ภารกิจหน้าที่

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุมดูแลการจัดจำหน่ายในที่หรือสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างหรือขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง
ผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย 
            

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (Environment and Sanitation Section)

  การขออนุญาตการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
       1. การขออนุญาตสถานที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     2. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
     3. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
     4. การขออนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ

กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน  หลักฐานที่นำมาแสดง
     1. หนังสือมอบอำนาจ (ต้องติดอากรแสตมป์)
     2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
     3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
     4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
     5. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

กรณีเป็นนิติบุคคล  หลักฐานที่นำมาแสดง
     1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
     2. รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตรา และลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจบนเอกสารทุกฉบับ
     3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล

   
  อัตราค่าธรรมเนียม
 
1. การขออนุญาตสถานที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

     1.1 กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
     1.2 กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
     1.3 กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
     1.4 กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาจ ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
     1.5 กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
     1.6 กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
     1.7 กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
     1.8 กิจการที่เกี่ยวกับไม้
     1.9 กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
     1.10 กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
     1.11 กิจการเกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
     1.12 กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลี่ยม ถ่านหิน สารเคมี
     1.13 กิจการอื่น ๆ

หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณาคำขออนุญาต: แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

     1.1 กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
          1. การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
          2. การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม
          3. การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน  เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม

 

     1.2 กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
          1. การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อ บริโภคในครัวเรือน
          2. การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก
          3. การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
          4. การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
          5. การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด
          6. การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์หนังสัตว์ ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
          7. การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์
          8. การสะสมหรือการล้างครั่ง

     1.3 กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
          1. การผลิตเนย เนยเทียม
          2. การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว  ซีอิ้ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          3. การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          4. การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          5. การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          6. การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          7. การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
          8. การผลิตแบะแซ
          9. การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
          10. การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
          11. การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          12. การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่างๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          13. การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
          14. การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว
          15. การผลิต การแบ่งบรรจุเอททิลแอลกอฮอล์ เบียร์ น้ำส้มสายชู
          16. การคั่วกาแฟ
          17. การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
          18. การผลิตผงชูรส
          19. การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
          20. การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          21 การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
          22. การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
          23. การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
          24. การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
          25. การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
          26. การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป

     1.4 กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาจ ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
          1. การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
          2. การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
          3. การผลิตลำสี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
          4. การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
          5. การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่างๆ

     1.5 กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
          1. การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
          2. การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
          3. การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
          4. การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
          5. การผลิตยาสูบ
          6. การขัด การกระเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
          7. การผลิต การสะสมปุ๋ย
          8. การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้างคลึงด้วยเครื่องจักร
          9. การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง

     1.6 กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
          1. การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่างๆ
          2. การหลอม การหล่อ การถลุง แร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (1)
          3. การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (1)
          4. การเคลือบ การซุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมี่ยม นิเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (1)
          5. การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (1)
          6. การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่  

     1.7 กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
          1. การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
          2. การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
          3. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย
          4. การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
          5. การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
          6. การปะ การเชื่อมย่าง
          7. การอัดผ้าเบรค ผ้าครัช

     1.8 กิจการที่เกี่ยวกับไม้
          1. การผลิตไม้ขีดไฟ
          2. การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
          3. การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
          4. การอบไม้
          5. การผลิตธูป ด้วยเครื่องจักร
          6. การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
          7. การผลิตกระดาษต่าง ๆ
          8. การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน

     1.9 กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
          1. การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
          2. การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
          3. การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
          4. การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
          5. การประกอบกิจการโรงมหรสพ
          6. การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
          7. การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
          8. การจัดให้มีการเล่นสเก็ตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆในทำนองเดียวกัน
          9. การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
          10. การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
          11. การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
          12. การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
          13. การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

     1.10 กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
          1. การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ 5 กี่ขึ้นไป
          2. การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น
          3. การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
          4. การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
          5. การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป
          6. การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ
          7. การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
          8. การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ

     1.11 กิจการเกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          1. การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
          2. การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
          3. การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          4. การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          5. การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          6. การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
          7. การผลิตชอล์ค ปูนปาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
          8. การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรค ผ้าคลัช กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
          9. การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
          10. การผลิตกระดาษทราย
          11. การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว

     1.12 กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลี่ยม ถ่านหิน สารเคมี
          1. การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดส์ หรือสารตัวทำละลาย
          2. การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
          3. การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลี่ยมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมต่าง ๆ
          4. การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
          5. การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน 1.7(1)
          6. การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอย์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          7. การโม่ การบดชัน
          8. การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
          9. การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนต์
          10. การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          11. การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          12. การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
          13. การผลิตน้ำแข็งแห้ง
          14. การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
          15. การผลิตแซลแล็คหรือสารเคลือบเงา
          16. การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพานะนำโรค
          17. การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว

     1.13 กิจการอื่นๆ
          1. การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
          2. การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ไฟฟ้า
          3. การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
          4. การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร
          5. การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
          6. การประกอบกิจการโกดังสินค้า
          7. การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
          8. การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ

     1.14 หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณาคำขออนุญาต
          1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ (ผู้ประกอบการ / ผู้ถือใบอนุญาต)
          2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ
          3. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
          4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล)
          5. หลักฐานแสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
          6. หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ)
          7. หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง)
          8. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
          9. อื่น ๆ (ระบุ)

 
 
 
2. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
     ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณา
          1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้แจ้ง
          2. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
          3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งเป็นนิติบุคคล)
          4. หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง)
          5. แผนที่สังเขป แสดงสถานที่ตั้งสถานประกอบการ
          6. อื่น ๆ (ระบุ)
 
3. การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง
     หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณา
          1. สำเนาบัตรประชาชน
          2. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีที่จัดขายสถานที่ที่มิใช่บ้านของตนเอง)
          3. หนังสือรับรองบริษัท (ในกรณีที่ขอในนามบริษัท)
          4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่ได้มาขอด้วยตนเอง
          5. สำเนาบัตรชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
 

4. การขออนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (เฉพาะผู้มีรายชื่อให้มีสิทธิ์ทำการค้าในที่หรือทางสาธารณะเท่านั้น)
     หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณา
          1. รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ที่ถ่ายไว้ไม่เกินหกสิบวันของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า จำนวนคนละ 3 รูป
          2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า
          3. ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า ตามแบบ สณ.11(มารับที่สำนักงานเขต)
          4. วุฒิบัตรแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารที่กรุงเทพมหานครรับรอง (กรณีจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร)
          5. แผนที่สังเขป แสดงสถานที่ตั้งจำหน่ายสินค้า
          6. อื่น ๆ (ระบุ)