คำถาม  กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ถึงเมื่อใด
คำตอบ  ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

คำถาม   การติดตั้งป้ายใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแบบ
คำตอบ  1. หนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล หรือ  สำเนาทะเบียนการค้า         
           2.  สำเนาบัตรประชาชน 
          3. สำเนาใบเสร็จการติดตั้งป้าย
          4.  หนังสือมอบอำนาจ  (ถ้ามี)
  1. ภาษีบำรุงท้องที่กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบเพื่อชำระภาษีถึงเมื่อใด
  2.   -  กรณีเป็นปีที่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ให้ยื่นแบบแจ้งรายการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีที่มีการประเมิน  โดยจะมีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ทุกๆ 4 ปี ซึ่งครั้งต่อไปจะตรงกับที่ พ.ศ.2561
  • กรณีไม่ใช่ปีที่มีการประเมินภาษีให้ยื่นชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
  1. การยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อชำระภาษีป้าย (ภ.ป.1) ต้องยื่นภายในเมื่อใด
  2.   ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
  3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินคือใคร  และอัตราภาษีคิดอย่างไร
  4.      ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ  ผู้รับประเมิน  หมายถึง  เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี  เว้นแต่ถ้าที่ดินและอาคารโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นคนละเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคาร โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
                อัตราภาษี  ให้เสียอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
  1. สามารถขอผ่อนชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินได้หรือไม่  ต้องทำอย่างไร
  2.     ผู้รับประเมินมีสิทธิผ่อนผันการชำระภาษีได้ 3 งวด  โดยไม่เสียเงินเพิ่มมีเงื่อนไขดังนี้
  1.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษี  จะขอผ่อนชำระภาษีโดยวงเงินค่าภาษีที่จะขอผ่อนชำระนั้นจะต้องมีจำนวนเงินค่าภาษีตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป
  2. ได้ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น
  3. แจ้งความจำนงขอผ่อนชำระค่าภาษีเป็นหนังสือต่อพนักงานเก็บภาษีภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
 
  1. การยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อชำระภาษีป้าย (ภ.ป.1) มีวิธีการคำนวณภาษีอย่างไร 
  2.   -  ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
             พื้นที่ป้าย =  ส่วนที่กว้างที่สุด  x  ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
  • ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
               ถือตัวอักษร  ภาพ  หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด     ยาวที่สุด 
         การคำนวณภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
  1. ประเภทที่ 1  อักษรไทยล้วน 
  2.   500 ตร.ซม./3 บาท/1ด้าน/1ปี
  3. ประเภทที่ 2  ป้ายที่มีอักษรไทย+อักษรต่างประเทศหรือรูปภาพหรือโลโก้หรือเครื่องหมายอื่นใด  แต่ต้องให้ภาษาไทยอยู่เหนือด้านบนสุด  
  4.   500 ตร.ซม./20 บาท/1ด้าน/1ปี
  5. ประเภทที่ 3  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย มีแต่ภาษาต่างประเทศล้วนหรือรูปภาพหรือโลโก้อย่างเดียว  หรืออักษรไทยต่ำกว่าภาษาต่างประเทศ
  6.   500 ตร.ซม./40 บาท/1ด้าน/1ปี
  7. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย  ข้อความภาพ  หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น  ให้คิดอัตราตาม  1)  2)  หรือ  3)  
  8. เมื่อคำนวณแล้วป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท  ให้เสียอัตราภาษี 200 บาท