ฝ่ายปกครองมีหน้าที่รับผิดชอบ  ดังนี้...


1. การรับเรื่องราวร้องทุกข์
2. การจดทะเบียนพาณิชย์
3. การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
4. การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม
5. การทำพินัยกรรม การตัดทายาท ฯลฯ
6. การขอเครื่องราชอิสยาภรณ์ให้แก่ผู้ทำประโยชน์แก่ทางราชการ
7. งานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
8. งานเกี่ยวกับสมาชิกสภาเขต
9. งานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ผว.กทม. ส.ก. และ ส.ข.
10. การรับรองบุคคลและเรื่องราวต่างๆ
       - รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน 

       - รับรองลายมือชื่อประกันตัวผู้ต้องหา
       - รับรองสถานที่เกิด
       - รับรองสาธารณภัย (อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย และอื่นๆ)

       - รับรองความประพฤติ
       - รับรองว่าบุคคลยังมีชีวิตอยู่เพื่อรับบำนาญ
       - รับรองสถานภาพการสมรส
       - รับรองลายือชื่อกรณียินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ
       - รับรองว่าได้รับเงินอุปการะเลี้ยงดูจากบุตร หรือผู้ส่งเงินในต่างประเทศ
       - รับรองการใช้อำนาจปกครองบุตร
       - รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน (กยศ. และ กรอ.)
       - สอบสวนบุคคลผู้อุปการะพักการลงโทษ
       - สอบสวนทายาท
       - สอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล กรณีต่างๆ (บันทึก ปค.14)

  การรับรองบุคคลและเรื่องราวต่าง ๆ
หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน  ฉบับจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน(ฉบับจริง) พร้อมสำเนา 1  ชุด
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล  ฉบับจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)  1  ชุด
4. ใบสำคัญการสมรส  (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา  (ถ้ามี)
5. เอกสารที่จะให้รับรอง  และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1  ชุด
6. พยานบุคคลอย่างน้อย  2  คน  พร้อมด้วย
    - บัตรประจำตัวประชาชน  ฉบับจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
    - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน  ฉบับจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
**  กรณียกเว้นไม่ต้องใช้พยานบุคคล  คือ  เรื่องรับรองลายมือชื่อกรณียินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ  และรับรองฐานะของบุคคลเพี่อรับอุปการะผู้พ้นโทษ

ขั้นตอนการออกหนังสือรับรองบุคคล
1. ยื่นคำร้อง
2. ตรวจสอบหลักฐาน
3. สอบสวนถ้อยคำผู้ร้องและพยาน
4. บันทึก ป.ค.14 กรณีเรื่องสอบสวน
5. จัดทำหนังสือรับรอง
6. เสนอผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ
7. ผู้ร้องรับหนังสือรับรอง/เอกสาร และลงลายมือชื่อรับเป็นหลักฐาน
 

การทำพินัยกรรม
หลักฐานที่ต้องใช้
1. บัตรประจำตัวประชาชน  ฉบับจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา 1  ชุด
3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม  ฉบับจริงพร้อมสำเนา  1  ชุด
4. ใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
5. พยานบุคคลอย่างน้อย  2  คน
6. หลักฐานอื่นๆ  (ถ้ามี)

ขั้นตอนการทำพินัยกรรม
1. ยื่นคำร้องขอทำพินัยกรรม
2. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
3. แจ้งข้อความที่จะใส่ในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
4. นายทะเบียนจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบไว้ และอ่านข้อความให้ฟัง
5. ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน ลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ
6. นายทะเบียนลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปี และประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ
7. ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่ขอรับเอาไปเก็บไว้เอง ให้นายทะเบียนเก็บพินัยกรรมไว้ ณ สำนักงานเขต
8. ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดกมาขอรับพินัยกรรม ให้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน
 
การจดทะเบียนพาณิชย์
หลักฐานที่ต้องใช้
- กรณีเป็นเจ้าของสถานที่ (เจ้าบ้าน)
1. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ฉบับจริงพร้อมสำเนาของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
2. แผนที่ตั้งร้านค้า
3. ภาพถ่ายร้านค้าพร้อมสินค้า
4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบและพยาน (กรณีผู้อื่นดำเนินการแทน)
- กรณีขอใช้สถานที่ของผู้อื่น
1. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ฉบับจริงพร้อมสำเนาของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
2. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่* หรือ สัญญาเช่า**
3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหรือ (เจ้าบ้าน หรือ เจ้าของกรรมสิทธิ์***)
4. หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท****
5. ทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งร้านค้า
6. แผนที่ตั้งร้านค้า
7. ภาพถ่ายร้านค้าพร้อมสินค้า
8. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบและพยาน (ถ้ามี)
 
* แนบสำเนาบัตรประชาชนของพยานพร้อมรับรองสำเนา
** ผู้ให้เช่าจะต้องเป็นเจ้าบ้านหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น
*** เจ้าของกรรมสิทธิ์ให้แนบสัญญาซื้อขาย หรือ ใบขอเลขบ้าน และหรือ โฉนดที่ดิน
**** เจ้าของสถานที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนามในบริษัทพร้อมรับรองสำเนา
หมายเหตุ
  • ให้มีหนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (ขอเอกสารที่สรรพากรพื้นที่)
  • ให้ปริ้นหน้าแรกเว็บไซต์และหน้าที่ระบุการจ่ายเงิน
  • ให้มีหนังสือรับรองจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนพาณิชย์
1. รับคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
2. ตรวจสอบพิจารณา/ออกเลขรับคำขอ
3. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม/ออกใบเสร็จรับเงิน
4. ออกเลขทะเบียนพาณิชย์ และจัดทำใบทะเบียนพาณิชย์/สำเนาเอกสาร
5. ลงนาม/จ่ายใบทะเบียนพาณิชย์/สำเนาเอกสาร

*** การให้บริการต่าง ๆ กฎหมายกำหนดให้ ยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์***

การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
หลักฐานที่ต้องใช้
ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ  ม.น.1  ณ  สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งขึ้น  พร้อมเอกสารหลักฐานจำนวน  3  ชุด  (เอกสารทุกอย่างรับรองสำเนา)  คือ
  1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ
  2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
  3. ข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิ และการจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
  4. คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
  5. สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่มีการขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิ ตาม (1) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
  6. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลต่าง (1) และ (2) เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าวหรือภิกษุ ให้ใช้หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันกับที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้
  7. แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
  8. หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตาม (7)
  9. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)
  10. เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี เช่น หนังสืออนุญาตจากเจ้าของชื่อหรือทายาท หรือหน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  11. แบบรับรองของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ

ขั้นตอนการจดทะเบียนมูลนิธิ
1. ให้ผู้จะเป็นสมาชิกยื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานเขตที่มูลนิธิ ตั้งอยู่พร้อมเอกสาร
2. สำนักงานเขตพิจารณาเอกสารทั้งหมดว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าถูกต้องครบถ้วนจะส่งเรื่องให้สำนักงานปกครองและทะเบียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งและนำเสนอต่อนายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร
3. เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็จะออกเอกสารสำคัญรับจดทะเบียน และส่งประกาศไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วจึงส่งเรื่องกลับมายังสำนักงานเขต เพื่อแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบและขอรับเอกสารการจดทะเบียน และชำระค่าธรรมเนียม

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้
http://203.155.220.217/ard/asso_found.html

 การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม
หลักฐานที่ต้องใช้
ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่า  3  คน  ร่วมกันยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1  ณ  สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น  พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน  จำนวน  3  ชุด  คือ
  1. ส.ค. 1
  2. ข้อบังคับของสมาคม
  3. บัญชีรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
  4. บัญชีรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม/มูลนิธิ
  5. รายงานการประชุมจัดตั้งสมาคม/มูลนิธิ
  6. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม/มูลนิธิทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
  7. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม/มูลนิธิ
  8. แบบรับรองของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ
  9.   สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และ ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกซึ่งยื่นคำขอและผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม /มูลนิธิ
  10.   สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม/มูลนิธิหรือองค์การตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ ในกรณีที่สมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
  11.   เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมาคม
1. ให้ผู้จะเป็นสมาชิกยื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานเขตที่สมาคม ตั้งอยู่พร้อมเอกสาร
2. สำนักงานเขตพิจารณาเอกสารทั้งหมดว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าถูกต้องครบถ้วนจะส่งเรื่องให้สำนักงานปกครองและทะเบียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งและนำเสนอต่อนายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร
3. เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็จะออกเอกสารสำคัญรับจดทะเบียน และส่งประกาศไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วจึงส่งเรื่องกลับมายังสำนักงานเขต เพื่อแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบและขอรับเอกสารการจดทะเบียน และชำระค่าธรรมเนียม
 
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตมีนบุรี
โทร.  0 2540  7160  ต่อ  6655 ,  0 2540 7214
โทรสาร 0 2540 7267   
E-Mail : khet_minburi@yahoo.com