จดทะเบียนสมาคมต้องดำเนินการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     จดทะเบียนสมาคมต้องดำเนินการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม กรรมการของสมาคมต้องไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำร้อง ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคมจะจัดตั้งขึ้น หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
  1. ส.ค. 1
  2. ข้อบังคับสมาคม
  3. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คน
  4. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
  5. รายงานการประชุมจัดตั้งสมาคม
  6. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
  7. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่จัดตั้งสมาคมจากเจ้าของสถานที่ พร้อมด้วยหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครอง
  8. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่จะเป็นสมาชิกและผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
  9. เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรองผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม/กรรมการสมาคมที่เป็นคนต่างด้าวให้แนบหนังสือเดินทาง/หนังสืออนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทยกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาหรือส่งเสริมการกีฬาโดยตรง/หนังสืออนุญาตให้ใช้ตราสัญญลักษณ์ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง
การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคม ต้องทำอย่างไร
ถาม    การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคม ต้องทำอย่างไร
ตอบ    ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค. 2 ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติในที่ประชุม ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ นายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยื่นคำร้อง ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่
หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
  1. ส.ค. 2
  2. รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
  3. ข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่และฉบับเก่า
  4. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับของของสมาคมฉบับใหม่และฉบับเก่า
  5. ในกรณีที่เปลี่ยแปลงสถานที่ตั้ง ให้แนบแผนผังที่ตั้งโดยสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่จัดตั้งสมาคมจากเจ้าของสถานที่ พร้อมด้วยหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครอง
  6. สำเนาใบสำคัญ ส.ค. 4 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) หรือ
  7. สำเนาใบสำคัญ ส.ค. 6 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งใกรรมการขึ้นหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมมาแล้ว)
หากต้องการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ต้องทำอย่างไร
ถาม     หากต้องการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ต้องทำอย่างไร
ตอบ     ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค. 3 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม
ผู้ยื่นคำร้องได้แก่นายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยื่นคำร้องได้ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
  1. ส.ค. 3
  2. รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการของสมคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
  3. ข้อบังคับเก่าและข้อบังคับใหม่
  4. รายชื่อกรรมการเก่าและกรรมการใหม่
  5. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนและภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่
  6. สำเนาใบสำคัญ ส.ค. 4 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) หรือ
  7. สำเนาใบสำคัญ ส.ค. 6 (กรณีสมาคมที่ได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งใกรรมการขึ้นหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมมาแล้ว)
  8. เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรองผู้ที่จะเป็นกรรมการของสมาคม/กรรมการสมาคมที่เป็นคนต่างด้าวให้แนบหนังสือเดินทาง
หากยื่นขอจดทะเบียนล่าช้าต้องเสียค่าปรับหรือไม่
ถาม     หากยื่นขอจดทะเบียนล่าช้าต้องเสียค่าปรับหรือไม่
ตอบ     1. จดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด
หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ยื่นคำขอภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ หากเกินกำหนดจะต้องถูกดำเนินคดีระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2. จดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคม ยื่นคำขอภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ หากเกินกำหนด จะต้องถูกดำเนินคดีระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
3. จดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ยื่นคำขอภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม หากเกินกำหนด จะต้องถูกดำเนินคดีระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
การจดเลิกทะเบียนสมาคมต้องทำอย่างไร
ถาม     การจดเลิกทะเบียนสมาคมต้องทำอย่างไร
ตอบ     ยื่นคำขอ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิกสมาคม/ ผู้ยื่นคำร้องได้แก่นายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกสมาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยื่นคำร้องได้ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ หลักฐานที่ใช้
  1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) ฉบับจริง
  2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นให้ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคม
  3. ข้อบังคับสมาคม
  4. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
  5. สำเนารายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่สมาคมที่มีมติให้เลิกสมาคม
  6. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องดำเนินการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องดำเนินการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำร้องตามแบบ ม.น. 1  /ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานมูลนิธิเป็นผู้ลงนามในคำขอ) ยื่นคำร้อง ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของมูลนิธิ  จะจัดตั้งขึ้น หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
1. ม.น.1
2. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ พร้อมหนังสือรับรองธนาคารหรือสถาบันการเงิน บัญชีเงินฝากเจ้าของทรัพย์สิน สำเนาโฉนดที่ดินและหนังสือประเมินราคาที่ดิน (กรณียกที่ดินให้มูลนิธิ)
3. รายชื่อ อายุ ที่อยู่ อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ของกรรมการมูลนิธิทุกคน (ทำเป็นตาราง) กรรมการมูลนิธิ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ, รองประธานกรรมการมูลนิธิ, เลขานุการมูลนิธิ, เหรัญญิก และกรรมการอื่นๆ จำนวนตามที่เห็นสมควรว่าสามารถดำเนินกิจการของมูลนิธิได้ของผู้ที่จะเป็นกรรมการมูลนิธิทุกคน (กรรมการมูลนิธิต้องมีอย่างน้อย 3 คน)
4. ข้อบังคับของมูลนิธิ ต้องมีสาระสำคัญประกอบด้วย
    4.1 ชื่อมูลนิธิ
    4.2 วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
    4.3 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสาขา (ถ้ามีสาขา)
    4.4 ทรัพย์สินของมูลนิธิขณะจัดตั้ง
    4.5 ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของมูลนิธิ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระ การดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
    4.6 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิ การจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
5. หนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ (ถ้าเป็นเงินต้องมีหนังสือรับรองจากธนาคารว่าผู้ให้มีเงินฝากในบัญชีของธนาคาร ตามจำนวนที่จะให้แก่มูลนิธิ) ผู้ให้คำมั่น และผู้รับคำมั่นต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลตามข้อ 1 และข้อ 2
7. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
8. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่จัดตั้งสมาคมจากเจ้าของสถานที่ พร้อมด้วยหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครอง (แนบหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้าง โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายที่ระบุเลขหมายประจำบ้าน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
9. สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ให้มีรายละเอียดว่าใครจะดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิชื่ออะไร   มีวัตถุประสงค์ใด ใครเป็นกรรมการ มอบหมายให้ใครมาดำเนินการ)
10. เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสืออนุญาตจากเจ้าของชื่อ ทายาท ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง/ กรรมการมูลนิธิที่เป็นคนต่างด้าวให้แนบหนังสือเดินทาง
 
เอกสารประกอบการขออนุญาตจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     เอกสารประกอบการขออนุญาตจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิใหม่ทั้งชุด
หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการประชุมลงมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม/ ผู้ยื่นคำร้องได้แก่ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ของมูลนิธิ ยื่นคำร้องได้ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด) 
  1. ม.น.2
  2. สำเนารายงานการประชุม
  3. สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิชุดเดิม
  4. รายชื่อ อายุ ที่อยู่ อาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่จะเป็นกรรมการมูลนิธิที่ขอแต่งตั้บงใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลง
  5. สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการมูลนิธิที่ขอแต่งตั้งใหม่
  7. เอกสารอื่น ๆ เช่น บันทึกคำให้การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของผู้ที่จะเป็นกรรมการมูลนิธิ/ สำเนาใบสำคัญ ม.น.3 (กรณีเป็นมูลนิธิที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) หรือ/ สำเนาใบสำคัญ ม.น.4 ฉบับล่าสุด (กรณีเป็นมูลนิธิที่ได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการขึ้นหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิมาแล้ว/ กรรมการมูลนิธิที่เป็นคนต่างด้าวให้แนบหนังสือเดินทาง)
การจดทะเบียนจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     การจดทะเบียนจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำร้องตามแบบ ม.น. 2 ภายใน 30 วัน/ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานมูลนิธิ/ ยื่นคำร้อง ณ  ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่  / หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
  1. สำเนารายงานการประชุม
  2. สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ (ปัจจุบัน)
  3. แบบแสดงรายการข้อบังคับที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม
  4. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่งใหม่ของมูลนิธิและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่จัดตั้งสมาคมจากเจ้าของสถานที่ พร้อมด้วยหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการครอบครอง
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาใบสำคัญ ม.น.3 (กรณีเป็นมูลนิธิที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ซึ่งยังไม่เคยแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมาก่อน) / สำเนาใบสำคัญ ม.น.4 ฉบับล่าสุด (กรณีเป็นมูลนิธิที่ได้รับการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการขึ้นหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิมาแล้ว
การจดเลิกมูลนิธิต้องทำอย่างไร
ถาม     การจดเลิกมูลนิธิต้องทำอย่างไร
ตอบ     ยื่นคำร้องตามแบบ ม.น. 6 ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีคณะกรรมการมีมติใหลิกมูลนิธิ/ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานมูลนิธิ/ ยื่นคำร้อง ณ  ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตที่สำนักงานแห่งใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่  / หลักฐานที่ใช้ (3 ชุด)
  1. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น..3) ฉบับจริง
  2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นให้ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิ (ม.น. 4) ฉบับจริง
  3. ข้อบังคับของมูลนิธิที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
  4. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
  5. สำเนารายงานการประชุมของที่ประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
  6. กรณี ม.น. 3 หรือ ม.น. 4 สูญหาย ให้แนบสำเนาใบแจ้งความ
การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง (กรณีบุคคลธรรมดา)
ถาม     การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง (กรณีบุคคลธรรมดา)
ตอบ    หลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์ ประกอบด้วย
          1. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของกิจการ/เจ้าบ้าน (ที่ตั้งสำนักงาน)/ เจ้าของกรรมสิทธิ์(ที่ตั้งสำนักงาน)
          2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ/ เจ้าบ้านหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ / สำเนาที่ตั้งสำนักงาน
          3. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือ สัญญาเช่า (ให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจ)
          4. สัญญาซื้อขาย หรือ ใบขอหมายเลขประจำบ้าน (กรณีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ /ทะเบียนบ้านเปล่าไม่มี
    ใครมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
          5. หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
          6. หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วนพร้อมติดอากรแสตมป์
          7. รูปถ่ายร้านค้าพร้อมสินค้า (ให้ปรากฎเลขที่ตั้งสำนักงาน ชื่อร้าน) กรณีร้านเกมส์/ ร้านอินเทอร์เน็ต
    ให้ถ่ายรูปบริเวณหน้าร้านและในร้านที่ตั้งเครื่องฯ
          10. แผนที่ตั้งสถานประกอบพาณิชยกิจ (เส้นทางตั้งแต่สำนักงานเขตไปยังสถานประกอบการ)
          11. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร 10 บาท (ถ้ามี)
          12. บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
หมายเหตุ  กรณีนิติบุคคลให้แนบเอกสารของผู้เป็นหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง
การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนอย่างไร ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ถาม     การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนอย่างไร ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
ตอบ     1. ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
               1.1 ทำเว็บไซต์ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมออนไลน์
               1.2 หากขายตรงผ่านสื่อโซเชี่ยล เช่น ไลน์ เฟสบุ๊คส์ IG ต้องขออนุญาตขายตรงที่ สคบ. สายด่วน  1166 ยกเว้นขายบนเว็บไซต์ตลาดกลางขายสินค้า/บริการ เช่น LAZADA, lnWshop
           2. หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
               2.1 สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
               2.2 สำเนาทะเบียนที่ประกอบการ
               2.3 Print หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ สินค้า/บริการที่ประกอบพาณิชยกิจ และวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชําระเงิน วิธีการส่งสินค้า
               2.4 แผนที่ตั้งสถานประกอบพาณิชยกิจ (เส้นทางตั้งแต่สำนักงานเขตไปยังสถานประกอบการ)
กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน (เอกสารเพิ่มเติม)
  1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญาเช่าที่ระบุให้ใช้สถานที่ประกอบกิจการค้า ฯลฯ  และ
  2. สําเนาบัตรประชาชน/สําเนาทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน หรือเอกสารสิทธิ์ที่แสดงว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์    (กรณีทะเบียนบ้านเปล่าไม่มีใครมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
การจดทะเบียนพาณิชย์กรณีการตั้งชื่อร้านสามารถซ้ำกันได้หรือไม่
ถาม     การจดทะเบียนพาณิชย์กรณีการตั้งชื่อร้านสามารถซ้ำกันได้หรือไม่
ตอบ     การตั้งชื่อร้านสามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ 
เว็บไซต์ประเภทใดบ้างที่ต้องจดทะเบียน
ถาม     เว็บไซต์ประเภทใดบ้างที่ต้องจดทะเบียน
ตอบ     1. เว็บไซต์ที่มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่นๆ มีระบบการ
          ชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต
          หรือ e-cash เป็นต้น
          2. เว็บไซต์ที่ระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขาย
              บริการ) เช่น บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ การรับสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
          3. รับจ้างโฆษณาสินค้า หรือบริการของผู้อื่น หรือมีรายได้จากการโฆษณานั้น
          4. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ โดยผ่านระบบเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
          5. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น
          6. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download
             โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
เว็บไซต์ประเภทใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียน
ถาม     เว็บไซต์ประเภทใดบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียน
ตอบ     1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมี
              ข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจ โทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่….
          2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและ
              ไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
          3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น
              เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
          4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
          5. เว็บไซต์ส่วนตัว ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
          6. เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่า
              สมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใดๆ
          7. ร้านอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต
              (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียน
              เป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ (ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา
              ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce )
เพราะเหตุใดการรับเหมาก่อสร้าง การรับจ้างทำของ งานซ่อมบำรุง และงานบริการต่างๆ จึงไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้
ถาม     เพราะเหตุใดการรับเหมาก่อสร้าง การรับจ้างทำของ งานซ่อมบำรุง และงานบริการต่างๆ  จึงไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ 
ตอบ     การประกอบกิจการเหล่านี้เป็นการให้บริการซึ่งยังไม่ได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาให้เป็นพาณิชยกิจ
รวมทั้งยังไม่ได้ประกาศให้เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ดังนั้นจึงไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบการรับจ้างขนส่งสินค้า มายื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อนำไปเป็นหลักฐานกับสำนักงาน ขนส่ง การประกอบกิจการขนส่งสินค้าสามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้หรือไม่
ถาม     ผู้ประกอบการรับจ้างขนส่งสินค้า มายื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์เพื่อนำไปเป็นหลักฐานกับสำนักงาน
ขนส่ง การประกอบกิจการขนส่งสินค้าสามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้หรือไม่
ตอบ     ให้ผู้ประกอบการพาณิชย์ ดังต่อไปนี้ทุกท้องที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ “การขนส่งทางทะเล การขนส่ง
โดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม”
การขนส่ง ตามนัยของประกาศในส่วนของการขนส่ง คือ ขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์ประจำทางที่มีสัมปทานเดินรถโดยกำหนดเส้นทางที่แน่นอน ซึ่งหากเป็นการขนส่งสินค้าหรือวัสดุก่อสร้างจะไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ดังนั้นจึงไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรืออีกนัยหนึ่งคือ ไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องการโอนกิจการให้แก่บุคคลอื่นสามารถกระทำได้หรือไม่
ถาม     ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องการโอนกิจการให้แก่บุคคลอื่นสามารถกระทำได้หรือไม่
ตอบ     การจดทะเบียนพาณิชย์ถือเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล ไม่สามารถโอนกิจการให้บุคคลอื่นได้ ต้อง
ดำเนินการโดยให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจรายเดิมยื่นจดทะเบียนเลิกก่อน แล้วให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ รายใหม่ยื่นจดทะเบียนตั้งใหม่ โดยระบุไว้ในข้อ 9 ในคำขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.) ว่ารับโอนกิจการนี้จาก “ระบุชื่อผู้ประกอบพาณิชยกิจรายเดิม” ทั้งนี้จะยื่นจดทะเบียนพร้อมกันในวันเดียวกันก็ได้ แต่ให้ยื่นจดทะเบียนเลิกก่อนแล้วจึงจดทะเบียนตั้งใหม่
กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจหลายรายต้องการจดทะเบียนพาณิชย์โดยใช้บ้านเลขที่เดียวกัน หรือกรณีผู้ประกอบการรายเดียวแต่ต้องการจดทะเบียนพาณิชย์หลายใบ สามารถรับจดทะเบียนได้หรือไม่
ถาม     กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจหลายรายต้องการจดทะเบียนพาณิชย์โดยใช้บ้านเลขที่เดียวกัน หรือกรณี ผู้ประกอบการรายเดียวแต่ต้องการจดทะเบียนพาณิชย์หลายใบ สามารถรับจดทะเบียนได้หรือไม่
ตอบ     ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์
พ.ศ.2499 กำหนดไว้คือต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย ซึ่งอาจแลเห็นได้และต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ไว้ที่หน้าที่สำนักงานแห่งใหญ่
ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบพาณิชยกิจหลายราย หรือรายเดียวแต่ประกอบการหลายอย่าง สามารถดำเนินการดังกล่าวได้โดยชัดแจ้งแล้ว ก็สามารถใช้ที่ตั้งแห่งเดียวกันได้ รวมทั้งการระบุชนิดแห่งพาณิชยกิจในใบทะเบียนพาณิชย์สามารถระบุรายละเอียดสินค้าที่จำหน่ายไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงได้ตามความต้องการของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ จะต้องจดทะเบียนเลิกประกอบการพาณิชยกิจก่อนหรือไม่
ถาม     การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ จะต้องจดทะเบียนเลิกประกอบการพาณิชยกิจก่อนหรือไม่
ตอบ     การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ สามารถดำเนินการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสำนักงาน
แห่งใหญ่ได้เลย โดยไม่ต้องเลิกประกอบการพาณิชยกิจเดิม  (ยื่นคำขอ ณ สำนักงานที่จดทะเบียนพาณิชย์ต้นทาง)
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีอะไรบ้าง
ถาม     พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีอะไรบ้าง
ตอบ     1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
          2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
          3. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
          4. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระรากฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
          5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
          6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
คนต่างด้าวจะมาทำพินัยกรรม หรือเป็นผู้รับพินัยกรรมได้หรือไม่
ถาม     คนต่างด้าวจะมาทำพินัยกรรม หรือเป็นผู้รับพินัยกรรมได้หรือไม่
ตอบ     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเรืองมรดกและพินัยกรรม)
ไม่มีบทบัญญัติห้ามคนต่างด้าวมาทำพินัยกรรม หรือเป็นผู้รับพินัยกรรม แต่การที่คนต่างด้าวมาติดต่อขอทำพินัยกรรมที่สำนักงานเขต สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ
1. เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกับคนต่างด้าวได้หรือไม่ หากสื่อสารไม่ได้ต้องมีล่ามมาทำหน้าที่แปลภาษา
2. การแปลเอกสารเอกสารของคนต่างด้าวเป็นภาษาไทย ชื่อคนต่างด้าวต้องแปลให้เหมือนกับเอกสารที่เคยแปลไว้ก่อนหน้านี้
เอกสารที่ใช้ในการทำพินัยกรรมมีอะไรบ้าง
ถาม     เอกสารที่ใช้ในการทำพินัยกรรมมีอะไรบ้าง
ตอบ     1. ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนผู้ทำพินัยกรรม          
          2. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แจ้งไว้
          3. พยาน 2 คน (พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชน)
          4. ใบรับรองแพทย์ (กรณีผู้ทำพินัยกรรมมีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป หรือป่วย ควรมีใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์)
พินัยกรรมมีกี่แบบ
ถาม     พินัยกรรมมีกี่แบบ
ตอบ     พินัยกรรมมี 5 แบบ
  1. พินัยกรรมแบบธรรมดา มีหลักเกณฑ์ในการทำ ดังต่อไปนี้
            - ต้องทำเป็นหนังสือ/ ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์โดยเจ้ามรดกหรือคนอื่นแทนก็ได้
            - ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมนั้น
            - เจ้ามรดกต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
      2.  พินัยกรรมแบบขียนขึ้นเองทั้งฉบับ
            - เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมทั้งฉบับด้วยลายมือของตนเอง
            - ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมนั้น
            - เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรมนั้น จะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้
               (ไม่จำเป็นต้องมีพยานรู้เห็น)
      3. พินัยกรรมแบเอกสารฝ่ายเมือง  ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้
      4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเอกสารลับ โดยผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนพินัยกรรม ผนึกพินัยกรรมแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้นแล้วนำไปแสดงต่อนายอำเภอ ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้และพยานอย่างน้อย 2 คน
      5. พินัยกรรมแบบวาจา ใช้เฉพาะกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้เสียชีวิต เกิดโรคระบาด หรือสงคราม
พระภิกษุ สามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่
ถาม     พระภิกษุ สามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่
ตอบ     พระภิกษุสามารถทำพินัยกรรมได้ ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุได้จำหน่ายไประหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
จะเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำอย่างไร
ถาม     จะเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำอย่างไร
ตอบ     เพิกถอนพินัยกรรมต้องทำได้โดย
  1. ทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน
  2. การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ
  3. การโอนหรือการทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยคสามสมัครใจ
  4. การทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดแย้งกับพินัยกรรมฉบับก่อน
ต้องการขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (รับรองโสด) ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     ต้องการขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (รับรองโสด) ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำร้อง ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตแห่งที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ตามทะเบียนบ้าน เอกสารที่ใช้
  1. ทะเบียนบ้าน
  2. บัตรประชาชน
  3. พยานรับรอง 2 คน
รับรองลายมือชื่อให้ความยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถาม     รับรองลายมือชื่อให้ความยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ตอบ     ยื่นคำร้อง ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตแห่งที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ตามทะเบียนบ้าน เอกสารที่ใช้
  1. ทะเบียนบ้าน บิดา / มารดา/ ผู้เยาว์
  2. บัตรประชาชน บิดา / มารดา/ ผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  3. สูติบัตรผู้เยาว์
  4. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล บิดา /มารดา/ ผู้เยาว์
  5. ทะเบียนสมรส
ขอหนังสือรับรองใช้อำนาจปกครองบุตร เพื่อนำไปยื่นขอ Passport /Visa ต้องทำอย่างไร
ถาม     ขอหนังสือรับรองใช้อำนาจปกครองบุตร เพื่อนำไปยื่นขอ Passport /Visa ต้องทำอย่างไร
ตอบ     การขอหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร หรือ ป.ค.14 กรณีบุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรส เพื่อนำไปยื่นขอ Passport / Visa ยื่นคำร้อง ณ  ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตแห่งที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ตามทะเบียนบ้าน เอกสารที่ใช้
          1. ทะเบียนบ้าน มารดา/ ผู้เยาว์/ พยาน
          2. บัตรประชาชน มารดา/ ผู้เยาว์ (ถ้ามี)/ พยาน
          3. สูติบัตร
          4. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้ามี)
          5. พยานรับรอง 2 คน (บุคคลที่เชื่อถือได้ที่ทราบเรื่องราวโดยตรง)
Page 1 of 1