คู่มือประชาชนสำหรับติดต่อราชการฝ่ายทะเบียน .....คลิก mail


งานทะเบียนราษฎร

1.การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน
1.1การขอบ้านเลขที่ ให้เจ้าของบ้านผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกบ้านยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ขอภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
                                หลักฐานที่ต้องใช้
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
2.ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารฯ และแบบแปลนการก่อสร้าง
3.หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ 2)
4.หนังสือมอบหมาย และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย
(กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
1.2การแจ้งรื้อบ้านหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่ภายใน 15 วันนับ
แต่วันรื้อบ้านเสร็จ หรือวันที่บ้านถูกทำลาย หากไม่แจ้งภายในกำหนดโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
                                หลักฐานที่ต้องใช้
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของบ้าน
                                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.หนังสือมอบหมาย และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย
(กรณีเจ้าของบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
2.การแจ้งเกิด
                1.เด็กเกิดในบ้านเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดาของเด็กเป็นผู้แจ้ง
                2.เด็กเกิดนอกบ้าน บิดาหรือมารดาของเด็ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้ง
3.เด็กเกิดในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ทำคลอดจะออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ให้เจ้าหน้าที่
สถานพยาบาล ซึ่งทำหน้าที่เจ้าบ้านจะเป็นผู้แจ้งการเกิดสถานพยาบาลจะนัดมารดาหรือบิดาไปรับสูติบัตรและใบแจ้งย้ายที่อยู่เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แจ้งการเกิดภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารที่ต้องใช้
                1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                3.หนังสือรับรองการเกิด กรณีเกิดในสถานพยาบาล
การแจ้งเกิดเกินกำหนด เจ้าบ้าน หรือมารดา หรือบิดา เป็นผู้แจ้งที่สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด
                หลักฐานของผู้แจ้ง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนมารดาหรือบิดา
                                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                3.หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
                                4.เอกสารอื่นๆ เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน (ถ้ามี)
                                5.พยานบุคคล
3.การแจ้งตาย
1.คนตายในบ้าน เจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ณ สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง หากไม่
แจ้งตายภายในเวลาที่กำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2.คนตายนอกบ้าน บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ณ ณ สำนักทะเบียนท้องที่ที่มีการตายภายใน 24
ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ หากไม่แจ้งตายภายในเวลาที่กำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
3.กรณีมีคนตายในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลจะออกหนังสือรับรองการตาย (ท.ร.4/1) ให้ญาติ
ผู้ตายนำไปแจ้งต่อนายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่สถานพยาบาล ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านผู้แจ้งการตายก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
                3.หนังสือรับรองการตาย (กรณีตายในสถานพยาบาล)
หากเป็นการตายต่างท้องที่ ต้องนำใบมรณบัตรไปจำหน่ายตายในทะเบียนบ้านแห่งท้องที่ที่ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
3.มรณบัตร
การแจ้งตายเกินกำหนด เจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท
                                ตรวจสอบหลักฐานผู้แจ้ง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
                                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                3.หนังสือรับรองการตาย (ท.ร.4/1) (ถ้ามี)
                                4.หลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ตาย (ถ้ามี)
                                5.สอบสวนผู้แจ้งถึงสาเหตุที่ไม่แจ้งการตาย
                                6.พยานบุคคล
กรณี เก็บ ฝัง เผา ทำลายและเคลื่อนย้ายศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมให้ญาติผู้ตายนำมรณบัตรไปแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่สำนักงานเขตท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                1.บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
                2.มรณบัตรตอน 1
4.การแจ้งย้ายที่อยู่
                4.1การย้ายเข้า ต้องย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า
                                1.กรณีเจ้าบ้านมาเอง
                                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                                1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
                                                2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                                3.ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่1 และตอนที่2 หากไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
                                2.เจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
                                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่าย สำเนาทะเบียนบ้านต้นฉบับเจ้า
บ้าน ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
                                                2.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
                                                3.ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่1 และตอนที่2
                                                4.ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านลงชื่อในช่อง “เจ้าบ้านยินยอมให้ย้ายเข้า”
3.เจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
                                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่าย ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับ
มอบหมาย
3.ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่1 และตอนที่2
4.ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านลงชื่อในช่อง “เจ้าบ้านยินยอมให้ย้ายเข้า”
5.หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน
4.2การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ ผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการย้ายออก ณ สำนักงาน
ทะเบียนที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่อาจติดต่อแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะเข้าไปอยู่ใหม่
                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า
2.บัตรประจำตัวประชาชนของของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
เสียค่าทำเนียม 10 บาท
อนึ่ง การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ด้วยทั้งกรณีย้ายเข้าและออก
4.3การย้ายออก ผู้ใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใดให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย
ออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท
                        1.กรณีเจ้าบ้านมาเอง
                        หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                    1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
                                    2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                        2.เจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่าย ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
4.หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
3.เจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
                                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                    1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่าย ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2. .สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
4.หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
                4.4การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
                                1.ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อแจ้งที่ฝ่ายทะเบียนเขตท้องที่ที่ผู้เพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน
                                หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้
1.หลักฐานของผู้เพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานการผ่านการอุปสมบท หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัวลูกเสือชาวบ้าน
2.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3.หลักฐานการเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับก่อนปี พ.ศ.2499 (ถ้ามี) เช่น สำมะโนครัว ปีพ.ศ.2460 และปี พ.ศ.2489
                                                4.หัวหน้าครอบครัวตามทะเบียนบ้านเดิม (ถ้ามี)
5.เจ้าบ้านและบุคคลที่หน้าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2.การเพิ่มชื่อในกรณีเกิดต่างประเทศ โดยมีหลักฐานการเกิดซึ่งแสดงว่าบุคคลสัญชาติไทย ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน
หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้
                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.หลักฐานทะเบียนการเกิด สูติบัตร หรือ หลักฐานการเกิดซึ่งออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งแปลและรับรองว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ
                3.หนังสือเดินทางของผู้จะขอเพิ่มชื่อซึ่งออกโดยสถานทูตไทย
                4.เจ้าบ้านพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
                5.รูปถ่ายของผู้เพิ่มชื่อ ขนาด 1 นิ้ว
3.กรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศ ไม่มีหลักฐานการแสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ให้ผู้ขอเพิ่มเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน นายทะเบียนจะส่งตัวขอเพิ่มชื่อให้กองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ เมื่อได้รับหนังสือตอบว่าผู้ขอเป็นคนสัญชาติไทย รีบดำเนินการให้ตามระเบียบต่อไป
หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้
                1.หนังสือตอบจากกองตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นคนสัญชาติไทย
2.หลักฐานผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทาง หลักฐานแสดงการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
                3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4.เจ้าบ้านและบุคคลที่หน้าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
                5.รูปถ่ายของผู้เพิ่มชื่อ ขนาด 1 นิ้ว
                4.5การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง ให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางยื่นคำร้องแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง กรณีที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ให้บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน
                หลักฐานที่ต้องใช้
1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง เช่นสูติบัตร หนังสือเดินทาง (ถ้ามี) หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี)
                                2.คำสั่งศาลหรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
                                3.พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
5.การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
                5.1บุคคลที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง ให้เจ้าของบ้านหรือผู้ที่มีชื่อซ้ำยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในปัจจุบันหรือท้องที่ที่ชื่อซ้ำ เพื่อยืนยันที่อยู่ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว
                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ชื่อซ้ำ
                                2.ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                3.ทะเบียนบ้านที่มีชื่อและรายการบุคคลซ้ำ
                5.2บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วัน ถ้าไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใด หรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วัน ซึ่งนายทะเบียนจะย้ายชื่อบุคคลดังกล่าวเข้าทะเบียนกลางต่อไป หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
6.การแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร และทะเบียนบ้าน
                6.1มีเอกสารราชการมาแสดง ต้องใช้หลักฐานดังนี้
                                1.ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                2.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
                                3.เอกสารราชการที่ต้องการแก้ไข (ทะเบียนบ้าน สูติบัตร มรณบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่)
4.เอกสารอ้างอิงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนบ้านฉบับปี 2499, 2515, 2526, 2530 สูติบัตร หลักฐานการศึกษา ใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หลักฐานการรับราชการทหาร ส.ด.8 ส.ด.9
                                5.หลักฐานของบิดา มารดา เช่น บัตรประจำตัวประชาชน
                6.2ไม่มีเอกสารราชการมาแสดง ต้องใช้หลักฐาน
                                1.ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                2.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
                                3.หลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่เชื่อถือได้
7.การตรวจ ค้น คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
            7.1การคัดรับรองสำเนารายการของตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ภูมิลำเนาปัจจุบัน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องของผู้ร้อง
2.หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
(กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
3.ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
                7.2เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยื่นคำร้อง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ปรากฏรายการทะเบียนราษฎร
                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
                                2.หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3.หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
4.ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
                7.3บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียยื่นคำร้อง  ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ปรากฏรายการทะเบียนราษฎร โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
                                1.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
                                2.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจผูกพัน
(กรณีเป็นนิติบุคคล)
3.หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น หนังสือนิติกรรมสัญญาต่างๆ คำสั่งศาล ใบแต่งตั้งทนาย หนังสือมอบอำนาจจากคู่ความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                4.ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
                1.มีสัญชาติไทย
                2.มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี
                3.ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
                สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปี และได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามกฎหมายกระทรวง พ.ศ.2548 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาเล่ม 123 ตอนที่ 23ก วันที่ 6 มีนาคม 2549)
                1.สมเด็จพระบรมราชินี
                2.พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
                3.ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
                4.ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
                5.ผู้อยู่ที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
                6.บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
บุคคลที่กฎหมายกำหนดต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนภายในกำหนดเวลา
1.กรณีขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
            การขอมีบัตรครั้งแรก หลักเกณฑ์บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน ผู้ไม่ขอทำบัตรภายใน 60 วัน นับจากวันที่อายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ ย่อมมีความผิด และต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น  ที่แสดงได้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ที่มีชื่อในทะเบียน
3.หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4.กรณีบิดา มารดา เป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา ไปแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
5.การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่อมีอายุมาก หรือมีอายุเกิน 20 ปี หากไม่สามารถแสดงหลักฐานที่กำหนดตามข้อง 1 ข้อ 2 และข้อ 4 ให้นำเจ้าบ้าน และพยานบุคคลผู้น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
                บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใดๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคง และมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
2.กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
                เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
                ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
                หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                2.บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
                                หมายเหตุ ไม่เสียค่าธรรมเนียม
3.กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
                เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือถูกทำลาย ให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาลหรือเมืองพัทยา และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
                หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
                3.หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การับรอง
                หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
4.กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
                เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ต้องเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
                หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                2.บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
                                3.หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
                                หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
5.กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
                ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน  กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ให้สำเนาทะเบียนบ้านของวัดที่พระภิกษุ หรือสามเณร มีชื่ออยู่ไปแสดง
2.หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษา ณ ต่างประเทศ)
                                หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
6.กรณีเป็นบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
                ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
                หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำ หรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทาง และเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้วแต่กรณี
                                หมายเหตุ ไม่เสียค่าธรรมเนียม
7.กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
                คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
                หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
                                1.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                                2.บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
                                หมายเหตุ เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
งานทะเบียนทั่วไป
1.ทะเบียนการสมรส
                คู่สมรสยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต แห่งใดก็ได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอ นั้นหรือไม่
 
  &