ฝ่ายปกครอง
Administration Section
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนมัสยิด ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม งานสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย | |
การรับรองต่างๆ
1. รับรองสถานภาพการสมรส
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- แบบคำร้องขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- กรณีที่เคยจะทะเบียนสมรสมาแล้วต้องนำหลักฐานใบสำคัญการหย่ามาด้วย
- หนังสือมอบอำนาจผ่านสถานทูต (กรณีผู้มอบอำนาจอยู่ต่างประเทศ)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน ฯลฯ
2. รับรองลายมือชื่อให้ความยินยอมบุตรเดินทางไปต่างประเทศ
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ให้ความยินยอม (บิดา, มารดา)
- ใบสำคัญการสมรส
- ทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบัตรประจำตัวประชาชนให้นำมาด้วย)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
3. รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ (กรณีนำโฉนดประกันตัวผู้ต้องหา)
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- หลักฐานกรรมสิทธิ์ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. 3 เป็นต้น
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
4. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ค้ำและผู้กู้ยืม
- หนังสือขอความอนุเคราะห์ลงนามค้ำประกันใบสัญญาจากสถานศึกษา
- ใบสำคัญการสมรสของผู้ค้ำ (ถ้ามี)
5. รับรองการมีชีวิต
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- ผู้ร้องตนองยื่นคำร้องด้วยตัวเอง
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
6. รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- เอกสารทางราชการที่ออกให้ซึ่งมีรายการผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงและไม่สามารถแก้ไขได้โดยยึดหลักฐานทางทะเบียนราษฎรเป็นหลัก
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
- เอกสารที่ทางราชการออกให้ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น
7. รับรองความประพฤติ
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- กรณีรับรองการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้นำใบอนุโมทนาบัตรมาด้วย
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
8. รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตร
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- เอกสารคำแปลใบเสร็จรับเงินจากธนาคาร
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
9. รับรองฐานะของบุคคลเพื่อรับอุปการะผู้พ้นโทษ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้อุปการะ
- บันทึกของเจ้าพนักงานปกครองฯ (แบบ พ.3)
10. รับรองว่าบ้านถูกไฟไหม้
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน เจ้าบ้าน
- บันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุ
11. รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานต่างประเทศ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน เจ้าบ้าน ฯลฯ
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
12. สอบสวนบุคคลผู้เป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง กรมประชาสงเคราะห์
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอ
- หนังสือจากนิคมสร้างตนเอง
- บันทึกการสอบสวนผู้สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง (แบบ ส.อ.3)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
13. สอบสวนทายาทเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตกทอด
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอ พยานและบุตร ของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- ใบสำคัญการสมรสของผู้เสียชีวิตภรรยาคนแรกถึงคนปัจจุบัน
- ใบสำคัญการหย่าของผู้เสียชีวิตภรรยาคนแรกถึงคนปัจจุบัน (ถ้ามี)
- ใบรับรองบุตรที่ผู้เสียชีวิตจดไว้ (ถ้ามี)
- ใบรับรองบุตรบุญธรรมที่ผู้เสียชีวิตจดไว้ (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
14. สอบสวนผู้มีสิทธิ์รับโอนกรรมสิทธิ์รถ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- ใบมรณบัตรของเจ้าของรถ
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือนำจากกรมการขนส่งทางบก เรียน ผู้อำนวยการเขตดุสิต
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
15.สอบสวนบุคคลกรณีเสียชีวิตไปนานแล้ว
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- สำเนาคำร้อง ทร.31 แจ้งขอคัดมรณบัตรตามชื่อที่อยู่คนตายในทะเบียนบ้าน
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
16. อุปการะเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- ทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบัตรประจำตัวประชนชนให้นำมาด้วย)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
17. การดำเนินการเกี่ยวกับสมาคม
1. การจดทะเบียนสมาคม ดำเนินการดังนี้
1.1 ให้ผู้จะเป็นสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขต สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ สำหรับในจังหวัดอื่นที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
(1) ข้อบังคับของสมาคม
(2) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
(3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
(4) รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
(5) แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
(6) หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
(7) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
(8) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติในกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
2. การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสมาคม
2.1 กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
- ให้สมาคมยื่นคำขอ ตามแบบ ส.ค.2 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
(1) รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
(2) ข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่
(3) แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งของสมาคมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง
2.2 กรณีการจดแต่งตั้งกรรมการสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
- ให้สมาคมยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.3 ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
(1) รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
(2) ข้อบังคับของสมาคม
(3) รายชื่อกรรมการเก่าและกรรมการใหม่
(4) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่
(5) บันทึกคำให้การของบุคคลที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
3. การเลิกสมาคมตามมาตรา 101 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 กำหนดให้สมาคมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังนี้
3.1 เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ เป็นการเลิกตามเหตุที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมนั้น ๆ และสมาคมได้ปฏิบัติตามเหตุที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว
3.2 ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะกาลใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้นเป็นการเลิกตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ ซึ่งอาจเป็นการกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือในมติที่ประชุมจัดตั้งก็ได้
3.3 ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้วเป็นการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะกิจและกิจการนั้นได้กระทำครบถ้วนแล้ว
3.4 เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก เป็นการเลิกโดยผลจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
3.5 เมื่อสมาคมล้มละลาย เป็นการเลิกโดยผลจากที่สมาคมถูกฟ้องล้มละลายและศาลได้สั่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว
3.6 เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อออกจากนายทะเบียน ในกรณี
(1) เมื่อปรากฎในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็น ภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐและนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้ว แต่สมาคมไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
(2) เมื่อปรากฏว่า การดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อ ความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
(3) เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
(4) เมื่อปรากฏว่า สมาคมให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ กรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคม
(5) เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลือน้อยกว่า 10 คน มาเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ปี
3.7 เมื่อศาลสั่งให้เลิก
4. อัตราค่าธรรมเนียม
4.1. ค่าจดทะเบียน ครั้งละ 2,000 บาท
4.2 ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งละ 200 บาท ข้อบังคับของสมาคมหรือค่าจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
4.3. ค่าขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
4.4 ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วย แผ่นละ 10 บาท คำรับรองว่าถูกต้อง แต่ไม่เกิน 500 บาท
4.5. ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ ครั้งละ 5 บาทเกี่ยวสมาคม
4.6 สมาคมใดมิได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม ไม่เกิน 10,000 บาท ข้อบังคับต่อนายทะเบียนภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันลงมติ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
4.7 สมาคมใดมิได้จดทะเบียนแต่งตั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ ของสมาคมต่อนายทะเบียน ภายในกำหนด 30 วัน
นับแต่วันลงมติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
18. การดำเนินงานด้านมูลนิธิ
1. การขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ จะต้องยื่นเอกสารคำขอ จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ และเอกสารประกอบดังนี้
(1) รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะ จัดสรรสำหรับมูลนิธิ
(2) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของ มูลนิธิทุกคน
(3) ข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิและการจัดการบัญชีทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
(4) คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สิน ที่ทำเป็นแบบหนังสือและจดทะเบียน
(5) สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่มีการขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือ การจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตามข้อ(1) เกิดขึ้นโดยผลของ พินัยกรรม
(6) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่จะเป็นกรรมการมูลนิธิทุกคน
(7) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิ หรือสำนักงานสาขา(ถ้ามี)
(8) หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่
(9) สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)
(10) เอกสารอื่นๆ ถ้ามี เช่น หนังสืออนุญาตจากเจ้าของชื่อหรือทายาท หรือหน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. การขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้มูลนิธิมูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 และเอกสารประกอบดังนี้
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
(2) บัญชีรายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิชุดเดิม
(3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิที่ขอแต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือที่ขอเปลี่ยนแปลง
(4) ข้อบังคับของมูลนิธิ
(5) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าวหรือภิกษุ ให้ใช้หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันกับที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้
3. การขอจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
(2) ข้อบังคับของมูลนิธิในปัจจุบันและข้อบังคับของมูลนิธิในส่วนที่ประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติม
(3) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่งใหม่ของมูลนิธิและหนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา หรือมีการตั้งสำนักงานสาขาขึ้นใหม่
4. การเลิกมูลนิธิ ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะ มีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียน ตามแบบ ม.น.6 โดยแนบหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
(2) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิ
(3) ข้อบังคับของมูลนิธิ
(4) เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
(5) สำเนารายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
(6) เอกสารอื่นๆ ถ้ามี
19. การจดทะเบียนพาณิชย์
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- แบบคำขอ ทะเบียนพาณิชย์
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
- เอกสารสิทธิ์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ (ถ้ามี)
20. เรื่องร้องทุกข์ เมื่อฝ่ายปกครองได้รับเรื่องร้องทุกข์ ฝ่ายปกครองจะดำเนินการและแจ้งผู้ร้องภายใน 3 วัน
- แบบรับร้องทุกข์