ฝ่ายการคลัง Finance Vadhana

          มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การ รับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การนำเงินส่งต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่างๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายการทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนดการวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ) การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน 9 ระบบงาน ( ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน ระบบงานบริหารคลังพัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ) การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณ การเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย การจัดเตรียมเอกสารมารับเงิน
      1.ผู้รับเงินจะต้องนำบัตรประชาชนมาแสดงด้วย
      2.หนังสือมอบฉันทะ พร้อมลายเซ็น ของผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ , หนังสือรับรองจาก สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร, ใบทะเบียนพาณิชย์
      3.ใบเสร็จรับเงินของ ห้างฯ ร้าน บริษัท ฯ
      4.ใบกำกับภาษี (ถ้ามีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
 
การรับชำระ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และ ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการค้า
  การรับชำระเงิน
1.
ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย (ที่ออกโดยฝ่ายรายได้)
    1.1  ผู้ชำระเงินค่าภาษีดำเนินการติดต่อฝ่ายรายได้ก่อนเพื่อประเมินคำนวณภาษี ฝ่ายรายได้จะออกใบนำชำระเงินค่าภาษี
    1.2  ผู้ชำระค่าภาษีนำใบชำระภาษีจากฝ่ายรายได้มาชำระที่ ฝ่ายการคลัง หรือจุด One StopService
    1.3  สามารถชำระที่สำนักงานเขตใดก็ได้ หรือชำระตามช่องทางการชำระเงิน
 
2.
ค่าธรรมเนียม(ที่ออกโดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯ ) ผู้ชำระเงินค่าธรรมเนียมต้องติดต่อฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลของสำนักงานเขต เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบและคำนวณค่าธรรมเนียมใบนำชำระเงินค่าธรรมเนียม ผู้ชำระค่าธรรมเนียมจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่สำนักงานเขตซึ่งได้แก่
    2.1  ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
    2.2  ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
    2.3  ใบอนุญาตสถานที่แต่งผม
    2.4  ใบอนุญาตผู้รับจ้างแต่งผม
    2.5  ใบอนุญาตการทำน้ำแข็งเพื่อการค้า
    2.6  ใบอนุญาตตลาดเอกชน
 
3.
ช่องทางการชำระเงิน
    3.1 สำนักงานเขต 50 เขต ยกเว้นค่าธรรมเนียม 10 บาท
    3.2 กองการเงิน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
    3.3 ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อรายการ
    3.4 เครื่องธนาคารกรุงไทย ATM/ADM
    3.5 ทางเว็ปไซต์ KTB Online หรือ KTB Corporate Online
 
  การรับประกันซองประมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์)
        เมื่อมีการประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซื้อหรือจ้าง ผู้เสนอราคาจะต้องนำหลักประกันซองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
                1. เงินสด
                2. เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้ในเช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานครหรือก่อนวันนั้น ไม่เกิน 3 วัน ทำการ ( ไม่รับเช็คลงวนที่ล่วงหน้า)
                3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศที่กรุงเทพมหานครเชื่อถือตามแบบของกรุงเทพมหานคร
                4. พันธบัตรรัฐบาลไทย
                5. หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการกิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยตามราบชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งงประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆทราบแล้วโดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุกำหนดทั้งนี้ให้กำหนดจำนวนเต็มในอัตราร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างในคราวนั้น สถานที่ติดต่อ ตามกำหนดไว้ในประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

                  1. ขั้นตอนในการติดต่อยื่นวางเงินค่าประกันซองประกวดราคา
                           1. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำหลักประกันซองอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวข้างต้นมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ตามวันและเวลากำหนด
                           2. เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินประกันซองประกวดราคา ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เพื่อน าไปยื่นซองประกวดราคา
                           3. เมื่อสิ้นสุดเวลาตามที่ประกาศแจ้งความประกวดราคา เจ้าหน้าที่จะรวบรวม หลักฐานและรายงานถึงจำนวนที่มีผู้มายื่นซองประกวดราคาให้หน่วยงานที่ ดำเนินการประกวดราคาซื้อหรือจ้างทราบ
                  2. การถอนเงินประกันซองประกวดราคา(ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม)
                        หลักเกณฑ์
                           1. เมื่อทราบผลการประมูลในวันเปิดซองว่าประมูลไม่ได้ก็ขอถอนได้ โดยทำเรื่องแจ้งมาที่เขตเพื่อยื่นความจ านงขอถอนเงินได้ กรณีผลการประกวดราคาแล้วและมิได้เป็นรายที่ต้องยึดไว้พิจารณา 3 ราย
                           2. ส าหรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณา จะคืนให้หลังวันเซ็นสัญญา คือเมื่อผู้ มีอำนาจซื้อหรือสั่งจ้างได้มีค าสั่งเด็ดขาดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เข้าประกวดราคารายใดแล้วเรียกให้ผู้เข้าประกวดราคารายนั้นมาเซ็นสัญญาสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว
                           หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                   1. ผู้เป็นเจ้าของกิจการมารับด้วยตนเองพร้อมบัตรประชาชนตัวจริงมาแสดง
                                   2.กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง ให้มอบหมายบุคคลอื่นมาแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่ามอบให้ใครมารับเงิน เป็นค่าอะไรจำนวนเท่าไรและต้องมีพยาน 2 คนเซ็นเป็นพยานด้วย พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว
ของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจ าตัวของผู้รับมอบ พร้อมรับรองส าเนาถูกต้อง
                                   3.เอกสารที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้เป็นหลักฐานในการรับเงินประกันซอง
                           สถานที่ติดต่อหน่วยงานที่ได้ยื่นหลักประกันซองไว้ เช่น ยื่นไว้ที่ฝ่ายโยธา ก็ให้ติดต่อขอถอนเงินประกัน ซองจากฝ่ายโยธาเป็นต้น

                           ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนเงินประกันซองประกวดราคา
                                   1. เมื่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาแล้ว ผู้ที่ได้รับการพิจารณาซื้อหรือจ้างสามารถถอนเงินประกันซองจากคณะกรรมการเปิดซองได้ โดยยื่นหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าว
                                   2. กรณีที่คณะกรรมการเปิดซองเห็นว่าควรให้ยึดไว้เพื่อรอการอนุมัติให้ผู้ขายกำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้อนุมัติการคืนเงินประกันซองแล้ว หน่วยงานก็จะแจ้งให้มารับคืนเงินประกันซองได้ต่อไป
                                   3. สำหรับรายที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ซื้อหรือจ้างให้ท าหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซองพร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อได้ทำสัญญาเรียบร้อยแล้วจะคืนเงินประกันซองให้ต่อไป 3. การรับหลักประกันสัญญา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

                           หลักเกณฑ์ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ซื้อหรือจ้างเมื่อได้รับแจ้งให้มาทำสัญญา ต้องยื่นหลักประกัน สัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                                   1. เงินสด
                                   2. เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้น ชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ
                                   3. หนังสือค้ าประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบที่ก าหนด
                                   4. พันธบัตรรัฐบาลไทยเป็นจ านวนเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาพัสดุที่ตกลงชื้อหรือจ้างกับหน่วยงานที่ดำเนินการซื้อหรือจ้าง
                                     หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                   1. ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องมาลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง หากไม่สามารถมาได้ต้องมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องทำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
                                   2. บัตรประจ าตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ และบัตรประจ าตัวของผู้รับมอบ (กรณีเจ้าของกิจการมิได้มาด้วยตนเอง)
                                   3. บัตรประจ าตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ (กรณีมาด้วยตนเอง)
                                   4. ตรายางบริษัท ห้าง ร้าน
                                   5. เงินประกันสัญญาตามที่จำนวนที่กำาหนด สถานที่ติดต่อตามหนังสือของหน่วยงานที่แจ้งไป เช่น ฝ่ายโยธา ได้มีหนังสือแจ้งให้นำหลักฐานมาทำสัญญาก็ให้นำหลักประกันสัญญามาติดต่อทำสัญญากับฝ่ายโยธาของสำนักงานเขตนั้น
                           ขั้นตอนในการติดต่อยื่นหลักประกันสัญญา
                                   1. ผู้ได้รับการพิจารณาซื้อหรือจ้างให้มายังสถานที่ทำสัญญาตามที่กำหนดพร้อมหลักฐาน
                                   2. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบรายละเอียดว่ามีหลักฐานครบถ้วนหรือไม่
                                   3. กรณีที่นำเงินสดหรือเช็คมาค้ าประกันสัญญา เจ้าหน้าที่การเงินจะออกใบเสร็จรับเงิน ให้ไว้เป็นหลักฐาน
                                   4. การถอนเงินประกันซองสัญญาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

                             หลักเกณฑ์หลังจากวันที่ส่งของหรือส่งมองานถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จะพ้นภาระผูกพัน ตามสัญญา ผู้ยื่นหลักประกันสัญญาสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                   1. หนังสือของบริษัท ห้าง ร้าน ถึงหน่วยงานที่ซื้อ หรือจ้างแจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
                                   2. กรณีที่หลักประกันสัญญาเป็นเงินสด ต้องแนบใบเสร็จรับเงินต้นฉบับที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้ในวันที่มาทำสัญญาด้วย สถานที่ติดต่อหน่วยงานที่ได้ติดต่อทำสัญญาไว้
                          ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนหลักประกันสัญญา
                                   1. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำหลักฐานมาติดต่อกับหน่วยงานที่ทำสัญญา
                                   2. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสด เช็ค เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเห็นว่าถูกต้องแล้วจะดำเนินการตามขั้นตอนจนได้รับอนุมัติ จึงแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับแจ้งมารับคืนเงินต่อไป
                                   3. กรณีหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้าประกันสัญญา หน่วยงานจะทำหนังสือแจ้งต่อธนาคารผู้ออกหนังสือค้าประกันว่าพ้นภาระผูกพันในการค้าประกันสัญญาในเรื่องดังกล่าว แล้วมอบให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างต่อไป
                                   4. การรับเงิน
                             หลักเกณฑ์ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานครให้ โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังส านักงานเขต ส่วนงบประมาณ สส. ผู้ขาย หรือผู้รับจ้าง
ติดต่อรับเงินที่กองระบบการคลัง สำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานคร หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                   1. บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการตัวจริง พร้อมถ่ายเอกสารรับรองสำเนา 1 ชุด
                                   2. กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง ให้มอบหมายบุคคลอื่นมาแทนโดยทำ หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่ามอบให้ใครมารับเงิน เป็นค่าอะไร จำนวน เท่าไร และต้องมีพยาน 2 คนเซ็นเป็นพยานด้วย พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว
ของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
                                   3. ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้า หรือค่าจ้าง ค่าธรรมเนียม ผู้ขายสินค้าหรือรับจ้างท างานให้กับส านักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังนี้
                                                                      - นิติบุคคลตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
                                                                      - ร้านค้า, บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 10.000 บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
                                   สถานที่ติดต่อ ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตที่ทำสัญญา
                          ขั้นตอนในการติดต่อขอรับเงิน
                                   1. ผู้มารับเงินนำหลักฐานมาติดต่อ
                                   2. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ เห็นว่าถูกต้องครบถ้วยจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จแล้วมอบเช็คเงินสดค่าสินค้าหรือค่าจ้างที่หักภาษีแล้ว แก่ผู้มารับ
เงินต่อไป บทกำหนดโทษ
                                            1. ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าให้กับนำนักงานเขตส่งมอบสินค้าไม่ทันกำหนดตามใบสั่งซื้อหรือสัญญาซื้อจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ0.01- 0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ แต่ถ้าเป็นการซื้อโดยวิธีพิเศษจะคิดค่าปรับ
เป็น 2 เท่าของราคาปกติ
                                            2. ในกรณีที่ผู้รับจ้างท างานให้สำนักงานเขตไม่แล้วเสร็จตามใบสั่งจ้าง หรือสัญญา จ้าง จะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันเป็นจ านวนเงินตายตัวในอัตราระหว่าง ร้อยละ 0.01-0.25 ของราคาจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาท นับแต่วันสิ้นสุด
ของสัญญาจนถึงวันส่งมอบ แต่ถ้าเป็นการจ้างโดยวิธีพิเศษจะคิดค่าปรับเป็น 2 เท่า ของราคาปกติ

                       การรับชำระเงิน
                                   1. ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย ผู้ชำระเงินค่าภาษีต้องติดต่อที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ ตรวจสอบคำนวณภาษี และเขียนใบนำชำระเงินค่าภาษี ผู้ชำระเงินค่าภาษีจะต้องนำมา
ยื่นพร้อมชำระเงินที่ฝ่าย การคลัง สำนักงานเขต
                                   2. ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้แก่
                                       - ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
                                       - ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
                                       - ใบอนุญาตสถานที่แต่งผม
                                       - ใบอนุญาตผู้รับจ้างแต่งผม
                                       - ใบอนุญาตการท าน้ำแข็งเพื่อการค้า
                                       - ใบอนุญาตตลาดเอกชน
ผู้ชำระเงินค่าธรรมเนียมต้องติดต่อที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตเพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดลอมและสุขาภิบาลตรวจสอบคำนวณค่าธรรมเนียมและ เขียนใบน าชำระเงินค่าธรรมเนียม ผู้ชำระค่าธรรมเนียมจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต