การแจ้งเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับต้องดำเนินการอย่างไร
ถาม   การแจ้งเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ   1. ให้บิดามารดา หรือมารตา หรือบิดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 (นับตาม พ.ศ. เกิด) ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเต็ม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 นำเด็กในความปกครองไปแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม (ของปีที่อายุครบ) ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม (ของปีที่เข้าเรียน) ณ ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตมีนบุรี ในวันและเวลาราชการ
         2. การแจ้งส่งเด็กเข้าเรียนตามข้อ 1 ใช้หลักฐานประกอบการแจ้ง ดังนี้     
            1) สำเนาสูติบัตรของเด็ก/สำเนาบัตรประชาชนของเด็ก/สำเนาทะเบียนบ้านเด็กฉบับเจ้าบ้าน จำนวน1ฉบับ
            2) ทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้งจํานวน1 ฉบับ     
            3) กรณีไม่มีเอกสารข้อ 1-2 ให้ใช้หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองการเกิด ทะเบียนบ้านของบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ทร.13) หรือทะเบียนประวัติบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าเด็กเข้าเรียนในชั้น ป.2 แล้ว ในขณะที่อายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับแล้ว ต้องแจ้งสำนักงานเขตไหม
ถาม   ถ้าเด็กเข้าเรียนในชั้น ป.2 แล้ว ในขณะที่อายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับแล้ว ต้องแจ้งสำนักงานเขตไหม

ตอบ   แจ้งเนื่องจากเด็กอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ในปีนั้น เพราะทางสำนักงานเขตต้องปฏิบัติตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ โดยให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ให้บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กที่เกิดปี พ.ศ.2557 ซึ่งนับอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในปี พ.ศ.2564 ตามมาตรา 17 แห่ง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร นำเด็กในความปกครองไปแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา หรือตามบัญชีรายชื่อสถานศึกษาที่แนบท้ายประกาศฯ ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 พร้อมทั้งส่งเด็กเข้าเรียนตามกำหนดการของสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรืออายุย่างเข้าปีที่ 16
การขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียน สามารถขอยกเว้นให้กับเด็กได้ ในกรณีใด
ถาม   การขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียน สามารถขอยกเว้นให้กับเด็กได้ ในกรณีใด

ตอบ   บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะขอผ่อนผัน หรือยกเว้นเด็กในเกณฑ์จากการเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาได้ในกรณีต่อไปนี้
          1. มีความบกพร่องในทางร่างกายหรือจิตใจ
          2. เป็นโรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย
          3. ต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพพลภาพ ไม่มีหนทางเลี้ยงชีพและไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน
          4. อยู่ห่างจากโรงเรียนประถมศึกษาที่สอนให้เปล่า ตามเส้นทางคมนาคมเกินสามกิโลเมตร
          5. เคยพำนักอาศัยในต่างประเทศ หรือศึกษาในต่างประเทศ และกลับมาอยู่ในประเทศไทย โดยมีความจำเป็นด้านภาษา อายุ หรือระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา
          6. เด็กที่ผู้ปกครองมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาอบรมด้วยตนเอง หรือต้องให้เข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กที่ได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว แต่ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา จะมีโทษอย่างไร
ถาม   ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กที่ได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว แต่ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา จะมีโทษอย่างไ

ตอบ   เมื่อบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กคนใด ได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 13 และผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เข้าเรียนในสถานศึกษาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 15 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 16
ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็ก ไม่สามารถไปแจ้งสำรวจเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์บังคับต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต หรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับได้ ต้องดำเนินการอย่างไร
ถาม   ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็ก ไม่สามารถไปแจ้งสำรวจเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์บังคับต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต หรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับได้ ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ   ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็ก ไม่สามารถไปแจ้งสำรวจเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์บังคับต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต หรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับตามข้อ 1 เพราะป่วยหรือด้วยเหตุอื่นใดก็ดี ต้องให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนตนโดยแสดงหลักฐานให้ชัดเจน
ขั้นตอนการส่งเด็กเข้าเรียนและการติดตามเด็กเข้าเรียนมีขั้นตอนอย่างไร
ถาม   ขั้นตอนการส่งเด็กเข้าเรียนและการติดตามเด็กเข้าเรียนมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ  
ลักษณะที่สามารถขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับได้ มีลักษณะอย่างไร
ถาม   ลักษณะที่สามารถขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับได้ มีลักษณะอย่างไร

ตอบ     1. การขอผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ต้องมีเหตุหนึ่งเหตุใด ดังนี้
                1.1  เด็กเรียนจบการศึกษาระดับปฐมวัย
                1.2  ในกรณีที่เด็กไม่จบการศึกษาระดับปฐมวัยหรือเทียบเท่า  แต่ผู้ปกครองร้องขอและผ่านการประเมินความพร้อมทางด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อารมณ์  และสังคม ตามประกาศของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
           2. การขอผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ต้องมีเหตุหนึ่งเหตุใด ดังนี้ 
                2.1 เด็กเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็กหรืออาจเป็นอันตรายแก่นักเรียนอื่นตามความเห็นของแพทย์ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป์
                2.2 เด็กเจ็บป่วยและอยู่ในระหว่างพักรักษาตัวไม่สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาภายใน 45 วัน  นับแต่วันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา ตามความเห็นของแพทย์ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลป์
                2.3 เด็กที่มีความจำเป็นอื่นที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามปกติได้ด้วยเหตุสุดวิสัยแล้วแต่กรณี
ขั้นตอนการขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียนมีขั้นตอนอย่างไร
ถาม   ขั้นตอนการขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียนมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ
ระยะเวลาการขอผ่อนผันเป็นอย่างไร
ถาม   ระยะเวลาการขอผ่อนผันเป็นอย่างไร

ตอบ   1.กรณีเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือเจ็บป่วยและอยู่ในระหว่างพักรักษาตัว ตามข้อ 2.2.1 และ2.2.2 ผ่อนผันไปจนกว่าเด็กจะสามารถเข้าเรียนตามปกติได้
         2.กรณีเด็กมีความจำเป็นอื่นตามข้อ 2.2.3 ผ่อนผันได้ครั้งละหนึ่งปีการศึกษา ถ้ามีความจำเป็นต้องผ่อนผันเกินกว่าหนึ่งครั้ง ให้สถานศึกษาพิจารณาจัดการศึกษาเป็นพิเศษให้
หลักฐานที่ใช้ในการขอผ่อนผันการเข้าเรียนมีอะไรบ้าง
ถาม   หลักฐานที่ใช้ในการขอผ่อนผันการเข้าเรียนมีอะไรบ้าง

ตอบ   โดยให้ผู้ปกครองของเด็กมาแจ้งโดยนำแบบคำร้องขอผ่อนผันเด็กเข้าเรียน แนบพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้
          1. สำเนาสูติบัตรของเด็ก/สำเนาบัตรประชาชนของเด็ก/สำเนาทะเบียนบ้านเด็กฉบับเจ้าบ้านจำนวน 1 ชุด
          2. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้ง จำนวน 1 ชุด
          3. กรณีไม่มีเอกสารข้อ 1 – 2 ให้ใช้หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น หนังสือเดินทาง
                    หนังสือรับรองการเกิด ทะเบียนบ้านของบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ทร. 13)
                    หรือทะเบียนประวัติบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
          4. ใบรับรองแพทย์
Page 1 of 1