การขออนุญาตเกี่ยวกับอาคาร
ลักษณะอาคารที่ต้องขออนุญาต
1. สร้างอาคารขึ้นใหม่
2. ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วดังนี้
     2.1 เปลี่ยนโครงสร้างของอาคารคอนกรีตและเสริมเหล็กคอนกรีตอัดแรง หรือเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นวัสดุอื่น โดยเปลี่ยนวัสดุ ขนาด จำนวน หรือชนิดของเดิม
     2.2 เปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมน้ำหนักให้โครงสร้างของอาคารเกินร้อยละ 10
     2.3 ลดหรือขยายเนื้อที่ของชั้นหนึ่งชั้นใดหรือหลังคาเกินกว่า 5 ตารางเมตร
     2.4 เพิ่มหรือลดจำนวนเสา หรือคาน
3. ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
     3.1 ระยะที่ตั้งของอาคารถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 20 หรือเปลี่ยนแปลงผังบริเวณ
     3.2 สัดส่วนของโครงสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 5
4. รื้อถอนเคลื่อนย้ายอาคาร
5. ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่เข้าข่ายควบคุมการใช้
6. ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกรถ ตามมาตรา 8 (9) เพื่อการอื่น
 


สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนเคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร
การยื่นขออนุญาตดำเนินการเกี่ยวกับอาคารในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นขอได้ที่
     
    1 ฝ่ายโยธาเขตท้องที่จะดำเนินการเกี่ยวกับอาคาร ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัย ตึกแถว หอพัก แฟลต อาคารชุด สำนักงาน ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ห้องแสดงสินค้า โกดังเก็บของที่ช่วง เสาช่องหนึ่งกว้างไม่เกิน 10 เมตร และอาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น และความสูงไม่เกิน 15.00 เมตร ห้องแถวที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารสัตว์เลี้ยง อาคารชั่วคราว สะพานไม้

     2 กองควบคุมอาคาร สำนักโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) กรณีเป็นอาคารตึกสูงเกิน 4 ชั้น อาคารสาธารณะ อาคารพิษ หรืออาคารอื่นใด นอกจากอาคารตามชื่อ และการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร รวมทั้งขอใบรับรอง ฯลฯ

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
1. แบบคำขออนุญาต
     1.1 ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ใช้แบบ ข.1
     1.2 เคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.2
     1.3 เปลี่ยนการใช้อาคาร ใช้แบบ ข.3
     1.4 ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น ใช้แบบ ข.4
     1.5 ต่ออายุใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.4 ใช้แบบ ข.5
     1.6 แบบคำขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.6
     1.7 แบบคำขอใบแทนอนุญาต หรือใบรับรอง ใช้แบบ ข.7
     1.8 แบบคำขอใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.3 ใช้แบบ ข.8
          อนึ่งเอกสารประกอบจะต้องจัดให้มีตามกำหนดในแบบคำขออนุญาตนั้นๆ
2. แผนผังแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ
     2.1 ยื่นขออนุญาตตามข้อ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบอย่างละ 5 ชุด
     2.2 ยื่นขอตามข้อ 1.5, 1.6, 1.7, 1.8 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบที่ได้อนุญาตจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ชุด
3. ในกรณีที่ผู้มาติดต่อดำเนินการในการยื่นขออนุญาตไม่ใช้เจ้าของอาคาร ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจจากเจ้าของอาคารตามฟอร์มของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท)
 

  
เกี่ยวกับไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ
 
การขอติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาโฉนดที่ดินหรือหลักฐานการยกให้และทางการได้รับไว้แล้ว
3. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปหากตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นที่สาธารณะทางเขตฯ จะต้องทำหนังสือถึงการไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบพิจารณาประมาณค่าใช้จ่ายแล้วจึงนำรายละเอียดและราคาจากการไฟฟ้าฯ มาตั้งงบประมาณรวมไว้ในปีต่อไป

การขอให้ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ทางเท้า สะพาน ป้ายชื่อ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปการขออนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาที่ไม่เป็นอาคารตามกฎหมายหลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
      2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
      2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
      2.3 คำขออนุญาตตามแบบ แผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน เช่น ให้แจ้งใจความ หรือภาพโฆษณาโดยละเอียดชัดเจน จำนวน 2 ชุด
     2.4 ใบยินยอมของเจ้าของที่ดิน กรณีที่ขอใบอนุญาตอยู่ในที่ดินของผู้อื่น
     2.5 สำเนาโฉนดที่ดินทุกแผ่นลงนามรับรองโดยเจ้าของที่ดิน
 
 
 งานรักษาที่สาธารณะ
 
เกี่ยวกับการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าฯ
 
อัตราค่าบริการ ดำเนินการต่าง ๆ ในที่สาธารณะ
(1)  การตัดคันหินทางเท้า พื้นที่ทางเท้า ตารางเมตรละ
                                   ตัดคันหิน  เมตรละ
200 บาท
200 บาท
(2)  การตั้งโต๊ะ ม้านั่ง กระโจม เต็นท์ชั่วคราว วันละ 50 บาท
(3)  การกองสิ่งของ วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ชั่วคราว ตารางเมตรละ วันละ  20 บาท
(4)  การกั้นรั้วชั่วคราว ตารางเมตรละ เดือนละ 50 บาท
(5)  การตั้งนั่งร้านชั่วคราว ตามความยาวเมตละ เดือนละ  50 บาท


เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ พ.ศ. 2531
1. คำร้องการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ
2. แผนที่สังเขปบริเวณสถานที่ขออนุญาตที่ชัดเจนสามารถหาพบได้ (แสดงรายละเอียด)
3. แผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จากกรุงเทพมหานคร
4. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร และแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร จากกรุงเทพมหานครหรือแผนผังการจัดสรรที่ดินได้รับอนุญาต หรือเป็นมติคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
6. กรณีที่ผู้ขออนุญาตกับเจ้าของที่ดินมิใช่บุคคลเดียวกันให้แนบหลักฐานการยินยอมด้วย
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
8. สำเนาทะเบียนบ้าน
     หมายเหตุ สำเนาเอกสารทุกแผ่นจะต้องรับรองสำเนา
 
ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนจะต้องมีเอกสารประกอบ
1. หนังสือมอบอำนาจ (ต้องติดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มอบอำนาจ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ

ในกรณีเป็นนิติบุคคล
1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตรา และลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจบนเอกสารทุกฉบับ


เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
1. คำร้องการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
2. แผนที่สังเขปบริเวณที่ขออนุญาตปรับปรุง
3. แบบ รายละเอียดการปรับปรุงทางเท้า
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
หมายเหตุ แบบที่ประกอบการขออนุญาต ใช้อย่างละ 3 ชุด

 
การขออนุญาตขุดดินและถมดิน
 
อัตราค่าธรรมเนียมการขออนุญาตขุดดินและถมดิน
(1)  ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ 500 บาท
(2)  ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร  หน้าละ 1 บาท

เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตขุดดินและถมดิน
1.  แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องตามกฏกระทรวงหรือข้อบัญญติท้องถิ่นที่ออกตามกฏหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน จำนวน 3 ชุด
2.  สำเนารายการคำนวณวิธีการป้องกันการพังทลายของดิน จำนวน 1 ชุด
3.  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้งในกรณีที่ผู้แจ้งเป็นบุคคลธรรมดา จำนวน 1 ฉบับ
4.  สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินในกรณีที่ผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน จำนวน 1 ฉบับ
5.  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้่แจ้งเป็นนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ
6.  หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้แจ้งการขุดดิน / ถมดิน ให้บุคคลอื่นไปยื่นใบแจ้งการขุดดิน / ถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

7.  หนังสือแสดงความยินยอมเจ้าของที่ดินในกรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน / ถมดิน
8.  หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมพร้อมสำเนาใบอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จำนวน 1 ชุด
9.  หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงานพร้อมสำเนาใบอนุญาผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จำนวน 1 ชุด
10.  สำเนาแสดงเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน
11.  เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี).....