ประวัติความเป็นมาเขตมีนบุรี
ประวัติความเป็นมาเขตมีนบุรี
เดิมเขตมีนบุรีเคยเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่มณฑลกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวา กับอำเภออื่น ๆ อีก 3 อำเภอ คือ อำเภอแสนแสบ อำเภอเจียรดับ อำเภอหนองจอก รวมเป็น 4 อำเภอ ตั้งเป็นเมืองขนานนามว่า “ เมืองมีนบุรี ” ซึ่งหมายถึง “ เมืองปลา ” ทั้งนี้เพื่อให้คู่กับ “ เมืองธัญญบุรี “ แปลว่า “ เมืองข้าว “ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอยู่ก่อนแล้ว เมืองมีนบุรีและเมืองธัญญบุรีในขณะนั้นต่างก็สังกัดมณฑลกรุงเทพ เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มณฑลกรุงเทพประกอบด้วย ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ นนทบุรี ธัญญบุรี และมีนบุรี สำหรับเมืองมีนบุรีเจ้าเมืองคนแรก คือ หม่อมเจ้าสง่างาม(สุประดิษฐ์) เป็นข้าหลวงรักษาราชการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน รัตนโกสินทรศก 121 ดังหลักฐานซึ่งได้คัดลอกจากเอกสารสำคัญ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติท่าวาสุกรี
ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ.2473 – 74 มีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “ เศรษฐกิจตกต่ำ “ ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพง และกระทบกระเทือนงบประมาณของแผ่นดินของประเทศขณะนั้นอย่างหนัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเหตุการณ์โดยยุบ เลิกหรือรวมกรม กองต่าง ๆ ในส่วนกลาง และยุบมณฑลจังหวัดและสถานที่ หรือส่วนราชการบางแห่ง ตลอดจนปลดข้าราชการออกจากตำแหน่ง เพื่อตัดทอนงบประมาณรายจ่ายให้สู่ดุลยภาพ ดังมีหลักฐานหนังสือโต้ตอบแจ้งเรื่อง การยุบจังหวัดมีนบุรี 2474 ไว้ดังนี้
ยุบจังหวัดมีนบุรี เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 พุทธศักราช 2474 ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยทั่วไป จึงมีพระราชดำริยุบส่วนราชการบางส่วน เพื่อตัดทอนค่าใช้จ่ายภายในประเทศ โดยให้ยุบจังหวัดมีนบุรีมารวมเข้ากับจังหวัดพระนคร ขึ้นต่อมณฑลกรุงเทพฯ เว้นไว้แต่ท้องที่อำเภอหนองจอก ให้ยกไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2474 และเป็นอันว่าต้องยุบเลิกกองจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปด้วย ท้องที่อำเภอมีนบุรีกับท้องที่อำเภอลาดกระบังยกไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร ในการประกาศยุบจังหวัดนั้น กำหนดไว้ด้วยว่า ให้ยุบรวมจังหวัดมีนบุรีเข้าไว้ในปกครองของจังหวัดพระนคร เว้นแต่อำเภอหนองจอก ให้ออกไปขึ้นอยู่ในปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ท้องที่จังหวัดพระประแดงให้รวมขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ เว้นแต่ท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะให้ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี และท้องที่จังหวัดธัญญบุรีให้รวมอยู่กับจังหวัดปทุมธานี เป็นอันว่ามณฑลกรุงเทพฯ ในตอนนั้น คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2474 เป็นต้นมา มีจังหวัดสังกัดอยู่เพียง 4 จังหวัดเท่านั้น คือ พระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ เฉพาะจังหวัดพระนคร หลังจากการปรับปรุงแล้วมีอำเภอเพิ่มขึ้นอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอมีนบุรี กับอำเภอลาดกระบัง รวมกับอำเภอที่มีอยู่ก่อนแล้ว 12 อำเภอคือ อำเภอพระนคร อำเภอดุสิต อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางรัก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอปทุมวัน อำเภอบางกะปิ อำเภอบางเขน อำเภอพระโขนง อำเภอบ้านทวาย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวา) อำเภอบางซื่อ รวม 14 อำเภอ ต่อมาในปี พ.ศ.2475 ก็ได้มีพระราชบัญญัติให้โอนการปกครองอำเภอหนองจอก ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดฉะเชิงเทรามาขึ้นจังหวัดพระนคร เพราะไม่สะดวกแก่ราษฎรที่จะไปติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ให้โอนตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2475 เป็นต้นมา ดังนั้น จังหวัดพระนคร จึงมีอำเภอรวมทั้งสิ้น 15 อำเภอ
โดยเฉพาะมีนบุรีเป็นจังหวัดนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2445 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2474 มีนบุรีเมื่อยุบเป็นอำเภอแล้ว คงมีเขตท้องที่เหมือนเช่นเดิม คือ 7 ตำบล 132 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ตำบลบางชัน มี 20 หมู่บ้าน
2. ตำบลทรายกองดิน มี 25 หมู่บ้าน
3. ตำบลคลองสามวาฝั่งตะวันออก มี 25 หมู่บ้าน
4. ตำบลคลองสามวาฝั่งตะวันตก มี 17 หมู่บ้าน
5. ตำบลคลองเจ๊ก มี 20 หมู่บ้าน
6. ตำบลแสนแสบ มี 15 หมู่บ้าน
7. ตำบลคู้ฝั่งใต้ มี 10 หมู่บ้าน
กับมีกิ่งอำเภอลาดกระบัง ซึ่งได้ยุบจากอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอมาขึ้นอยู่อีก 1 กิ่ง โดยเฉพาะ กิ่งอำเภอ ลาดกระบัง มี 5 ตำบล 91 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ตำบลลาดกระบัง มี 15 หมู่บ้าน
2. ตำบลคลองสองต้นนุ่น มี 16 หมู่บ้าน
3. ตำบลคลองสามประเวศ มี 17 หมู่บ้าน
4. ตำบลทับยาว มี 21 หมู่บ้าน
5. ตำบลลำปลาทิว มี 22 หมู่บ้าน
ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตท้องที่อีกหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอลาดกระบังขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง
มีนบุรีได้ แบ่งเขตการปกครองได้ ออกเป็น 7 แขวง (ตำบล) มี 107 หมู่บ้าน แต่เดิมมีสุขาภิบาล 1 แห่ง ชื่อสุขาภิบาลมีนบุรี ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งในชั้นแรก มีหมู่บ้านที่ 1,2, 8, 9, 10, 13, 17, 18, และ 19 ของตำบลมีนบุรี รวมกันเข้าเป็นเขตสุขาภิบาล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ได้มีการขยายเขตสุขาภิบาลออกไปอีกโดยรวมเอาหมู่ที่ 3 ของตำบลมีนบุรี และหมู่ที่ 14 ของตำบลแสนแสบเข้ามาอยู่ในเขตสุขาภิบาลด้วย ต่อจากนั้นมา ได้ขยายเขตสุขาภิบาลออกไปตลอดทั้งอำเภอ ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 เมษายน 2506 และเมื่อได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 มีนบุรีจึงมีฐานะเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
สัญลักษณ์ เป็นรูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลางด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยคำว่า สำนักงานเขตมีนบุรี ที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
ความหมาย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้รวม 4 อำเภอในทุ่งแสนแสบยกขึ้นเป็นเมืองมีนบุรี ซึ่งแปลว่า "เมืองปลา" เพราะตำบลแสนแสบมีบ่อปลามากและปลาที่ขึ้นชื่อคือ "ปลาตะเพียน"
วันก่อกำเนิดเมืองมีนบุรี 1 กันยายน 2445
วันสถาปนาเป็นอำเภอ 13 ธันวาคม 2515
สีประจำเขต สีฟ้าน้ำทะเล หมายถึงความสงบ สวยงาม ทรงพลัง
ต้นไม้ประจำเขต ต้นพิกุล เป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเป็นที่ระลึกเมื่องครั้งเสด็จฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9
ปรัชญาประจำเขต บริการด้วยใจยุติธรรม โปร่งใส ใส่ใจประชาชน
คำขวัญเขต เมืองปลา หญ้าดัง จังหวัดเก่า
วิสัยทัศน์เขต มีนบุรีเมืองน่าอยู่ เชิดชูประเพณี สภาพแวดล้อมดีทั่วหน้า นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
ภาพปัจจุบันของสำนักงานเขตมีนบุรี
ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ.2473 – 74 มีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “ เศรษฐกิจตกต่ำ “ ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพง และกระทบกระเทือนงบประมาณของแผ่นดินของประเทศขณะนั้นอย่างหนัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเหตุการณ์โดยยุบ เลิกหรือรวมกรม กองต่าง ๆ ในส่วนกลาง และยุบมณฑลจังหวัดและสถานที่ หรือส่วนราชการบางแห่ง ตลอดจนปลดข้าราชการออกจากตำแหน่ง เพื่อตัดทอนงบประมาณรายจ่ายให้สู่ดุลยภาพ ดังมีหลักฐานหนังสือโต้ตอบแจ้งเรื่อง การยุบจังหวัดมีนบุรี 2474 ไว้ดังนี้
ยุบจังหวัดมีนบุรี เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 พุทธศักราช 2474 ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยทั่วไป จึงมีพระราชดำริยุบส่วนราชการบางส่วน เพื่อตัดทอนค่าใช้จ่ายภายในประเทศ โดยให้ยุบจังหวัดมีนบุรีมารวมเข้ากับจังหวัดพระนคร ขึ้นต่อมณฑลกรุงเทพฯ เว้นไว้แต่ท้องที่อำเภอหนองจอก ให้ยกไปขึ้นกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2474 และเป็นอันว่าต้องยุบเลิกกองจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปด้วย ท้องที่อำเภอมีนบุรีกับท้องที่อำเภอลาดกระบังยกไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร ในการประกาศยุบจังหวัดนั้น กำหนดไว้ด้วยว่า ให้ยุบรวมจังหวัดมีนบุรีเข้าไว้ในปกครองของจังหวัดพระนคร เว้นแต่อำเภอหนองจอก ให้ออกไปขึ้นอยู่ในปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ท้องที่จังหวัดพระประแดงให้รวมขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ เว้นแต่ท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะให้ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี และท้องที่จังหวัดธัญญบุรีให้รวมอยู่กับจังหวัดปทุมธานี เป็นอันว่ามณฑลกรุงเทพฯ ในตอนนั้น คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2474 เป็นต้นมา มีจังหวัดสังกัดอยู่เพียง 4 จังหวัดเท่านั้น คือ พระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ เฉพาะจังหวัดพระนคร หลังจากการปรับปรุงแล้วมีอำเภอเพิ่มขึ้นอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอมีนบุรี กับอำเภอลาดกระบัง รวมกับอำเภอที่มีอยู่ก่อนแล้ว 12 อำเภอคือ อำเภอพระนคร อำเภอดุสิต อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางรัก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอปทุมวัน อำเภอบางกะปิ อำเภอบางเขน อำเภอพระโขนง อำเภอบ้านทวาย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวา) อำเภอบางซื่อ รวม 14 อำเภอ ต่อมาในปี พ.ศ.2475 ก็ได้มีพระราชบัญญัติให้โอนการปกครองอำเภอหนองจอก ซึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดฉะเชิงเทรามาขึ้นจังหวัดพระนคร เพราะไม่สะดวกแก่ราษฎรที่จะไปติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ให้โอนตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2475 เป็นต้นมา ดังนั้น จังหวัดพระนคร จึงมีอำเภอรวมทั้งสิ้น 15 อำเภอ
โดยเฉพาะมีนบุรีเป็นจังหวัดนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2445 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2474 มีนบุรีเมื่อยุบเป็นอำเภอแล้ว คงมีเขตท้องที่เหมือนเช่นเดิม คือ 7 ตำบล 132 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ตำบลบางชัน มี 20 หมู่บ้าน
2. ตำบลทรายกองดิน มี 25 หมู่บ้าน
3. ตำบลคลองสามวาฝั่งตะวันออก มี 25 หมู่บ้าน
4. ตำบลคลองสามวาฝั่งตะวันตก มี 17 หมู่บ้าน
5. ตำบลคลองเจ๊ก มี 20 หมู่บ้าน
6. ตำบลแสนแสบ มี 15 หมู่บ้าน
7. ตำบลคู้ฝั่งใต้ มี 10 หมู่บ้าน
กับมีกิ่งอำเภอลาดกระบัง ซึ่งได้ยุบจากอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอมาขึ้นอยู่อีก 1 กิ่ง โดยเฉพาะ กิ่งอำเภอ ลาดกระบัง มี 5 ตำบล 91 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ตำบลลาดกระบัง มี 15 หมู่บ้าน
2. ตำบลคลองสองต้นนุ่น มี 16 หมู่บ้าน
3. ตำบลคลองสามประเวศ มี 17 หมู่บ้าน
4. ตำบลทับยาว มี 21 หมู่บ้าน
5. ตำบลลำปลาทิว มี 22 หมู่บ้าน
ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตท้องที่อีกหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอลาดกระบังขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง
มีนบุรีได้ แบ่งเขตการปกครองได้ ออกเป็น 7 แขวง (ตำบล) มี 107 หมู่บ้าน แต่เดิมมีสุขาภิบาล 1 แห่ง ชื่อสุขาภิบาลมีนบุรี ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2498 ซึ่งในชั้นแรก มีหมู่บ้านที่ 1,2, 8, 9, 10, 13, 17, 18, และ 19 ของตำบลมีนบุรี รวมกันเข้าเป็นเขตสุขาภิบาล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ได้มีการขยายเขตสุขาภิบาลออกไปอีกโดยรวมเอาหมู่ที่ 3 ของตำบลมีนบุรี และหมู่ที่ 14 ของตำบลแสนแสบเข้ามาอยู่ในเขตสุขาภิบาลด้วย ต่อจากนั้นมา ได้ขยายเขตสุขาภิบาลออกไปตลอดทั้งอำเภอ ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 เมษายน 2506 และเมื่อได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 มีนบุรีจึงมีฐานะเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
สัญลักษณ์ เป็นรูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลางด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยคำว่า สำนักงานเขตมีนบุรี ที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
ความหมาย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้รวม 4 อำเภอในทุ่งแสนแสบยกขึ้นเป็นเมืองมีนบุรี ซึ่งแปลว่า "เมืองปลา" เพราะตำบลแสนแสบมีบ่อปลามากและปลาที่ขึ้นชื่อคือ "ปลาตะเพียน"
วันก่อกำเนิดเมืองมีนบุรี 1 กันยายน 2445
วันสถาปนาเป็นอำเภอ 13 ธันวาคม 2515
สีประจำเขต สีฟ้าน้ำทะเล หมายถึงความสงบ สวยงาม ทรงพลัง
ต้นไม้ประจำเขต ต้นพิกุล เป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเป็นที่ระลึกเมื่องครั้งเสด็จฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9
ปรัชญาประจำเขต บริการด้วยใจยุติธรรม โปร่งใส ใส่ใจประชาชน
คำขวัญเขต เมืองปลา หญ้าดัง จังหวัดเก่า
วิสัยทัศน์เขต มีนบุรีเมืองน่าอยู่ เชิดชูประเพณี สภาพแวดล้อมดีทั่วหน้า นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
ภาพปัจจุบันของสำนักงานเขตมีนบุรี