ฝ่ายการคลัง
ฝ่ายการคลัง
ดาวน์โหลดคู่มือติดต่อราชการฝ่ายการคลัง
วิสัยทัศน์
ยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ เพื่องานของเรา
เป้าหมาย
รวดเร็วทันใจ สะดวก สบาย ทันเวลาและถูกต้องตามระเบียบ
วิสัยทัศน์
ยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ เพื่องานของเรา
เป้าหมาย
รวดเร็วทันใจ สะดวก สบาย ทันเวลาและถูกต้องตามระเบียบ
การรับเงินประกันของการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
การรับเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลักเกณฑ์
เมื่อมีการประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซื้อหรือจ้าง ผู้เสนอราคาจะต้องนำหลักประกันซองอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
สถานที่ติดต่อ ตามที่กำหนดไว้ในการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นของงานใด เช่น กรณีเป็นเรื่องของฝ่ายโยธา ให้ติดต่อที่ฝ่ายโยธาสำนักงานเขตที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ เป็นต้น
ขั้นตอนในการติดต่อยื่นเงินค่าประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลักเกณฑ์
เมื่อมีการประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซื้อหรือจ้าง ผู้เสนอราคาจะต้องนำหลักประกันซองอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
- เงินสด
- เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ (ไม่รับเช็คลงวันที่ล่วงหน้า)
- หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศที่กรุงเทพมหานครเชื่อถือตามแบบของกรุงเทพมหานคร
- พันธบัตรรัฐบาลไทย ตามจำนวนเงินที่ระบุในประกาศกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าวัสดุที่จะซื้อหรือจ้างกับหน่วยงานที่ดำเนินการประมูลราคาซื้อหรือจ้าง
- กรณีเป็นการจัดซื้อ หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง ได้แก่
- กรณีบุคคลธรรมดาให้ยื่นหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้าของอำเภอหรือเขตท้องที่
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยให้ยื่นหลักฐานการเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทรายชื่อ และอำนาจของผู้แทนตามกฎหมายของนิติบุคคล ฉบับซึ่งได้รับการรับรองที่ถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยให้ยื่นหลักฐานการจดทะเบียนสำนักงานสาขาในประเทศไทยฉบับซึ่งได้รับรองว่าถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ หนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องแสดงความเป็นจริงในปัจจุบัน และมีอายุการรับรองไม่เกิน 1 ปี จนถึงวันเสนอราคา
- ในกรณีที่เจ้าของร้านตามข้อ 1) หรือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนตามข้อ 2) มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นซองประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือดำเนินการใดเกี่ยวกับการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ต้องยื่นหนังสือแสดงการมอบอำนาจ ตามกฎหมายให้เป็นตัวแทนดำเนินการ
- หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาเฉพาะกรณี
- กรณีเป็นการจัดจ้าง ส่วนมากเป็นงานก่อสร้าง ถนน อาคารฯ หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง ได้แก่
- กรณีบุคคลธรรมดา ให้แนบหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์หรือหนังสือรับรองจดทะเบียนการค้าของอำเภอหรือท้องที่
- บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนในประเทศ ให้แนบหลักฐานการเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งแสดงวัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท และอำนาจของผู้แทนตามกฎหมายของนิติบุคคลฉบับรับรองว่าถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
- กรณีเจ้าของหรือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการไม่อาจลงนามในสัญญาด้วยตัวเอง หรือไม่อาจมาติดต่อเกี่ยวกับการดำเนินการใดๆ ในเรื่องการประกวดราคาได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตามกฎหมายให้ผู้แทนมาแสดงด้วย
- สำหรับงานจ้างเหมาก่อสร้าง จะต้องแนบหนังสือรับรองของวิศวกร ว่าเป็นผู้รับผิดชอบงานวิศวกรรมของบริษัท ห้างฯ ร้าน และใบอนุญาตควบคุมประกอบวิชาชีพวิศวกรรมต้องไม่ขาดอายุ และวิศวกรผู้นั้นจะต้องไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต
สถานที่ติดต่อ ตามที่กำหนดไว้ในการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นของงานใด เช่น กรณีเป็นเรื่องของฝ่ายโยธา ให้ติดต่อที่ฝ่ายโยธาสำนักงานเขตที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ เป็นต้น
ขั้นตอนในการติดต่อยื่นเงินค่าประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำหลักประกันซองอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวข้างต้นมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ตามวัน และเวลาที่กำหนด
- เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการรับเงินประกันซองประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เพื่อนำไปยื่นประกันซองประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- เมื่อสิ้นสุดเวลาตามที่ประกาศการประมูลด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐานและรายงานถึงจำนวนที่มีผู้มายื่นซองการประมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานที่ดำเนินการประมูลราคาซื้อหรือจ้างทราบ
การถอนเงินประกันของการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
การถอนเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลักเกณฑ์
ค่าธรรมเนียมการถอนเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ยื่นหลักฐานประกันซองไว้ เช่น ยื่นไว้ที่ฝ่ายการคลังก็ให้ติดต่อขอถอนเงินประกันซองจากฝ่ายการคลัง เป็นต้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(1) เมื่อการเคาะราคาการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสิ้นลง ผู้ที่ไม่ได้รับการพิจารณาซื้อ หรือจ้าง สามารถถอนเงินประกันซองจากคณะกรรมการการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที โดยยื่นหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าว
(2) กรณีที่คณะกรรมการการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เห็นว่าควรให้ยึดไว้รอการอนุมัติ ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซองพร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้อนุมัติการคืนเงินประกันซองแล้วหน่วยงานก็จะแจ้งให้มารับคืนเงินประกันซองได้ต่อไป
(3) สำหรับรายที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ให้นำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซอง พร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อได้ทำสัญญาเรียบร้อยแล้วจะคืนเงินประกันซองให้ต่อไป
หลักเกณฑ์
- เมื่อทราบผลการเคาะราคาในวันประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่าประมูลไม่ได้ ก็ขอถอนได้จากคณะกรรมการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เว้นแต่คณะกรรมการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เห็นว่าควรให้ยึดไว้เพื่อรอการขออนุมัติก็ให้ขอถอนภายหลังได้
- สำหรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาจะคืนให้หลังวันเซ็นสัญญา คือ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้มีคำสั่งเด็ดขาดให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เข้าประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์รายใดแล้วเรียกให้ผู้เข้าประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์รายนั้นมาเซ็นสัญญาสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้เป็นเจ้าของกิจการ
- กรณีผู้เป็นเจ้าของกิจการไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาทำการแทน โดยต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวของผู้ที่ได้รับมอบ และหนังสือมอบอำนาจ
- เอกสารที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้เป็นหลักฐานในการรับเงินประกันซอง
ค่าธรรมเนียมการถอนเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ยื่นหลักฐานประกันซองไว้ เช่น ยื่นไว้ที่ฝ่ายการคลังก็ให้ติดต่อขอถอนเงินประกันซองจากฝ่ายการคลัง เป็นต้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนเงินประกันซองการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(1) เมื่อการเคาะราคาการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสิ้นลง ผู้ที่ไม่ได้รับการพิจารณาซื้อ หรือจ้าง สามารถถอนเงินประกันซองจากคณะกรรมการการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที โดยยื่นหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าว
(2) กรณีที่คณะกรรมการการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เห็นว่าควรให้ยึดไว้รอการอนุมัติ ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซองพร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้อนุมัติการคืนเงินประกันซองแล้วหน่วยงานก็จะแจ้งให้มารับคืนเงินประกันซองได้ต่อไป
(3) สำหรับรายที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ให้นำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินประกันซอง พร้อมหลักฐานตามที่กำหนดดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อได้ทำสัญญาเรียบร้อยแล้วจะคืนเงินประกันซองให้ต่อไป
การรับหลักประกันสัญญา
การรับหลักประกันสัญญา
หลักเกณฑ์
ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เมื่อได้รับแจ้งให้มาทำสัญญาต้องยื่นหลักประกันสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
สถานที่ติดต่อ
ตามหนังสือของหน่วยงานที่แจ้งไป เช่น ฝ่ายการคลังได้มีหนังสือแจ้งให้นำหลักฐานมาทำสัญญา ก็ให้นำหลักประกันสัญญามาติดต่อทำสัญญากับฝ่ายการคลังของสำนักงานเขตนั้นๆ
ขั้นตอนในการติดต่อยื่นหลักประกันสัญญา
หลักเกณฑ์
ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เมื่อได้รับแจ้งให้มาทำสัญญาต้องยื่นหลักประกันสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
- เงินสด
- เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วัน ทำการ
- หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบที่กำหนด
- พันธบัตรรัฐบาลไทยเป็นจำนวนเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาพัสดุที่ตกลงซื้อหรือจ้างกับหน่วยงานที่ดำเนินการซื้อหรือจ้าง
- ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องมาลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง หากไม่สามารถมาได้อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องทำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
- บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ และบัตรประจำตัวของผู้รับมอบ (กรณีเจ้าของกิจการ มิได้มาด้วยตนเอง)
- บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ (กรณีมาด้วยตนเอง)
- ตรายางบริษัท ห้าง ร้าน
- เงินประกันสัญญาตามจำนวนที่กำหนด
สถานที่ติดต่อ
ตามหนังสือของหน่วยงานที่แจ้งไป เช่น ฝ่ายการคลังได้มีหนังสือแจ้งให้นำหลักฐานมาทำสัญญา ก็ให้นำหลักประกันสัญญามาติดต่อทำสัญญากับฝ่ายการคลังของสำนักงานเขตนั้นๆ
ขั้นตอนในการติดต่อยื่นหลักประกันสัญญา
- ผู้ได้รับการพิจารณาซื้อหรือจ้างให้มายังสถานที่ทำสัญญาตามที่กำหนดพร้อมหลักฐาน
- เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบรายละเอียดว่ามีหลักฐานครบถ้วนหรือไม่
- กรณีที่นำเงินสด หรือเช็คมาค้ำประกันสัญญา เจ้าหน้าที่การเงินจะออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน
การถอนเงินประกันสัญญา
การถอนเงินประกันสัญญา
หลักเกณฑ์
หลังจากวันที่ส่งของถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาหรือวันที่รับมอบงานแล้ว และพันภาระผูกพันตามสัญญา
ผู้ยื่นหลักประกันสัญญาสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ติดต่อทำสัญญาไว้ เช่น ทำสัญญาที่ฝ่ายโยธา ก็ติดต่อที่ฝ่ายโยธาของสำนักงานเขตนั้นๆ
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนหลักประกันสัญญา
หลักเกณฑ์
หลังจากวันที่ส่งของถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาหรือวันที่รับมอบงานแล้ว และพันภาระผูกพันตามสัญญา
ผู้ยื่นหลักประกันสัญญาสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- หนังสือของบริษัท ห้าง ร้าน ถึงหน่วยงานที่ซื้อหรือจ้าง แจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
- กรณีที่หลักประกันสัญญาเป็นเงินสด ต้องแนบใบเสร็จรับเงินที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้ในวันที่มาทำสัญญาด้วย
สถานที่ติดต่อ
หน่วยงานที่ได้ติดต่อทำสัญญาไว้ เช่น ทำสัญญาที่ฝ่ายโยธา ก็ติดต่อที่ฝ่ายโยธาของสำนักงานเขตนั้นๆ
ขั้นตอนในการติดต่อขอถอนหลักประกันสัญญา
- ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหลักฐานมาติดต่อกับหน่วยงานที่ทำสัญญา
- กรณี หลักประกันสัญญาเป็นเงินสด เช็ค เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเห็นว่าถูกต้องแล้ว จะดำเนินการตามขั้นตอนจนได้รับอนุมัติจึงแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างมารับ เงินคืนต่อไป
- กรณีหลักประกัน สัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันสัญญา หน่วยงานจะทำหนังสือแจ้งต้อธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าพ้นภาระผูกพันในการค้ำประกันสัญญาในเรื่อง ดังกล่าวแล้วมอบให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างต่อไป
การจ่ายเงินสำหรับผู้ค้าหรือผู้จ้างเหมา
การชำระเงิน
หลักเกณฑ์
งบ กทม. เงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนรัฐบาล ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างเหมา ที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนัก การคลังกรุงเทพมหานคร ให้โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังสำนักงานเขตฯ
เงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนรัฐบาล ที่เบิกจากคลังเขตฯ ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เมื่อได้รับอนุมัติ จากผู้อำนวยการเขต จ่ายเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
หลักฐานที่ต้องทำไปแสดง
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตที่ทำสัญญา
ขั้นตอนในการติดต่อขอรับเงิน
หลักเกณฑ์
งบ กทม. เงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนรัฐบาล ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างเหมา ที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนัก การคลังกรุงเทพมหานคร ให้โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังสำนักงานเขตฯ
เงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนรัฐบาล ที่เบิกจากคลังเขตฯ ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เมื่อได้รับอนุมัติ จากผู้อำนวยการเขต จ่ายเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
หลักฐานที่ต้องทำไปแสดง
- บัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
- กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องนำบัตรประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของ บัตรประจำตัวของผู้รับมอบและหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
- ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้า หรือค่าจ้างเหมา
- ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผู้ขายสินค้าให้กับสำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
- นิติบุคคล ตั้งแต่ 500.- บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000.- บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผู้รับจ้างทำงานให้สำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
- ภาษีเงินได้
- นิติบุคคล ตั้งแต่ 500.- บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000.- บาท ขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
- ติดอากร ใบสั่งจ้างหรือสัญญาจ้างพันละ 1 บาท
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตที่ทำสัญญา
ขั้นตอนในการติดต่อขอรับเงิน
- ผู้มารับเงินนำหลักฐานมาติดต่อ
- เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ เห็นว่าถูกต้องครบถ้วนจะได้ดำเนินการตามขั้นตอน เสร็จแล้วมอบเช็คเงินสดค่าสินค้าหรือค่าจ้างเหมาที่หักภาษีแล้วแก่ผู้มารับเงินต่อไป
- ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าให้กับสำนักงานเขต ส่งมอบสินค้าไม่ทันกำหนดตามใบสั่งซื้อหรือสัญญาซื้อ จะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ
- ในกรณีที่ผู้รับจ้างทำงานให้สำนักงานเขต ทำงานไม่แล้วเสร็จตามใบสั่งจ้างหรือสัญญาจ้าง จะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราระหว่าง 0.01-0.10 ของราคาจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100.- บาท นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญาจนถึงวันส่งมอบ
การรับชำระเงิน
การรับเงิน
รับชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน , ภาษีบำรุงท้องที่ , ภาษีป้าย ผู้ชำระเงินค่าภาษีต้องติดต่อที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขต เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ตรวจสอบ คำนวณภาษี และผู้เสียภาษีจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้แก่
(ติดต่อเจ้าหน้าที่ : ศิริวิมล ขำฉา , น่้าผิ้ง สุทธาพานิช , อรทัย กสิกรรม , พิมพิมล เยี่ยมภพ , วิภา บุญมาเลิศ , สุชาดา ลาวรรณ์ , ศุภฤทธิ์ คำวัน , ธัญญรัตน์ บุญสร้อย , ธนัชชา เหมือนปืน , กิตติชาติ แตงสกุล , กาญจนา นกขุนทอง โทร 023722918 ต่อ 7131-3 , อาคารสำนักงานเขตสะพานสูง ชั้น 2 )
รับชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน , ภาษีบำรุงท้องที่ , ภาษีป้าย ผู้ชำระเงินค่าภาษีต้องติดต่อที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขต เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ตรวจสอบ คำนวณภาษี และผู้เสียภาษีจะต้องนำมายื่นพร้อมชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้แก่
- ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
- ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
- ใบอนุญาตสถานที่แต่งผม
- ใบอนุญาตผู้รับจ้างแต่งผม
- ใบอนุญาตการทำน้ำแข็งเพื่อการค้า
- ใบอนุญาตตลาดเอกชน
การขายแบบ
การขายแบบ
หลักเกณฑ์
เมื่อมีการประกาศสอบราคา ประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ งานจ้างเหมาก่อสร้าง จะกำหนดคุณสมบัติผู้ที่สามารถซื้อแบบงานจ้างเหมาก่อสร้าง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
ขั้นตอนในการติดต่อการขายแบบ
หลักเกณฑ์
เมื่อมีการประกาศสอบราคา ประกาศประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ งานจ้างเหมาก่อสร้าง จะกำหนดคุณสมบัติผู้ที่สามารถซื้อแบบงานจ้างเหมาก่อสร้าง
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยให้ยื่นหลักฐาน การเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทรายชื่อ และอำนาจของผู้แทน ตามกฎหมายของนิติบุคคล ฉบับซึ่งได้รับการรับรองที่ถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยให้ยื่นหลักฐานการจดทะเบียนสำนักงานสาขาในประเทศไทยฉบับซึ่งได้รับรองว่าถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ หนังสือรับรองดังกล่าวจะต้องแสดงความเป็นจริงในปัจจุบัน และมีอายุการรับรองไม่เกิน 1 ปี
- ในกรณีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด มอบอำนาจให้ผู้อื่นมาซื้อแบบงานก่อสร้าง ต้องยื่นหนังสือแสดงการมอบอำนาจตามกฎหมายให้เป็นตัวแทนดำเนินการ
- หนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องยังไม่หมดอายุ
- หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาเฉพาะกรณี
- ค่าแบบที่กำหนดไว้ตามประกาศ
ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
ขั้นตอนในการติดต่อการขายแบบ
- ผู้สนใจที่จะซื้อแบบงานจ้างเหมาก่อสร้าง ต้องนำหลักฐานที่กำหนดไว้ข้างต้นมายื่นที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต
- เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานถูกต้อง และรับชำระเงินแล้ว จะออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ซื้อ
(ติดต่อเจ้าหน้าที่ : ศิริวิมล ขำฉา , น่้าผิ้ง สุทธาพานิช , อรทัย กสิกรรม , พิมพิมล เยี่ยมภพ , วิภา บุญมาเลิศ , สุชาดา ลาวรรณ์ , ศุภฤทธิ์ คำวัน , ธัญญรัตน์ บุญสร้อย , ธนัชชา เหมือนปืน , กิตติชาติ แตงสกุล , กาญจนา นกขุนทอง โทร 023722918 ต่อ 7131-3 , อาคารสำนักงานเขตสะพานสูง ชั้น 2 )