มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุน และจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราวการส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัยการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุม ดูแลการดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุดบ้านหนังสือ ศูนย์กีฬา และลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสนับสนุนและประสานการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชา การเกษตร และสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

            การขอจัดตั้งชุมชน ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร

            จำนวนบ้านที่ประชาชนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกันจำนวนไม่น้อยกว่า 100 หลัง มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมกันจัดทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนของตน และประสงค์จะจัดตั้งชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครให้คัดเลือกตัวแทนชุมชนเพื่อทำหน้าที่ประสานงานขอจัดตั้งชุมชน โดยจัดทำเป็นหนังสือขอจัดตั้งชุมชน พร้อมแสดงเหตุผล จากตัวแทนชุมชน ถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่ โดยแนบหลักฐานประกอบการพิจารณาดังนี้

            เอกสารประกอบ

        1. ภาพถ่ายสภาพชุมชน
        2. แบบสำรวจข้อมูลชุมชน
        3. ข้อมูลชุมชน
        4. ที่ตั้ง แผนที่แสดงขอบเขตของชุมชน และผังแสดงที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างและบริเวณข้างเคียงของชุมชน
        5. เจ้าบ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนบ้านในชุมชนนั้น ลงนามยินยอมขอจัดตั้ง
        6. กรณีที่ดินเป็นของเอกชน หรือเช่า หรืออย่างอื่น ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

        การขอเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

        1. หลักเกณฑ์
        1.1 อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
        1.2 เป็นผู้มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตสาทร
        1.3 ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิเช่นผู้รับเงินบำนาญ ผู้รับเงินยังชีพตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยหรือกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือภิกษุสงฆ์ที่ได้รับเงินนิติยะภัต ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนรายได้ประจำหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รัฐจัดให้ ยกเว้นคนพิการ และผู้ป่วยโรคเอดส์

        2. หลักฐานการจดทะเบียน
        2.1 ทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนา
        2.2 บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
        2.3 สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา (ในกรณีผู้สูงอายุขอรับเงินผ่านธนาคาร)

        3. วิธีการจ่ายเงิน
        จ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชี เป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะประกาศวัน เวลาในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในวันที่ 1-30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการจำนวนเงินเป็นไปตามขั้นบันไดดังนี้

        อายุ 60-69 ปี         จะได้รับ 600 บาท
        อายุ 70-79 ปี         จะได้รับ 700 บาท
        อายุ 80-89 ปี         จะได้รับ 800 บาท
        อายุ 90 ปี ขึ้นไป     จะได้รับ 1,000 บาท

        การขอรับเงินเบี้ยความพิการ

        คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยคนพิการ

        1. มีสัญชาติไทย
        2. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
        3. มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ตามสำเนาทะเบียนบ้าน
        4. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือสถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ หรือถูกขังในเรือนจำตามหมายจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย

        คนพิการซึ่งได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือระเบียบอื่น ไม่เป็นการตัดสิทธิที่คนพิการจะได้รับตามระเบียบนี้

        หลักฐานประกอบการจดทะเบียน

        1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ในกรณีเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมสำเนา
        2. ทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนา (ใช้สำหรับทำบัตรคนพิการ)
        3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา (ในกรณีผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการขอรับเงินผ่านธนาคาร)

        ขั้นตอนการปฏิบัติของคนพิการ

        1. ผู้ยื่นคำขอหมายถึง “คนพิการ” (คุณสมบัติตามที่กำหนด)
            1.1 ยื่นคำขอด้วยตนเอง
            1.2 ผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ยื่นคำขอฯ แทน
        2. กรอกในคำขอฯ ตามแบบที่กำหนด และยื่นคำขอต่อ “สำนักงานเขต”ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
        3. ผู้พิการต้องนำหลักฐานประกอบการจดทะเบียนตามที่กำหนดเพื่อแสดงตนขอรับสิทธิ
        4. การแจ้งความจำนงขอรับเงินเบี้ยคนพิการ ประกอบด้วย
            4.1 รับเงินสดด้วยตนเอง
            4.2 รับเงินสดโดยบุคคลที่เป็นผู้ดูแลคนพิการ
            4.3 โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของคนพิการ
            4.4 โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามของผู้ดูแลคนพิการ

           การจดทะเบียนแทน

        หากคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนได้ด้วยตนเองเนื่องจากมีสภาพความพิการมาก มีความลำบากในการเดินทาง เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความ
สามารถให้มีผู้อื่นมาจดทะเบียนแทน ทั้งนี้ผู้จดทะเบียนแทนต้องนำเอกสารมาด้วย ดังนี้

        1. เอกสารหลักฐานของคนพิการ
        2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง
        3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมต้นฉบับตัวจริง
        4. ใบมอบอำนาจจากคนพิการหรือหนังสือรับรองจากทางราชการ
        5. คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือการจัดตั้งผู้ปกครอง กรณีผู้เูยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง

        การจ่ายเงินสนับสนุนการจัดการสงเคราะห์ในการจัดการศพ

        ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนนุ การสงเคราะห์
ในการจัดการศพตามประเพณี พ.ศ.2553 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

        1. ผู้สูงอายุที่ตายจะต้องมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย

        2. ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพต้องยื่นคำขอภายในกำหนด30 วัน นับแต่วันออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสาร ดังนี้

            2.1 ใบมรณบัตรผู้สูงอายุ พร้อมสำเนา

            2.2 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ พร้อมสำเนา

            2.3 หนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณี ซึ่งรับรองโดยบุคคลที่มีอายุเกินกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย ที่รู้เห็น
การจัดการศพผู้สูงอายุรายนี้

            2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง