ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน เช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐเป็นต้น ตลอดจนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีใดมีหน้าที่เสียภาษีบำรุง-ท้องที่ สำหรับ ปีนั้น ๆ
2. อัตราภาษี
อัตราภาษี คือ ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ ที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าเจ้าของที่
ประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดินให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า
3. เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ
กรณีที่ดินรายใหม่ หรือปีที่มีการตีราคาปานกลาง ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบเสียภาษีภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินหรือทุกรอบระยะเวลา 4 ปี หรือภายใน 30 วัน กรณีที่ได้กรรมสิทธิ์ ใหม่หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่
โดยยื่นแบบ ภ.บ.ท. 5 พร้อมสำเนาหลักฐานประกอบพิจารณาได้แก่
- โฉนดที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / บัตรประจำตัว ผู้เสียภาษี
- กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
กรณีที่ดินรายเก่า ให้เจ้าของที่ดินชำระเงินค่าภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี และเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อ โปรดนำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้ายมาแสดงด้วย
4. การชำระภาษี
(1) ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน ให้ยื่นหลักฐานการแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท. 9) พร้อมชำระเงินภายในเดือนเมษายน กรณีได้รับแจ้งการประเมินหลังเดือนมีนาคมให้ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
(2) ปีต่อๆ มา ให้ชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยชำระภาษีได้ทุกสำนักงานเขต หรือที่กองการเงิน สำนักการคลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
5. มาขอรับแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่ได้ที่สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร
หรือดาวน์โหลดแบบภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5)ได้ที่นี่