Chat Icon

เขตบางขุนเทียน ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการดำเนิน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
image

(21 ก.พ. 66) นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน พร้อมนายโกศล สิงหนาท ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน ผู้แทนจากกรมทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่ง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน โดยปัจจุบันป่าชายเลนบางขุนเทียน มีพื้นที่ทำแปลงปลูกป่าชายเลนทั้งหมด 12 พื้นที่ รวม 333 ไร่โดยปัจจุบันได้ดำเนินการปลูกต้นโกงการด้วยนวัตกรรมและวิธีการต่างๆ ประกอบด้วย
การปลูกในกระบะรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
การปลูกในวงบ่อซีเมนต์คอนกรีต (คอนโด)
การปลูกในวงบ่อซีเมนต์ (1 วง)
การปลูกในกระบอกไม้ไผ่
การปลูกในท่อซีเมนต์

สำหรับการปลูกต้นกล้าโกงกางในท่อซีเมนต์ เป็นการพัฒนารูปแบบการปลูกป่าชายเลนเพื่อให้ต้นกล้าโกงกางปลอดภัยจากคลื่นทะเลที่ซัดเข้ามา สามารถยืนต้นได้โดย
ไม่โค่นล้มหรือถูกน้ำทะเลซัดหายไป โดยใช้วิธีการปักท่อซีเมนต์ลงไปในแปลงปลูกที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นนำดินโคลนใส่ลงไปในท่อซีเมนต์ แล้วนำต้นกล้าโกงกางปลูก
ลงไปในท่อซีเมนต์ เพื่อเลี้ยงต้นกล้าโกงกาง ให้เจริญเติบโตแข็งแรง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นโกงกาง เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน อันเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนโดยสำนักงานเขตบางขุนเทียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมปลูกต้นกล้าโกงกางในท่อซีเมนต์ ร่วมกับกลุ่มเขตต่างๆ รวมถึงภาคีเครือข่าย องค์กรภาครัฐ 
ภาคเอกชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังได้หารือถึงแนวทาง
- การปลูกโกงกางในท่อซีเมนต์เพิ่มเติมบริเวณ
แปลงปลูกที่ 8 (หน้าทะเล) 
- การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 
- การใช้ประโยชน์จากกระบอกไม้ไผ่ที่ตกค้าง
ตามแนวชายฝั่ง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ตามโครงการ
พัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 
ผ่านแนวคิด 3R · Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้) 
· Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก) 
· Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนำมาอนุบาลต้นกล้า
และปกกันพันธุ์ไม้ป่าชายเลน 
- การซ่อมแซมปรับปรุงสะพานทางเดินไม้ไผ่ที่ชำรุด
จากผลกระทบของน้ำทะเลหนุนสูงและคลื่นทะเล

ทั้งนี้ เพื่อร่วมฟื้นฟูและบำรุงรักษาป่าชายเลน
ให้คืนสู่สภาพเดิม ที่มีความสมดุลของระบบนิเวศ
และให้เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ธรรมชาติเชิงนิเวศ
ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร