ฝ่ายทะเบียน มีกลุ่มงานที่ให้บริการประชาชนเกี่ยวกับทะเบียน 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1. กลุ่มงานทะเบียนราษฎร  ติดต่อสอบถาม ่คุณอัญชริกา  สมศรี   โทร. 02-326-9009
@ การขอเลขหมายประจำบ้าน
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายเรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย
- ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือเอกสารอื่นแล้วแต่กรณี
- ใบคำร้องตามแบบ ท.ร. 900
@ การขอจำหน่ายบ้าน
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายเรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบคำร้องตามแบบ ท.ร. 97 ค.
@ การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน หรือเจ้าของกรรมสิทธิ
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง
@ การขอจัดทำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกรณี ชำรุด / สูญหาย / ถูกทำลาย
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
@ การแจ้งการเกิด
เอกสารประกอบ
กรณีเกิดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ( เจ้าบ้านหรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หรือบิดา หรือมารดา )
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการเกิด ( แบบพิมพ์ ท.ร.1/1 )
- กรณีเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านในเขตท้องที่ให้แนบสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อเด็กเข้า
@ การแจ้งการตาย
เอกสารประกอบ
กรณีตายปกติทั่วไป
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง / คนตายในบ้าน ( เจ้าบ้าน ) / คนตายนอกบ้าน ( ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ )
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
- กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เพิ่มหลักฐานใบรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสถาบันนิติเวช
@ การแจ้งย้ายออก
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก
@ การแจ้งย้ายเข้า
เอกสารประกอบ (กรณีปกติทั่วไป)
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า 
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 , 2 ที่มีรายการครบถ้วนและลงลายมือชื่อของเจ้าบ้านและผู้แจ้ง
@ การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออกกรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า หากบ้านหลังดังกล่าวยังไม่มีทะเบียนบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองมาแสดง กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
@ การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง (เฉพาะกรณีมีหลักฐาน)
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้แจ้งเป็นบุคคลเดียวกันกับรายการบุคคลที่จะแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
- กรณีรายการบุคคลที่จะย้ายออกเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้งย้ายโดยเรียกบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
@ การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า พร้อมหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- กรณีรายการบุคคลที่จะย้ายเข้าเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้งย้ายโดยเรียกบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- หากบ้านหลังดังกล่าวยังไม่มีทะเบียนบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิหรือสิทธิ ครอบครองมาแสดง
@ การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีตาย (มีหลักฐาน)
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีรายการของผู้ตาย กรณีมอบหมาย ให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบและหนังสือมอบหมาย
- มรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายของผู้ตาย กรณีหลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศอื่นให้แปลและรับรองความถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ
@ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎรโดยมีหลักฐานเอกสารราชการมาแสดง
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมาย ให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบและหนังสือมอบหมาย
- เอกสารการทะเบียนราษฎรที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
- เอกสารราชการที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอแก้ไขรายการ
@ การตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
เอกสารประกอบ
- กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
- กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น บัตรประจำตัวผู้ยื่นคำร้อง เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
- หากมีการมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้เรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบ หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติม. 

2. กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน  ติดต่อสอบถาม  คุณบังอร  กลิ่นจันทร์กลั่น  โทร. 02-326-9009
@ การขอมีบัตรครั้งแรกอายุ 7 ปีบริบูรณ์
เอกสารประกอบ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
- กรณีผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานสูติบัตร ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง
- กรณีที่ต้องใช้ผู้รับรองให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย
@ การขอมีบัตรครั้งแรก เกินกำหนด
เอกสารประกอบ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
- บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
- ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย

@ การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุ
เอกสารประกอบ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
@ การขอมีบัตรกรณีบัตรหาย
เอกสารประกอบ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายติดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบขับขี่,หนังสือเดินทาง, วุฒิการศึกษา
- หากไม่มีหลักฐานเอกสารข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดง ให้นำผู้รับรองมาให้ถ้อยคำเพื่อยืนยันตัวบุคคล เช่น บิดา มารดา หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี โดยผู้รับรองต้องนำบัตรประจำตัวมาแสดง
ข้อควรรู้ กรณีบัตรหายไม่ต้องแจ้งความ ณ สถานีตำรวจ
@ การขอมีบัตรกรณีขอเปลี่ยนบัตร
เอกสารประกอบ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 
- บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ( กรณีเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ) หรือหลักฐานทะเบียนบ้านที่มีการเปลี่ยนที่อยู่ ( กรณีเปลี่ยนบัตรเนื่องจากย้ายที่อยู่ )

@ การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
เอกสารประกอบ
- กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาขนของผู้แจ้ง
- กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย ( คำร้องขอตรวจ รายการเกี่ยวกับบัตร ) 

3. กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป   ติดต่อสอบถาม คุณอุทุมภรณ์  ระฆังทอง   โทร. 02-326-9009
@ การจดทะเบียนสมรส
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ ( ชายหรือหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ) ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฏหมาย
- ใบหย่า หรือใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิม กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเคยสมรส หรือเคยหย่า
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี )
- การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต้องมีหนังสือรับรองจากสถานทูตหรือกงสุลของผู้ร้องในประเทศไทยหรือจากองค์การที่รัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย และแปลข้อความเป็นภาษาไทยโดยกระทรวงต่างประเทศเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
- พยานบุคคล 2 คน
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@ การจดทะเบียนหย่า
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านทั้งสองฝ่าย
- ใบสำคัญการสมรส
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ( ถ้ามี )
- ฝ่ายหญิงต้องทำการแก้ไขคำนำหน้านามจาก นางสาว เป็น นาง ในทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้ว
- พยานบุคคล 2 คน
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@ การจดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา บุตร (กรณีอายุเกิน 7 ปี) และทะเบียนบ้าน
- สูติบัตรของบุตร พร้อมทะเบียนบ้านของบุตร
- มารดาและบุตรต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง
- คำพิพากษาของศาล พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ( ตามแต่กรณี )
- พยานบุคคล 2 คน
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@ การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
- เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกซึ่งเป็นต้นฉบับพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองความถูกต้องโดยกระทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสาร
- พยานบุคคล 2 คน
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมใบสำคัญการสมรส
- หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จากสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก
- พยานบุคคล 2 คน ( ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี )
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@ การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทะเบียนบ้าน
- หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
- กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองไปให้ความยินยอมด้วย
- พยานบุคคล 2 คน
- คำร้องตามแบบ คร.1 

@การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
- ค่าธรรมเนียม 50 บาท

@ การขอตั้งชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
- กรณีหญิงหม้าย ให้แนบใบสำคัญการหย่า
- ค่าธรรมเนียม 100 บาท

@ การขอร่วมชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่ต่างเขตกับเจ้าของชื่อสกุล
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
- หนังสืออนุญาตให้ร่วมชื่อสกุล
กรณีผู้ขอร่วมชื่อสกุลอยู่เขตเดียวกันกับเจ้าของชื่อสกุล
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอร่วมชื่อสกุล และเจ้าของชื่อสกุล พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบสำคัญตั้งชื่อสกุล ( แบบ ช.2 )
- คำขออนุญาตร่วมชื่อสกุล ( แบบ ช.5 )
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
- ค่าธรรมเนียม 100 บาท

@ การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตรของผู้ขอ ( ฉบับจริง )
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส พร้อมหนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
- กรณีหย่าให้แนบบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด
- เอกสารทางทะเบียนที่แสดงชื่อสกุลเดิมของบิดาหรือมารดาที่จะขอใช้
- คำร้องแบบ ช.1 

@ การขอออกใบแทนเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
- กรณีผู้เยาว์ใช้เอกสารสูติบัตร และมารดาเป็นผู้มาดำเนินการ หากบิดาเป็นผู้ดำเนินการให้แนบใบสำคัญการสมรส
- หลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย
- ค่าธรรมเนียม 25 บาท
- คำร้องแบบ ช.1 

@ การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป
เอกสารประกอบ
- กรณีเจ้าของรายการมาดำเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
- กรณีผู้มีส่วนได้เสียขอคัดรายการของบุคคลอื่น บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำร้อง เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพร้อมสำเนา
- หากมีการมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้เรียกบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจเพิ่มเติม, คำร้องแบบคำขอเกี่ยวกับงานทะเบียนทั่วไป