ภารกิจหน้าที่
ภารกิจหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล)การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ(one stop service) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย สำนักงานเขตตลิ่งชัน
ฝ่ายทะเบียน (Registeration Section) |
ฝ่ายทะเบียน มีกลุ่มงานที่ให้บริการประชาชนเกี่ยวกับทะเบียน 3 กลุ่มงาน ดังนี้ การติดต่อกลุ่มงานทะเบียนราษฎร กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน (หนังสือมอบหมาย) 2. กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน |
1. กลุ่มงานทะเบียนราษฎร |
@ การขอเลขหมายประจำบ้าน @ การขอจำหน่ายบ้าน @ การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน @ การขอจัดทำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกรณี ชำรุด / สูญหาย / ถูกทำลาย @ การแจ้งการเกิด @ การแจ้งการตาย @ การแจ้งย้ายออก @ การแจ้งย้ายเข้า @ การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน @ การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง (เฉพาะกรณีมีหลักฐาน) @ การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง @ การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีตาย (มีหลักฐาน) @ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎรโดยมีหลักฐานเอกสารราชการมาแสดง @ การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร |
2. กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน |
@ การขอมีบัตรครั้งแรกอายุ 7 ปีบริบูรณ์ @ การขอมีบัตรครั้งแรก เกินกำหนด @ การขอมีบัตรกรณีบัตรหาย @ การขอมีบัตรกรณีขอเปลี่ยนบัตร |
3. กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป |
@ การจดทะเบียนสมรส เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย - คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ ( ชายหรือหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ) ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฏหมาย - ใบหย่า หรือใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิม กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเคยสมรส หรือเคยหย่า - ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี ) - การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต้องมีหนังสือรับรองจากสถานทูตหรือกงสุลของผู้ร้องในประเทศไทยหรือจากองค์การที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย และแปลข้อความเป็นภาษาไทยโดยกระทรวงต่างประเทศเป็นผู้รับรองความถูกต้อง - พยานบุคคล 2 คน - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การจดทะเบียนหย่า เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย - ใบสำคัญการสมรส - ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี ) - ฝ่ายหญิงต้องทำการแก้ไขคำนำหน้านามจาก นางสาว เป็น นาง ในทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้ว - พยานบุคคล 2 คน - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การจดทะเบียนรับรองบุตร เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา บุตร (กรณีอายุเกิน 7 ปี) และทะเบียนบ้าน - สูติบัตรของบุตร พร้อมทะเบียนบ้านของบุตร - มารดาและบุตรต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง - คำพิพากษาของศาล พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ( ตามแต่กรณี ) - พยานบุคคล 2 คน - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน - เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกซึ่งเป็นต้นฉบับพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองความถูกต้องโดยกระทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสาร - พยานบุคคล 2 คน - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน - บัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมใบสำคัญการสมรส - หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จากสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก - พยานบุคคล 2 คน ( ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ) - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน - หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม - กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองไปให้ความยินยอมด้วย - พยานบุคคล 2 คน - คำร้องตามแบบ คร.1 @ การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส - ค่าธรรมเนียม 50 บาท @ การขอตั้งชื่อสกุล เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส - กรณีหญิงหม้าย ให้แนบใบสำคัญการหย่า - ค่าธรรมเนียม 100 บาท @ การขอร่วมชื่อสกุล เอกสารประกอบ กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่ต่างเขตกับเจ้าของชื่อสกุล - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส - หนังสืออนุญาตให้ร่วมชื่อสกุล กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่เขตเดียวกันกับเจ้าของชื่อสกุล - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอร่วมชื่อสกุล และเจ้าของชื่อสกุล พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - ใบสำคัญตั้งชื่อสกุล ( แบบ ช.2 ) - คำขออนุญาตร่วมชื่อสกุล ( แบบ ช.5 ) - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส - ค่าธรรมเนียม 100 บาท @ การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - สูติบัตรของผู้ขอ ( ฉบับจริง ) - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส พร้อมหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง - กรณีหย่าให้แนบบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด - เอกสารทางทะเบียนที่แสดงชื่อสกุลเดิมของบิดาหรือมารดาที่จะขอใช้ - คำร้องแบบ ช.1 @ การขอออกใบแทนเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน - กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส - หลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย - ค่าธรรมเนียม 25 บาท - คำร้องแบบ ช.1 @ การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป เอกสารประกอบ - กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง - กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำร้อง เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา - หากมีการมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้เรียกบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติม, คำร้องแบบคำขอเกี่ยวกับงานทะเบียนทั่วไป |