ฝ่ายปกครอง
Administration Section
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนมัสยิด ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม งานสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย | |
1. การรับรองบุคคลและเรื่องราวต่างๆ
ผู้ประสงค์ที่จะได้หนังสือรับรองจะต้องติดต่อสำนักงานเขตท้องที่ที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้านและขอออกหนังสือรับรองกรณี ดังนี้
1.1 รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
1.2 รับรองว่าเป็นผู้ประสบภัย
1.3 รับรองความประพฤติ
1.4 รับรองว่าบุคคลยังมีชีวิตอยู่ เพื่อไปรับบำนาญ
1.5 รับรองสถานภาพทางการสมรส
1.6 รับรองลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ
1.7 รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตรหรือผู้ส่งเงินในต่างประเทศเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ฯลฯ
1.8 รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ
1.9 รับรองสถานที่เกิด - รับรองการตาย
1.10 รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ
1.11 รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
1.12 รับรองรายการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราขทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
1.13 การสอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลกรณีอื่น
1.14 สอบสวนการอุปการะเลี้ยงดูหรือปกครองบุตรฝ่ายเดียว
1.15 สอบสวนประกอบการพิจารณาพักการลงโทษ
1.16 สอบสวนทายาทเพื่อรับบำเหน็จตกทอด
หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับหนังสือรับรองบุคคล และเรื่องราวต่างๆ ประกอบด้วย
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้องฉบับจริง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เกี่ยวข้องฉบับจริง
3. พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
4. เอกสารที่ใช้รับรองและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อควรทราบ
1. กิจกรรมต่างๆ มอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทนไม่ได้ ยกเว้น ข้อ 1.5 และข้อ 1.9
2. พยานต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและทราบเรื่องที่จะให้รับรองเป็นอย่างดี
3. งานบริการรับรองบุคคลและเรื่องราวต่างๆ เป็นงานบริการที่ไม่ใช้สำเนาบัตรประชาชน
2. การทำพินัยกรรม
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมที่ทางสำนักงานเขตมีหน้าที่เกี่ยวข้องมีเพียง 3 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำขอให้กรมการอำเภอ (นายอำเภอ) อำเภอใดก็ได้/สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานครเขตใดก็ได้ดำเนินการให้ตามความ ประสงค์ต่อหน้าพยาน 2 คน พร้อมกัน (พยานต้องไม่มีส่วนได้เสียกับพินัยกรรม)
2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ คือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกและลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกเรียบร้อยแล้ว ไปแสดงต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต พร้อมด้วยพยานบุคคล 2 คนและให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน
3. พินัยกรรมทำด้วยวาจา ทำได้เฉพาะกรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงความตายเสียก่อน ดังนี้ บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานทั้งหมดนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรรมการอำเภอ (นายอำเภอ) โดยมิชักช้าและแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา วัน เดือน ปีที่ทำพินัยกรรม พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้หลักฐานที่ต้องใช้ในการทำพินัยกรรม ประกอบด้วย
3.1 บัตรประจำตัวประชาชน
3.2 ทะเบียนบ้าน
3.3 กรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
3.4 กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุเกิน 60 ปี หรือป่วย ควรมีใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
3.5 พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน
3. การจดทะเบียนพาณิชย์
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต หรือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1(เสาชิงช้า)
1. การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือรถยนต์ประจำทางการขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทางการขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วนการทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนพาณิชย์
1. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. ทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ และทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงาน
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร 10 บาท (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ สถานประกอบการดังกล่าวแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
5.1 หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้าน และทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
5.2 กรณีเช่าสถานที่
5.2.1 ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
- ทะเบียนบ้านของบ้านที่ตั้งสถานที่ประกอบการ
- สัญญาเช่า
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์อาคารสถานที่ตั้งสำนักงาน
5.2.2 ผู้ให้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
- สัญญาเช่า พร้อมลงลายมอื ชอื่ ของผู้มอำนาจกระทำการแทนบริษัท
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
5.2.3 กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
- โฉนดที่ดิน/ห้องชุด
6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็นหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือจดจัดตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล, บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ(กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. ทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร 10 บาท (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. ใบทะเบียนพาณิชย์
การจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ
2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3. เอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
4. ใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
อัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนพาณิชย์
- จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ ฉบับละ 20 บาท
- จดทะเบียนยกเลิกประกอบกิจการ ฉบับละ 20 บาท
- ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
- ขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท
- คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30 บาท
หมายเหตุ
1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวันเลิกประกอบกิจการ
2. กรณีแจ้งยกเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม ให้ลงชื่อโดยทายาทคนใดคนหนึ่ง หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ทำการแทนทายาท หรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท
4. การจดทะเบียนสมาคม
ให้ผู้จะเป็นสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขต สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัดอื่นที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. ข้อบังคับของสมาคม
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
3. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมทุกคน
4. รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
5. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
6. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
7. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมทุกคน
8. ภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์กรตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ ในกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
9. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
1. กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม ให้สมาคมยื่นคำขอ ตามแบบ ส.ค.2 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมฯ ได้ลงมติ
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
2. ข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่
3. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่
4. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งของสมาคมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง
5. ใบสำคัญ ส.ค.4 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการ ขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) หรือ
6. ใบสำคัญ ส.ค.6 (กรณีสมาคมได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมแล้ว)
1. รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
2. ข้อบังคับของสมาคม
3. รายชื่อกรรมการเก่าและกรรมการใหม่
4. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่
5. ใบสำคัญ ส.ค.4 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการ ขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) หรือ
6. ใบสำคัญ ส.ค.6 (กรณีสมาคมได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมแล้ว)
การขอจดทะเบียนเลิกสมาคม
ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนเลิกสมาคมให้ยื่นหนังสือเลิกสมาคม ตามแบบแจ้งการเลิกสมาคม พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้
1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคม
2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคม
3. ข้อบังคับของสมาคม
4. เอกสารแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
5. รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้เลิกสมาคม
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมอื่นของสมาคม
1. ค่าจดทะเบียนสมาคม 2,000 บาท
2. ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม หรือค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ครั้งละ 200 บาท
3. ค่าตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
4. ค่าคัดเอกสาร พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง แผ่นละ 10 บาทแต่ไม่เกิน 500 บาท
5. ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม ครั้งละ 5 บาท
5. การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอจัดตั้งมูลนิธิ ยื่นคำขอตามแบบ ม.น. 1 ณ สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ
4. คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1) ที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
5. พินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตาม (1) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรมนั้น
6. หรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้ และภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) เว้นแต่ในกรณีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าว หรือภิกษุ ให้ใช้หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานะภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ทำนองเดียวกับที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้
7. แผนผังที่ตั้งสังเขปของมูลนิธิ ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี)
8. หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตาม (7)
9. รายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ
10. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
กรณีจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
1. กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีมติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิหลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. รายงานการประชุมที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
2. ข้อบังคับของมูลนิธิฉบับปัจจุบันและข้อบังคับของมูลนิธิในส่วนที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติม
3. แผนผังที่ตั้งสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่งใหม่ของมูลนิธิ และหนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาหรือที่ตั้งสำนักงานสาขาแห่งใหม่
4. แบบแสดงรายการข้อบังคับที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับแต่ละข้อโดยลงชื่อของกรรมการมูลนิธิจัดทำด้วย
5. หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิ
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
2. กรณีการแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
หลักฐานที่ต้องใช้ จำนวน 3 ชุด
1. รายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิ ที่ให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของ มูลนิธิ
2. บัญชีรายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิชุดเดิม
3. รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของมูลนิธิที่ขอแต่งตั้ง
ขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือที่ขอเปลี่ยนแปลง
4. ข้อบังคับของมูลนิธิ
5. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการมูลนิธิที่จะแต่งตั้งขึ้นใหม่ตาม (3)หรือหลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียว กันในกรณที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไูม่มีหลักฐานตามที่กำหนดเช่น คนต่างด้าว หรือพระภิกษุ
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
การจดทะเบียนเลิกมูลนิธิ
ยื่นคำขอแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนตามแบบ ม.น.5 ณ สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ หลักฐานที่ต้องใช้
1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น.3) ฉบับจริง
2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนธิ ซึ่งเป็นกรรมการทอยู่ใูนตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิ (ม.น.4) ฉบับจริง
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
4. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
5. รายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมอื่นของมูลนิธิ
1. ค่าคำขอ ฉบับละ 10 บาท
2. ค่าจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ 200 บาท
3. ค่าจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ 50 บาท
4. ค่าจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ 50 บาท
5. ค่าขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิ สำหรับมูลนิธิหนึ่ง ครั้งละ 50 บาท
6. ค่าคัดและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 10 บาท
7. ค่าขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับมูลนิธิซึ่งมิใช่เป็นกรณีตาม (2) (3) (4) (5) หรือ (6) รายการหนึ่งครั้งละ 50 บาท