ฝ่ายเทศกิจ

  การให้บริการของฝ่ายเทศกิจ  
          มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป งานเกี่ยวกับคดี และการประสานงานกับเจ้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

การให้บริการประเภทต่างๆ
การชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีความผิดปกติทั่วไป
การยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ค้า

เอกสารประกอบ การชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีความผิดปกติทั่วไป
- บัตรประจำตัว หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
- หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของกลางที่ถูกยึด (ถ้ามีการยึดของกลาง)
- เงินสดค่าเปรียบเทียบปรับ

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ค้า
- บัตรประจำตัวผู้ค้าฉบับเดิมต้องนำไปคืนเจ้าหน้าที่ (กรณีต่ออายุบัตร)
- บัตรประจำตัว หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีขอมีบัตรใหม่)

หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดระเบียบหาบเร่ - แผงลอย
        1. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับจุดผ่อนผันในการจําหน่ายสินค้าและอาหารในที่และทางสาธารณะ
บริเวณที่อนุญาตให้ทําการค้า ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และให้ถือ
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                1.1 บริเวณที่จะอนุญาตให้ทำการค้าได้ ให้ติดตั้งป้ายกําหนดขอบเขตและเวลาที่อนุญาต
ให้ชัดเจน
                1.2 ขนาดของแผงกว้างไม่เกิน 1 เมตร ยาวไม่เกิน 1.5 เมตร สูงไม่เกิน 1.5 เมตร โดย
                        - ให้จําหน่ายสินค้าโดยตั้งวางบนแผง ห้ามวางแบไว้บนพื้น
                        - สําหรับผู้ประกอบอาหาร ปรุง หุง ต้ม ตั้งวางโต๊ะบริการลูกค้าซึ่งในเวลา
กลางวันไม่อนุญาตให้ตั้งวางโดยเด็ดขาด ส่วนเวลากลางคืนอนุญาตให้ตั้งวางได้โต๊ะ 4 ตัว เก้าอี้ 24 ตัว
                1.3 กําหนดเครื่องหมายหรือการขีดสีเส้น บริเวณทางเท้าเป็นการแบ่งพื้นที่เฉลี่ยให้
เกิดความเสมอภาคแก่ผู้ค้าแต่ละราย กําหนดพื้นที่กว้างไม่เกิน 1 เมตร ยาวไม่เกิน 1.5 เมตร และให้เว้น
ที่บนทางเท้าเป็นช่องทางเดินช่องทางเข้า - ออก มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ให้ประชาชนสัญจรได้ สะดวก
                1.4 ให้หยุดประกอบการค้าในวันจันทร์เว้นจันทร์หรือวันอื่น ๆ ที่ทางราชการกําหนดโดยผู้ค้าจะต้อง
มาทําความสะอาดบริเวณที่ค้าขายด้วยตนเอง
                1.5 ต้องจัดทําทะเบียนผู้ค้า บัตรประจําตัวผู้ค้า
                1.6 ผู้ประกอบการค้าต้องแต่งกายสุภาพและมีมารยาทในการขาย
                1.7 ห้ามตั้งแผง ส่วนหนึ่งส่วนใดของแผง ร่มหรือผ้าใบบังแดดล้ำ มาบนผิวการจราจรรวมตลอดถึงตัวผู้ค้าด้วย
                1.8 ให้รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย บริเวณที่ทำการค้าใน
ระหว่างทําการค้า และหลังจากเลิกทําการค้าแล้ว พร้อมทั้งต้องจัดหาภาชนะรองรับขยะไว้ด้วย
                1.9 เมื่อเลิกประกอบการค้าแล้วต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งใช้ในการตั้งวางออกจาก
บริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า ห้ามตั้งวางหรือล่ามโซ่ทิ้งไว้ในบริเวณที่อนุญาตโดยเด็ดขาด
                1.10 บริเวณคอกต้นไม้ ห้ามตั้งวางแผงค้า เตาของหนักทับต้นไม้โดยเด็ดขาดรวมตลอดถึง
การตอกตะปู ผูกเชือก กางเต็นท์ หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับต้นไม้
                1.11 ห้ามใช้ต้นไม้หรือคอกต้นไม้เป็นที่พาด ติดตั้ง เกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าปลั๊กไฟฟ้า โดยเด็ดขาด
                1.12 ห้ามนํารถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไปจอดบนทางเท้าเพื่อจําหน่ายจ่ายแจกสินค้า
ทุกประเภทโดยเด็ดขาด
                1.13 การประกอบการค้าโดยใช้เครื่องขยายเสียง หรือการจําหน่ายสินค้าประเภททอด ย่าง หรือปิ้ง จะเกิดกลิ่นและควัน ควรจํากัดบริเวณหรือป้องกันมิให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ ผู้อื่น และห้ามใช้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีเสียงดัง
                1.14 ผู้ค้าประเภทประกอบปรุง หุง ต้ม ห้ามมิให้จําหนายเกินเวลา 02.00 น.
                1.15 ผู้ค้าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
                1.16 หลักเกณฑ์ข้อใดที่ไม่อาจปฏิบัติตามได้ เพราะมีข้อจำกัดให้สํานักงานเขตนําเสนอ คณะกรรมการจัดระเบียบ หาบเร่-แผงลอย เพื่อพิจารณามาตรการบังคับ เจ้าหน้าที่เทศกิจซึ่งต้องรับผิดชอบในการตรวจตราเป็นประจำ ถ้าพบผู้ค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามข้อหนึ่งข้อใด
                        - ครั้งแรก ให้ตักเตือน
                        - ครั้งที่สอง ให้สั่งพักหยุดทําการ 3 วัน
                        - ครั้งที่สาม ให้สั่งพักหยุดทำการ 7 วัน
                        - ครั้งที่สี่ เป็นครั้งสุดท้ายให้สั่งยกเลิกการอนุญาต
เมื่อสํานักงานเขต หรือสํานกงานเขตสาขา ลงโทษผู้ค้ารายหนึ่งรายใดใหแจ้งสํานักเทศกจทราบ และให้สํานักเทศกิจตรวจสอบ ตลอดจนดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการบังคับที่กําหนดแล้วรายงานให้ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทราบทุกครั้ง
        2. แนวทางและวิธีการในการจัดระเบียบการค้าประเภทหาบเร่-แผงลอย ในที่และทางสาธารณะ จะต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ประกอบกับ นโยบายของผู้บริหาร ดังนี้
                2.1 บริเวณที่ไม่อนุญาตให้ทำการค้า คือ
                        ก. บริเวณจุดกวดขันพิเศษ จุดห้ามจําหน่ายสินค้าโดยเด็ดขาด ได้แก่
                                1. ป้ายรถประจําทางและศาลาพักคนโดยสาร ต้องเว้นระยะก่อนถึงป้าย หรือศาลาฯอย่างน้อย 10 เมตร และเลยป้ายหรือศาลาฯไปอย่างน้อย 10 เมตร รวมทั้งบริเวณหลังป้ายหรือศาลาฯ แต่ในกรณีเขตใด เว้นระยะไว้ เกิน 10 เมตร ตามที่เคยรายงานก็ให้คงระยะเดิมไว้
                                2. สะพานลอยคนข้ามถนน ทางขึ้น - ลง และใต้สะพานลอย รวมทั้งช่วง ทางจากทางขึ้น - ลง อย่างน้อย 5 เมตร
                                3. ใต้สะพานลอยรถข้าม
                                4. ทางเท้าแคบ ซึ่งกว้างไม่ถึง 2 เมตร
                                5. สถานที่สําคัญ หรือสถานที่ราชการ
                                6. บริเวณทางขึ้น - ลง ทางคนเดินข้าม (ทางม้าลาย)
                                7. บนผิวการจราจร
                                8. การค้าอาหารประเภทประกอบปรุง หุง ต้ม ในระยะน้อยกว่า 10 เมตร จากสถานที่จําหน่ายหรือเก็บเชื้อเพลิง (ปั๊มน้ำมันและร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม)
                                9. บริเวณที่กําหนดข้อใดที่สํานักงานเขตดําเนินการไม่ได้ ให้นำเสนอ คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่ - แผงลอย เพื่อพิจารณา
                ข. บริเวณจุดกวดขันทั่วไป คือบริเวณห้ามจําหน่ายสินค้า ได้แก่
                        1. นอกจากบริเวณกวนขันพิเศษตามข้อ ก.
                        2. นอกจากบริเวณที่อนุญาตให้ทำการค้า
                2.2 บริเวณที่อนุญาตให้ทําการค้า คือ จุดผ่อนผันที่กรุงเทพมหานครกําหนดขึ้นด้วย
ความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร โดยจะต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ
เงื่อนไขมาบังคับ