้ หากผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสต้องมาให้ความยินยอมด้วย

คำถาม  5.  กรณีจดทะเบียนสมรสไว้เป็นเวลานาน  แต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งติดตามตัวไม่ได้ และประสงค์จะจดทะเบียนหย่า  จะต้องทำอย่างไร
ตอบ   กรณีจดทะเบียนสมรสไว้เป็นเวลานาน  ยังไม่สามารถมาดำเนินการหย่าที่สำนักงานเขตได้  ต้องนำคำพิพากษาศาลและใบสำคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุด มาติดต่อที่สำนักงานเขต/อำเภอ เพื่อขอหย่าฝ่ายเดียว (โดยคำสั่งศาล)

คำถาม  6.  กรณีจดทะเบียนหย่าแล้ว  แต่คู่สมรสฝ่ายหญิงยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อสกุลกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิม  และประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเดิม จดทะเบียนสมรสได้เลยหรือไม่
ตอบ   กรณีคู่สมรสเคยจดทะเบียนสมรส และจดทะเบียนหย่าแล้ว คู่สมรสฝ่ายหญิงยังใช้ชื่อสกุลคู่สมรสฝ่ายชายอยู่  ต้องกลับไปใช้ชื่อสกุลของตนเองก่อน  จึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสใหม่ได้

คำถาม  7.  กรณีฝ่ายหญิงเคยจดทะเบียนหย่ามาแล้ว  และประสงค์จะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้เลยหรือไม่
ตอบ   กรณีคู่สมรสฝ่ายหญิงเคยจดทะเบียนหย่ามาแล้ว  หากประสงค์จะจดทะเบียนสมรสใหม่กับคู่สมรสเดิมสามารถจดได้เลย  หากกรณีจดทะเบียนสมรสคู่สมรสคนใหม่ ต้องให้ผ่านพ้นเป็นระยะเวลา  310 วัน ก่อน  หรือกรณีประสงค์จะจดทะเบียนสมรสก่อน 310 วัน คู่สมรสฝ่ายหญิงต้องนำใบรับรองแพทย์  โดยให้แพทย์ระบุว่า : ไม่พบสภาวะการตั้งครรภ์  จึงจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้

คำถาม  8.  กรณีบุตรผู้เยาว์ประสงค์จดทะเบียนสมรส ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ   กรณีบุตรผู้เยาว์ (อายุ 17 ปี  แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์)  ประสงค์จดทะเบียนสมรส
บิดามารดา บิดาหรือมารดาต้องมาให้ความยินยอม ต่อหน้านายทะเบียน ณ สำนักงานเขต/อำเภอ แห่งใดก็ได้
        กรณีบุตรผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จดทะเบียนสมรส  และนำคำสั่งศาลมาติดต่อ ณ สำนักงานเขต/อำเภอ แห่งใด ก็ได้ เพื่อจดทะเบียนสมรสต่อไป

คำถาม  9.  กรณีจดทะเบียนสมรสไว้ ณ สำนักงานเขตดินแดง  ประสงค์จะจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนแห่งอื่นได้หรือไม่
ตอบ   ผู้ร้องประสงค์จดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนแห่งอื่น ได้ทุกสำนักทะเบียน
 
คำถาม  10.  กรณีจดทะเบียนสมรสจากสำนักทะเบียน ณ ต่างประเทศ/ตามกฎหมายต่างประเทศ  และได้มาดำเนินการจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวที่ประเทศไทยแล้ว หากประสงค์จะจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยได้หรือไม่
ตอบ   กรณีผู้ร้องได้ดำเนินการจดทะเบียนสมรส ณ ต่างประเทศ และมาดำเนินการ        จดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้ว  ผู้ร้องสามารถมาจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยได้
 
คำถาม  11.  กรณีจดทะเบียนสมรสไว้ ณ สำนักงานเขตดินแดง  หากประสงค์จะจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม คู่สมรสฝ่ายหนึ่งอยู่ต่างประเทศ  จะหย่าได้หรือไม่
ตอบ   กรณีผู้ร้องได้จดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนเขตดินแดง ประสงค์จะจดทะเบียนหย่า แต่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถทำได้  โดยใช้วิธีหย่าต่างสำนักทะเบียน
 
ทะเบียนชื่อบุคคล
คำถาม  1.  กรณีประสงค์เปลี่ยนชื่อตัว – สกุล  สามารถเปลี่ยนข้ามเขตได้หรือไม่
ตอบ   กรณีบุคคลประสงค์เปลี่ยนชื่อตัว – สกุล  ต้องไปติดต่อขอเปลี่ยนตามภูมิลำเนา     ตามทะเบียนบ้านที่บุคคลผู้นั้นมีชื่ออยู่เท่านั้น

คำถาม  2.  กรณีประสงค์จะตั้งชื่อสกุล (ช.2) หรือร่วมชื่อสกุล (ช.4)  ใหม่  แต่มีประวัติเดิมของการตั้งชื่อสกุล  หรือร่วมชื่อสกุลกับบุคคลอื่น  มีแนวทางปฎิบัติอย่างไร
ตอบ   กรณีบุคคลประสงค์จะตั้งชื่อสกุล หรือร่วมชื่อสกุลใหม่  แต่มีประวัติเดิมของการ   ตั้งชื่อสกุล หรือร่วมชื่อสกุลกับบุคคลอื่นอยู่  บุคคลนั้นจะต้องนำ ช.2, ช.4  แล้วแต่กรณี
เดิมมายกเลิก  จึงจะตั้งชื่อสกุลใหม่ หรือร่วมชื่อสกุลใหม่ได้

คำถาม  3.  กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต หากประสงค์กลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองก่อนสมรสแล้ว  ภายหลังจะกลับมาใช้ชื่อสกุลของสามีได้อีกหรือไม่
ตอบ   กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต  หญิงนั้นสามารถยังใช้ชื่อสกุลของสามีต่อไปได้   หากแต่ประสงค์กลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองก่อนสมรสก็สามารถทำได้  โดยจะได้รับหลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5)  และหากภายหลังประสงค์ขอกลับมาใช้ชื่อสกุลสามีไม่อาจทำได้

คำถาม  4.  กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต แต่ยังไม่ได้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมก่อนสมรส  แต่ประสงค์จดทะเบียนสมรสใหม่  สามารถทำได้หรือไม่
ตอบ   กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต  แต่ยังไม่ได้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมก่อนสมรส  ต้องกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก่อน  จึงจะสามารถจดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสใหม่ได้

คำถาม  5.  กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต และประสงค์จะตั้งชื่อสกุลใหม่ หรือร่วมชื่อสกุลใหม่  จะต้องปฏิบัติอย่างไร
 ตอบ   กรณีหญิงจดทะเบียนสมรส  สามีเสียชีวิต  และประสงค์จะตั้งชื่อสกุลใหม่ หรือร่วมชื่อสกุลใหม่  จะต้องกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก่อน  จึงจะสามารถดำเนินการจัดตั้งชื่อสกุล (ช.2) หรือร่วมชื่อสกุล (ช.4) ได้

คำถาม  6.  กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสบุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการแทนบุตรผู้เยาว์
ตอบ   กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์  บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส  หรือบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร  มารดาเป็นผู้ดำเนินการแทนบุตรผู้เยาว์
 
คำถาม  7.  กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสบุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการแทนบุตรผู้เยาว์
ตอบ   กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์  บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส  หรือบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร  มารดาเป็นผู้ดำเนินการแทนบุตรผู้เยาว์
 
คำถาม  8.  กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์ บิดามารดาจดทะเบียนหย่าบุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการแทนบุตรผู้เยาว์
ตอบ   กรณีประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล บุตรผู้เยาว์  บิดามารดาจดทะเบียนหย่า       ต้องดูอำนาจปกครองว่าบุตรผู้เยาว์อยู่ในอำนาจการปกครองของบุคคลใด  บุคคลนั้นเป็น    ผู้ดำเนินการเปลี่ยน
 
คำถาม  9.  กรณีเจ้าของชื่อสกุล มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตดินแดง  และประสงค์จะให้บุคคลอื่นร่วมชื่อสกุลของตน  มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร
ตอบ   กรณีเจ้าของชื่อสกุล มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตดินแดง และประสงค์จะให้บุคคลอื่นร่วมชื่อสกุลของตน  เจ้าของชื่อสกุลต้องมาติดต่อที่สำนักงานเขตดินแดงเพื่อขอออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมชื่อสกุล (ช.6)  และมอบ ช.6 ให้แก่บุคคลนั้นไปออกทะเบียนร่วมชื่อสกุล (ช.4) ตามภูมิลำเนาของผู้จะร่วมใช้ตามทะเบียนบ้าน
 
หน้า 13
คำถาม  10.  เดิมเจ้าของชื่อสกุลได้ออกหลักฐานทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช.2)  หรือทะเบียนร่วมชื่อสกุล (ช.4)  ไว้ ณ สำนักงานเขตดินแดง  แต่ปัจจุบันมีภูมิลำเนาอยู่อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี  และเอกสารสำคัญ ช.2, ช.4 สูญหาย ต้องออกเอกสารที่ใด
ตอบ   จะต้องออกเอกสารใบแทน ช.2, ช.4  ณ  อำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี ตามภูมิลำเนาทะเบียนบ้านในปัจจุบัน
 
คำถาม  11.  กรณีเจ้าของชื่อสกุลเสียชีวิต  บุคคลอื่นสามารถร่วมใช้ชื่อสกุลได้หรือไม่
ตอบ   กรณีเจ้าของชื่อสกุลเสียชีวิต หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดว่าเป็นผู้สาบสูญ ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่ (ลำดับชั้นลูก หลาน เหลน ลื่อที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่) และใช้ชื่อสกุลนั้น สามารถอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทย บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลดังกล่าวได้
 
คำถาม  12.  กรณีคู่สมรสจดทะเบียนสมรส  คู่สมรสฝ่ายหญิงประสงค์ใช้ชื่อสกุลคู่สมรสฝ่ายชาย  และจะนำชื่อสกุลของตนเองเป็นชื่อรองได้หรือไม่
ตอบ   คู่สมรสฝ่ายหญิงจดทะเบียนสมรส ประสงค์ใช้ชื่อสกุลคู่สมรสฝ่ายชาย และประสงค์ใช้ชื่อสกุลของตนเองเป็นชื่อรองสามารถทำได้