การแจ้งย้ายที่อยู่ออกจากทะเบียนบ้านเพื่อไปอยู่บ้านอื่นที่อยู่ต่างสำนักทะเบียน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม  การแจ้งย้ายที่อยู่ออกจากทะเบียนบ้านเพื่อไปอยู่บ้านอื่นที่อยู่ต่างสำนักทะเบียน ใครเป็นผู้แจ้ง  และต้องใช้หลักฐานอะไร

ตอบ  ๑.  ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
        ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่
             ๒.๑ บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้าน)
             ๒.๒ บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
             ๒.๓ บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่(ถ้ามี)
             ๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
 
การแจ้งย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม   การแจ้งย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร

ตอบ   ๑. ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
         ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่
              ๒.๑ บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหลังที่ย้ายเข้า)
              ๒.๒ บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
              ๒.๓ บัตรประจำตัวผู้ของผู้ย้ายที่อยู่ (ถ้ามี)
              ๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
              ๒.๕ ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ที่ได้มาจากการแจ้งย้ายออก ซึ่งเจ้าบ้านได้ลงชื่อยินยอมให้ย้ายเข้า
การแจ้งย้ายที่อยู่ออกและย้ายเข้าในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม   การแจ้งย้ายที่อยู่ออกและย้ายเข้าในเขตสำนักทะเบียนเดียวกัน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร       

ตอบ    ๑.  ผู้มีหน้าที่แจ้ง  ได้แก่  เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน        
          ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่
               ๒.๑  บัตรประจำตัวผู้แจ้งและเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
               ๒.๒  บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
               ๒.๓  บัตรประจำตัวของผู้ย้ายที่อยู่ (ถ้ามี)
               ๒.๔  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก และฉบับที่จะแจ้งย้ายเข้า
 
การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ถาม   การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ตอบ  
 ๑. ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ ผู้ย้ายที่อยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่        
         ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่      
              ๒.๑  บัตรประจำตัวผู้ย้ายที่อยู่     
              ๒.๒ บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมายจากผู้มีหน้าที่แจ้ง (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
              ๒.๓ บัตรประจำตัวของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน
              ๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
การแจ้งขอเลขหมายประจำบ้าน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม   การแจ้งขอเลขหมายประจำบ้าน ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร

ตอบ    ๑. ผู้มีหน้าที่แจ้ง   ได้แก่  เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
          ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง  ได้แก่
               ๒.๑ บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
               ๒.๒ บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายและหนังสือยินยอม (กรณีมอบหมายให้แจ้งแทน)
               ๒.๓ ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร  (ถ้ามี) 
                        - กรณีดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบสภาพความเป็นบ้านก่อนกำหนดเลขหมายประจำบ้านให้

 
การแจ้งการตายต้องแจ้งที่ใด ใครเป็นผู้มีหน้าที่ผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ถาม   การแจ้งการตายต้องแจ้งที่ใด ใครเป็นผู้มีหน้าที่ผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ตอบ   ๑. สถานที่รับแจ้งการตาย
              ๑.๑ คนตายในบ้าน หรือสภานพยาบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนที่มีคนตายหรือพบศพ
              ๑.๒ คนตายนอกบ้าน ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนที่มีคนตายหรือพบศพ
              ๑.๓ กรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งตายในท้องที่ที่ตายได้ ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนมีการจัดการศพ
         ๒. ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย  ได้แก่
              ๒.๑ เจ้าบ้านที่มีคนตายกรณีตายในบ้าน รวมถึงสถานพยาบาล หากไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
              ๒.๒ บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีตายนอกบ้าย
              ๒.๓ เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว กรณีแจ้งการตาย ณ ท้องที่ที่ศพอยู่หรือท้องที่ที่มีการจัดการศพ
          ๓. หลักฐานเอกสารที่ใช้ ได้แก่
              ๓.๑ บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
              ๓.๒ บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
              ๓.๓ หนังสือรับรองการาตายตามแบบ ท.ร. ๔/๑ (กรณีคนตายในสถานพยาบาล)
              ๓.๔ ใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร. ๔ ตอนหน้า (กรณีแจ้งต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
              ๓.๕ รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
              ๓.๖ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
การขอหนังสือรับรองการเกิดสามารถขอได้ที่ใด ใครเป็นผู้ยื่นขอ และใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ถาม   การขอหนังสือรับรองการเกิดสามารถขอได้ที่ใด ใครเป็นผู้ยื่นขอ และใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ตอบ  ๑. การขอหนังสือรับรองสามารถยื่นขอได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้นั้นเกิด หรือที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
        ๒. ผู้ยื่นคำขอ ได้แก่
             ๒.๑ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์  สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้
             ๒.๒ ถ้าผู้ขอหนังสือรับรองการเกิดอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเด็กเป็นผู้ยื่นคำขอแทน
        ๓. หลักฐานเอกสารที่ใช้ ได้แก่
             ๓.๑ บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (ถ้ามี)  และบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
             ๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนประวัติ อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีชื่อและรายการบุคคลของผู้ขอหนังสือรับรองการเกิด
             ๓.๓ หลักฐานเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทย (ถ้ามี) เช่น หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) หลักฐานการขึ้นทะเบียนทหาร (ส.ด.๙) หลักฐานทางการศึกษา ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว เป็นต้น
             ๓.๔ หลักฐานอื่น ๆ  (ถ้ามี) เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ เป็นต้น

การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีคนสัญชาติไทย เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม   การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีคนสัญชาติไทย เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด ใครเป็นผู้แจ้ง และต้องใช้หลักฐานอะไร

ตอบ   ๑. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่  
              ๑.๑  ผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
              ๑.๒ กรณีที่ผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกำหมายเป็นผู้ยื่นคำร้อง
         ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่
              ๒.๑ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
              ๒.๒ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
              ๒.๓ หลักฐานการเกิดของผู้ขอเพิ่มชื่อ ได้แก่ หลักฐานจดทะเบียนคนเกิด (สูติบัตร) ที่ออกให้โดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศที่บุคคลนั้นเกิดซึ่งได้แปลและรับรองคำแปลว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ ถ้าหลักฐานการเกิดไม่ปรากฏรายการสัญชาติของบิดา มารดา จะต้องเพิ่มหลักฐานทะเบียนของบิดา มารดาที่ปรากฏรายการสัญชาติไทยเพื่อยืนยันการได้สัญชาติไทยของผู้ขอเพิ่มชื่อ
การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีคนต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ใครเป็นผู้แจ้งและต้องใช้หลักฐานอะไร
ถาม   การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีคนต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ใครเป็นผู้แจ้งและต้องใช้หลักฐานอะไร

ตอบ   ๑. ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ 
         ๒. หลักฐานประกอบการแจ้ง  ได้แก่
              ๒.๑ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
              ๒.๒ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
              ๒.๓ หนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อพร้อมสำเนาซึ่งแปลเป็นภาษาไทย
              ๒.๔ พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
​เด็กอายุ ๗ ขวบ มาทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ต้องใช้หลักฐานใดบ้าง
ถาม   เด็กอายุ ๗ ขวบ  มาทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ต้องใช้หลักฐานใดบ้าง

ตอบ   หลักฐานที่ใช้ ได้แก่
         ๑. สูติบัตรฉบับจริง
         ๒. บิดา  มารดา หรือ เจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนมาให้การับรองบุคคล
เด็กอายุ ๑๖ ปี เกิดต่างประเทศ ไม่เคยทำบัตร ต้องใช้หลักฐานใดในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ถาม   เด็กอายุ  ๑๖ ปี เกิดต่างประเทศ ไม่เคยทำบัตร ต้องใช้หลักฐานใดในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ตอบ   เด็กเกิดต่างประเทศ ต้อทำเรื่องเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก
         หลักฐานที่ใช้ ได้แก่
            ๑. สูติบัตรฉบับจริง ที่มีเลขรหัสประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก
            ๒. บิดา มารดา หรือเจ้าบ้านมาให้การรับรองบุคคล
            ๓. เสียค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีทำบัตรครั้งแรกเกินกำหนด ๖๐ วัน ไม่เกิน ๑๐๐ บาท
ประชาชนถือบัตรประจำตัวประชาชน รุ่นขาว – ดำ ต้องใช้หลักฐานในในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ถาม   ประชาชนถือบัตรประจำตัวประชาชน รุ่นขาว – ดำ  ต้องใช้หลักฐานในในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ตอบ  หลักฐานที่ใช้  ได้แก่
             ๑. บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นขาว – ดำ
             ๒. หลักฐานที่ราชการออกให้ เช่น วุฒิการศึกษา ใบอนุญาตขับขี่รถ หนังสือเดินทาง (ถ้ามี)
             ๓. บุคคลน่าเชื่อถือมาให้การรับรอง เช่น บิดา มารดา บุตร หรือเจ้าบ้าน
             ๔. เสียค่าเปรียบเทียบปรับกรณีทำบัตรหมดอายุเกินกำหนด ๖๐ วัน ไม่เกิน ๑๐๐ บาท
บัตรหายและบัตรหมดอายุ ประมาณ ๕ ปี มีหลักฐานใดในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ถาม   บัตรหายและบัตรหมดอายุ ประมาณ ๕ ปี มีหลักฐานใดในการทำบัตรฯ และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ตอบ  หลักฐานที่ใช้คือ
         ๑. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น วุฒิการศึกษา หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับรถหรือบุคคลน่าเชื่อถือมาให้การรับรองบุคคล                  
         ๒. ค่าธรรมเนียมทำบัตรกรณีบัตรหาย  ๑๐๐  บาท ค่าเปรียบเทียบปรับ  ไม่เกิน  ๑๐๐ บาท
มีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านกลาง เขตมีนบุรี และต้องการทำบัตรประจำตัวประชาชน ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ถาม   มีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านกลาง เขตมีนบุรี และต้องการทำบัตรประจำตัวประชาชน ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

ตอบ   ๑. ต้องดำเนินการแสดงตนเพื่อขอย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง โดยใช้วุฒิการศึกษา ใบอนุญาตขับขี่รถ หนังสือเดินทาง หรือบุคคลน่าเชื่อถือให้การรับรอง
         ๒. โดยมีเจ้าบ้านให้การยินยอม
         ๓. ทำบัตรประจำตัวประชาชน โดยใช้บัตรเดิมแสดงตน หากไม่มีบัตรให้ทำบัตร กรณีบัตรหาย และเจ้าบ้านให้การรับรองบุคคล
         ๔. หากบัตรหายและหมดอายุเกิน ๖๐ วัน  ค่าธรรมเนียม กรณีบัตรหาย  ๑๐๐ บาท ค่าเปรียบเทียบปรับ  กรณีไม่ขอทำบัตรภายในกำหนด ๖๐ วัน  ไม่เกิน  ๑๐๐ บาท
พระภิกษุ ต้องการทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านบิดา มารดา ต้องทำอย่างไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายเท่าใด
ถาม   พระภิกษุ ต้องการทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านบิดา มารดา ต้องทำอย่างไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายเท่าใด

ตอบ   ๑. พระภิกษุต้องย้ายชื่อของตนเข้าทะเบียนบ้านของวัด  โดยมีเจ้าอาวาสให้การยินยอมและแก้ไขคำนำหน้าเป็นพระ
         ๒. ขอทำบัตรกรณีบุคลได้รับการยกเว้น  โดยใช้หนังสือสุทธิพระ บัตรเดิม (ถ้ามี)
         ๓. ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
บัตรหมดอายุนานเท่าใดจึงไม่ต้องเสียค่าปรับ
ถาม   บัตรหมดอายุนานเท่าใดจึงไม่ต้องเสียค่าปรับ

ตอบ    ไม่เกิน  ๖๐ วัน  นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ  ถ้าเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท
บัตรหายต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม   บัตรหายต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ตอบ   ๑. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย  เช่น  ใบขับขี่  วุฒิการศึกษา  หนังสือเดินทางเป็นต้น
         ๒. หากไม่มีเอกสารดังกล่าว ให้พาเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือมาให้การรักษา
         ๓. เสียค่าใช้จ่าย  ๑๐๐ บาท
         ๔. กรณีบัตรหายเกินกำหนด ๖๐ วัน  มีโทษปรับไม่เกิน  ๑๐๐ บาท
​การจดทะเบียนสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย อายุ ๑๗ ปี ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา แต่ถ้าบิดามารดาเสียชีวิตจะดำเนินการอย่างไร
ถาม   การจดทะเบียนสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย อายุ  ๑๗ ปี  ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา  แต่ถ้าบิดามารดาเสียชีวิตจะดำเนินการอย่างไร  

ตอบ    คู่สมรสทั้งสองฝ่ายยังเป็นผู้เยาว์  (อายุตั้งแต่ ๑๗ ปีบริบูรณ์)  ถ้าบิดา มารดา เสียชีวิตและไม่มีบิดาหรือมารดาบุญธรรม  หรือไม่เคยร้องขอต่อศาลตั้งผู้ปกครองตามมาตรา ๑๔๓๖ (๔) ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕๖  ได้
ในการจดทะเบียนสมรสของบุคคลต่างด้าว ปัจจุบันต้องใช้หนังสือรับรองจากสถานทูตหรือไม่
ถาม   ในการจดทะเบียนสมรสของบุคคลต่างด้าว ปัจจุบันต้องใช้หนังสือรับรองจากสถานทูตหรือไม่

ตอบ   ในการจดทะเบียนสมรสของบุคคลต่างด้าวสัญชาติใด ต้องใช้หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสของสถานทูตของสัญชาตินั้น  โดยให้นำมาแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายไทยหรือไม่  โดยเฉพาะคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔๕๒  คือ  ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
การหย่า ไม่มีพยานบุคคลมาด้วย แต่ยืนยันที่จะจดทะเบียนหย่า จะหย่าได้หรือไม่
ถาม   การหย่า ไม่มีพยานบุคคลมาด้วย แต่ยืนยันที่จะจดทะเบียนหย่า จะหย่าได้หรือไม่

ตอบ    ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๑  ข้อ ๒๐ (๓) ให้ผู้ร้องและพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนการหย่า (คร.๖) ดังนั้น จึงต้องมีพยานในการจดทะเบียนการหย่า
อำนาจปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคู่หย่า มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร
ถาม   อำนาจปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคู่หย่า มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร

ตอบ   การหย่าโดยความยินยอม สามี ภริยา ต้องตกลงกันเป็นหนังสือว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด  ตามนัย  ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๒๐  วรรคหนึ่ง  ซึ่งจะเป็นการตัดอำนาจปกครองบุตรของอีกฝ่ายหนึ่ง  เนื่องจากบิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกำหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ ตามนัย ป.พ.พ.  มาตรา ๑๕๖๖  (๖)  หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตรในภายหลังจากที่มีการตกลงเป็นหนังสือ  (สัญญาหย่า)  แล้ว  จะต้องร้องขอต่อศาลเท่านั้น
ตอนหย่าขาดจากกัน อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดา ต่อมาบิดาเสียชีวิต อยากทราบว่าอำนาจปกครองบุตรจะเปลี่ยนเป็นมารดาโดยอัตโนมัติหรือไม่ อย่างไร
ถาม   ตอนหย่าขาดจากกัน  อำนาจปกครองบุตรอยู่กับบิดา  ต่อมาบิดาเสียชีวิต อยากทราบว่าอำนาจปกครองบุตรจะเปลี่ยนเป็นมารดาโดยอัตโนมัติหรือไม่  อย่างไร

ตอบ  แม้ว่าการหย่าจะตกลงกันให้สามีหรือภริยาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ตามเป็นเรื่องการตกลงตาม ป.พ.พ.  มาตรา ๑๕๒๐  วรรคหนึ่ง  ประกอบมาตรา ๑๕๖๖ วรรคสอง (๖)  เท่านั้น  มิใช่เป็นกรณีที่มารดาถูกถอนอำนาจปกครอง  เพราะการจะถอนอำนาจปกครองจะต้องมีเหตุตามมาตรา ๑๕๘๒ และเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น  ถ้าบิดาหรือมารดา  ซึ่งมีอำนาจปกครองบุตรเสียชีวิต  บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองคนต่อไปแทน
ภรรยาได้ฟ้องหย่าสามีและมีคำพิพากษาของศาลแล้ว แต่ยังไม่ได้มาบันทึกหย่าที่สำนักทะเบียนอำเภอ เวลาผ่านไปประมาณ ๑ ปี แล้ว อยากถามว่ามีกำหนดระยะเวลาที่จะนำคำพิพากษามาใช้จดทะเบียนหย่าหรือไม่ อย่างไร
ถาม   ภรรยาได้ฟ้องหย่าสามีและมีคำพิพากษาของศาลแล้ว  แต่ยังไม่ได้มาบันทึกหย่าที่สำนักทะเบียนอำเภอ เวลาผ่านไปประมาณ ๑ ปี  แล้ว  อยากถามว่ามีกำหนดระยะเวลาที่จะนำคำพิพากษามาใช้จดทะเบียนหย่าหรือไม่ อย่างไร

ตอบ  ไม่มีกำหนดระยะเวลา ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๑  วรรคสอง การหย่าโดยคำพิพากษามีผล แต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด  แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้  เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คู่หย่าฝ่ายที่ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนจะต้องนำพยาน ๒ คน มาลงชื่อต่อหน้านายทะเบียนด้วยหรือไม่
ถาม   การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล  คู่หย่าฝ่ายที่ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนจะต้องนำพยาน ๒ คน  มาลงชื่อต่อหน้านายทะเบียนด้วยหรือไม่

ตอบ  จะต้องนำพยานไปด้วย  ๒ คน  ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๑  ข้อ ๒๒
กรณีจดทะเบียนการหย่าโดยที่ฝ่ายชายบวชเป็นพระอยู่แต่ไม่สะดวกมาที่อำเภอนั้นต้องปฏิบัติอย่างไร
ถาม   กรณีจดทะเบียนการหย่าโดยที่ฝ่ายชายบวชเป็นพระอยู่แต่ไม่สะดวกมาที่อำเภอนั้นต้องปฏิบัติอย่างไร

ตอบ   การบวชเป็นพระภิกษุ ไม่เป็นเหตุให้ขาดจากการสมรส ดังนั้น  นายทะเบียนต้องแจ้งให้ฝ่ายหญิงทราบว่า  หากประสงค์จะหย่าทำได้ ๒ วิธี คือ หย่าโดยความยินยอม, หย่าโดยคำพิพากษาของศาล
กรณีฝ่ายหญิงจดทะเบียนสมรส มีการบันทึกในทะเบียนสมรสว่าประสงค์ใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” และใช้ชื่อสกุลตามสามี ต่อมาได้ขอตดทะเบียนหย่า และประสงค์ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” โดยฝ่ายหญิงยังไม่ได้แก้ไขรายการคำนำหน้านามจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และเปลี่ยนไปใช้ชื่อส
ถาม   กรณีฝ่ายหญิงจดทะเบียนสมรส  มีการบันทึกในทะเบียนสมรสว่าประสงค์ใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” และใช้ชื่อสกุลตามสามี ต่อมาได้ขอตดทะเบียนหย่า และประสงค์ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”  โดยฝ่ายหญิงยังไม่ได้แก้ไขรายการคำนำหน้านามจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลตามสามีให้ถูกต้อง สามารถดำเนินการจดทะเบียนหย่าได้หรือไม่

ตอบ  นายทะเบียนจะยังไม่จดทะเบียนการหย่าให้ ฝ่ายหญิงจะต้องดำเนินการแก้ไขหลักฐานดังกล่าวให้ถูกต้องตามกำหมายเสียก่อน
การจดทะเบียนรับรองบุตร เด็กต้องมีอายุกี่ปีจึงจดทะเบียนรับรองบุตรได้ และนอกจากนั้นจะใช้หลักฐานอะไรจึงจดทะเบียนรับรองบุตรได้
ถาม   การจดทะเบียนรับรองบุตร  เด็กต้องมีอายุกี่ปีจึงจดทะเบียนรับรองบุตรได้ และนอกจากนั้นจะใช้หลักฐานอะไรจึงจดทะเบียนรับรองบุตรได้

ตอบ   - บิดาจะจดทะเบียนรับรองเด็กที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๕  โดยที่ไม่ได้ระบุอายุของเด็กเอาไว้ ซึ่งนายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็กและเด็กนั้นควรรู้ผิด รู้ชอบตามปกติสามัญ หากเป็นกรณีดังกล่าวเด็กก็สามารถให้ความยินยอมได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของเด็กแต่ละราย โดยไม่ต้องคำนึงว่าเด็กจะมีอายุเท่าใด ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๓๐๒/๔๒๒๗ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๖
         - หากเป็นกรณีเด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา ทำให้ไม่อาจให้ให้ความยินยอมได้ด้วยตัวเอง การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรในกรณีเช่นนี้ต้องมีคำพิพากษาของศาลเสียก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๘ วรรค ๓  (ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา  นส. นร.๐๖๐๑/๘๓๘ ลว. ๓๐  มิ.ย. ๒๕๓๕)
จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีบิดามารดาเสียชีวิตแล้วทั่งคู่ ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมคือใคร
ถาม   จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีบิดามารดาเสียชีวิตแล้วทั่งคู่  ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมคือใคร

ตอบ    กรณีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วไม่ต้องมีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม แต่หากบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมือได้รับความยินยอมของบิดาและ/หรือมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ให้ผู้ประสงค์จะรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๑๕๙๘/๒๑
กรณีผู้เยาว์ สัญชาติไทย ชาวต่างชาติสามารถจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ อย่างไร
ถาม   กรณีผู้เยาว์ สัญชาติไทย ชาวต่างชาติสามารถจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ    ชาวต่างชาติ สามารถจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ โดยยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม   ณ  ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ภายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีก่อน ตามนัย พ.ร.บ. รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒  มาตรา ๖๐ วรรค ๒  เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจึงนำเอกสารหลักบานที่เกี่ยวข้อง มายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม  ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/เขต ตามมาตร ๒๒ แห่ง  พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๘
การเปลี่ยนชื่อตัว เป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่ดูจากเว็บไซต์แล้วมีความหมายจะตั้งได้หรือไม่
ถาม   การเปลี่ยนชื่อตัว เป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่ดูจากเว็บไซต์แล้วมีความหมายจะตั้งได้หรือไม่

ตอบ   การเปลี่ยนชื่อตัวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์  พ.ร.บ. ชื่อบุคคล ฑ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๖  และมาตรา ๑๖  และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการทะเบียนชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๑  ข้อ ๕ ข้อ ๖  กรณีการเปลี่ยนชื่อตัว  เป็นอักษรซึ่งไม่มีการบัญญัติคำศัพท์  คำอ่าน  คำสะกดหรือคำแปลไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  แต่หากผู้ยื่นคำขอสามารถแสดงหลักฐานพจนานุกรมฉบับอื่น  หรือหลักฐานที่หน่วยงานราชการกำหนดความหมายไว้ ซึ่งยืนยันได้ว่ามีคำสะกดหรือคำแปลที่ไม่มีความหมายหยาบคาย  ทั้งผู้ขอไม่มีเจตนาทุจริตก็สามารถดำเนินการให้ได้
มารดาจดทะเบียนใหม่และใช้ชื่อสกุลของสามีใหม่ บุตรจะขอใช้ชื่อสกุลใหม่ตามมารดาได้หรือไม่เพราะเหตุใด
ถาม   มารดาจดทะเบียนใหม่และใช้ชื่อสกุลของสามีใหม่ บุตรจะขอใช้ชื่อสกุลใหม่ตามมารดาได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ตอบ    บุตรไม่สามารถใช้ชื่อสกุลของมารดาที่ใช้ปัจจุบัน (ชื่อสกุลของสามีใหม่)  เพราะบุตรมีบิดาผู้ให้กำเนิดและใช้ชื่อสกุลของบิดาผู้ให้กำเนิดแล้ว ตามนัย  ป.พ.พ. บรรพ ๕  มาตรา ๑๕๖๑ แต่บุตรสามารถใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาก่อนจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่ได้
เดิมบุตรใช้ชื่อสกุลบิดา หากมารดาจะขอเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือไม่ (ทั้งในกรณีที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรสและกรณีจดทะเบียนหย่าแล้ว)
ถาม   เดิมบุตรใช้ชื่อสกุลบิดา  หากมารดาจะขอเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา  ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือไม่  (ทั้งในกรณีที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียนสมรสและกรณีจดทะเบียนหย่าแล้ว)

ตอบ    ๑. กรณีที่จดทะเบียนสมรส  และถึงแม้จะจดทะเบียนหย่าแล้ว ก็ไม่ทำให้ความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายสิ้นสุดไปบุตรเป็นผู้เยาว์  หากมารดาจะขอเปลี่ยนให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา โดยให้เรียกบิดา มารดา มาสอบปากคำต่อหน้านายทะเบียนท้องที่ แล้วบันทึกปากคำให้ปรากฏความยินยอมของ บิดาพร้อมเหตุผลของมารดาที่ร้องขอประกอบส่วนการลงนามแทนผู้เยาว์กรณีจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ผู้มีอำนาจปกครองบุตรตามบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามแทนผู้เยาว์บุตรบรรลุนิติภาวะ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลมารดาได้ และเป็นสิทธิของบุตรที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเอง เพราะบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา  ตามนัย  ป.พ.พ. มาตรา
๑๕๖๑  (วรรค  ๒) กรณีไม่จดทะเบียนสมรสตามนัย  ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๔๖  มารดาสามารถใช้อำนาจปกครองทำการแทนบุตรเพื่อขอแก้ไขชื่อสกุลของบิดาไปใช้ชื่อสกุลของมารดาได้โดยไม่ต้องให้บิดายินยอมแต่อย่างใดบุตรบรรลุนิติภาวะ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลมารดาได้  และเป็นสิทธิของบุตรที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเอง เพราะบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา ตามนัย  ป.พ.พ.  มาตรา ๑๕๖๑  (วรรค ๒)
นาย ก. จดทะเบียนรับ นาย ข. เป็นบุตรบุญธรรม และนาย ข. ได้แก้ไขชื่อสกุลเปลี่ยนชื่อสกุลเดียวกับ นาย ก. (บิดาบุญธรรม) กรณีดังนี้บุตรทุกคนของ นาย ข. จะขอแก้ไขชื่อสกุลตามบิดาได้หรือไม่ และจะต้องขออนุญาตต่อ นาย ก. (บิดาบุญธรรม) หรือไม่
ถาม   นาย  ก.  จดทะเบียนรับ  นาย  ข.  เป็นบุตรบุญธรรม  และนาย ข.  ได้แก้ไขชื่อสกุลเปลี่ยนชื่อสกุลเดียวกับ  นาย  ก. (บิดาบุญธรรม)  กรณีดังนี้บุตรทุกคนของ  นาย  ข. จะขอแก้ไขชื่อสกุลตามบิดาได้หรือไม่  และจะต้องขออนุญาตต่อ  นาย  ก.  (บิดาบุญธรรม)  หรือไม่

ตอบ    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บรรพ  ๕  มาตรา  ๑๕๖๑  บัญญัติในวรรคแรกว่า “บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา”  กรณีนี้บุตรทุกคนของ  นาย  ข. จึงมีสิทธิที่จะใช้ชื่อสกุลตามบิดาได้  โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต  นาย  ก. ก่อน  
Page 1 of 1