ฝ่ายปกครอง
ฝ่ายปกครอง
1. รับรองสถานภาพการสมรส
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- แบบคำร้องขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- กรณีที่เคยจะทะเบียนสมรสมาแล้วต้องนำหลักฐานใบสำคัญการหย่ามาด้วย
- หนังสือมอบอำนาจผ่านสถานทูต (กรณีผู้มอบอำนาจอยู่ต่างประเทศ)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน ฯลฯ
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
2. รับรองลายมือชื่อให้ความยินยอมบุตรเดินทางไปต่างประเทศ
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ให้ความยินยอม (บิดา,มารดา)
- ใบสำคัญการสมรส
- ทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบัตรประจำตัวประชาชนให้นำมาด้วย)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
3. รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ (กรณีนำโฉนดประกันตัวผู้ต้องหา)
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- หลักฐานกรรมสิทธิ์ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. 3 เป็นต้น
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
4. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ค้ำและผู้กู้ยืม
- หนังสือขอความอนุเคราะห์ลงนามค้ำประกันใบสัญญาจากสถานศึกษา
- ใบสำคัญการสมรสของผู้ค้ำ (ถ้ามี)
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด,
โทร. 023269149 ต่อ 6859
5. รับรองการมีชีวิต
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- ผู้ร้องตนองยื่นคำร้องด้วยตัวเอง
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
6. รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- เอกสารทางราชการที่ออกให้ซึ่งมีรายการผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงและไม่สามารถแก้ไขได้โดยยึดหลักฐานทางทะเบียนราษฎรเป็นหลัก
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
- เอกสารที่ทางราชการออกให้ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
7. รับรองความประพฤติ
หลักฐานประกอบการพิจารณา
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- กรณีรับรองการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้นำใบอนุโมทนาบัตรมาด้วย
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
8. รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตร
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้ร้องขอและพยาน
- เอกสารคำแปลใบเสร็จรับเงินจากธนาคาร
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
9. รับรองฐานะของบุคคลเพื่อรับอุปการะผู้พ้นโทษ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้อุปการะ
- บันทึกของเจ้าพนักงานปกครองฯ (แบบ พ.3)
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
10. รับรองว่าบ้านถูกไฟไหม้
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน เจ้าบ้าน
- บันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุ
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
11. รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานต่างประเทศ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน เจ้าบ้าน ฯลฯ
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
12. สอบสวนบุคคลผู้เป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง กรมประชาสงเคราะห์
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอ
- หนังสือจากนิคมสร้างตนเอง
- บันทึกการสอบสวนผู้สมัครเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเอง (แบบ ส.อ.3)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
13. สอบสวนทายาทเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตกทอด
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอ พยานและบุตร ของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- ใบสำคัญการสมรสของผู้เสียชีวิตภรรยาคนแรกถึงคนปัจจุบัน
- ใบสำคัญการหย่าของผู้เสียชีวิตภรรยาคนแรกถึงคนปัจจุบัน (ถ้ามี)
- ใบรับรองบุตรที่ผู้เสียชีวิตจดไว้ (ถ้ามี)
- ใบรับรองบุตรบุญธรรมที่ผู้เสียชีวิตจดไว้ (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
14. สอบสวนผู้มีสิทธิ์รับโอนกรรมสิทธิ์รถ
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- ใบมรณบัตรของเจ้าของรถ
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือนำจากกรมการขนส่งทางบก เรียน ผู้อำนวยการเขตดุสิต
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
15.สอบสวนบุคคลกรณีเสียชีวิตไปนานแล้ว
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- สำเนาคำร้อง ทร.31 แจ้งขอคัดมรณบัตรตามชื่อที่อยู่คนตายในทะเบียนบ้าน
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
16. อุปการะเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว
หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ร้องขอและพยาน
- ทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบัตรประจำตัวประชนชนให้นำมาด้วย)
- ใบเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้ อย่างน้อย 2 คน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
17. การดำเนินการเกี่ยวกับสมาคม
1. การจดทะเบียนสมาคม ดำเนินการดังนี้
1.1 ให้ผู้จะเป็นสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ สำนักงานเขต สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ สำหรับในจังหวัดอื่นที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
(1) ข้อบังคับของสมาคม
(2) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
(3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
(4) รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
(5) แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
(6) หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม
(7) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
(8) สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติในกรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
(9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
2. การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสมาคม
2.1 กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
- ให้สมาคมยื่นคำขอ ตามแบบ ส.ค.2 ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด
(1) รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม
(2) ข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่
(3) แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งของสมาคมในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง
2.2 กรณีการจดแต่งตั้งกรรมการสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
- ให้สมาคมยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.3 ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอ ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3ชุด
(1) รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
(2) ข้อบังคับของสมาคม
(3) รายชื่อกรรมการเก่าและกรรมการใหม่
(4) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่
(5) บันทึกคำให้การของบุคคลที่จะเป็นกรรมการของสมาคม
3. การเลิกสมาคมตามมาตรา 101 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 กำหนดให้สมาคมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังนี้
3.1 เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ เป็นการเลิกตามเหตุที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสมาคมนั้น ๆ และสมาคมได้ปฏิบัติตามเหตุที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว
3.2 ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะกาลใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้นเป็นการเลิกตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ ซึ่งอาจเป็นการกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือในมติที่ประชุมจัดตั้งก็ได้
3.3 ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้วเป็นการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะกิจและกิจการนั้นได้กระทำครบถ้วนแล้ว
3.4 เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก เป็นการเลิกโดยผลจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
3.5 เมื่อสมาคมล้มละลาย เป็นการเลิกโดยผลจากที่สมาคมถูกฟ้องล้มละลายและศาลได้สั่งเป็นที่สิ้นสุดแล้ว
3.6 เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อออกจากนายทะเบียน ในกรณี
(1) เมื่อปรากฎในภายหลังการจดทะเบียนว่า วัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็น ภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐและนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้ว แต่สมาคมไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนด
(2) เมื่อปรากฏว่า การดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อ ความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
(3) เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
(4) เมื่อปรากฏว่า สมาคมให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ กรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคม
(5) เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลือน้อยกว่า 10 คน มาเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ปี
3.7 เมื่อศาลสั่งให้เลิก
4. อัตราค่าธรรมเนียม
4.1. ค่าจดทะเบียน ครั้งละ 2,000 บาท
4.2 ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งละ 200 บาท ข้อบังคับของสมาคมหรือค่าจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
4.3. ค่าขอตรวจเอกสาร ครั้งละ 50 บาท
4.4 ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วย แผ่นละ 10 บาท คำรับรองว่าถูกต้อง แต่ไม่เกิน 500 บาท
4.5. ค่าคำขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ ครั้งละ 5 บาทเกี่ยวสมาคม
4.6 สมาคมใดมิได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม ไม่เกิน 10,000 บาท ข้อบังคับต่อนายทะเบียนภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันลงมติ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
4.7 สมาคมใดมิได้จดทะเบียนแต่งตั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ ของสมาคมต่อนายทะเบียน ภายในกำหนด 30 วัน
นับแต่วันลงมติต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
บันทึกคำให้การของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6859
18. การดำเนินงานด้านมูลนิธิ
1. การขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ จะต้องยื่นเอกสารคำขอ จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น.1 ) และเอกสารประกอบดังนี้
(1) รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะ จัดสรรสำหรับมูลนิธิ
(2) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของ มูลนิธิทุกคน
(3) ข้อบังคับของมูลนิธิ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิและการจัดการบัญชีทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
(4) คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สิน ที่ทำเป็นแบบหนังสือและจดทะเบียน
(5) สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่มีการขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือ การจัดสรรทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตามข้อ(1) เกิดขึ้นโดยผลของ พินัยกรรม
(6) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่จะเป็นกรรมการมูลนิธิทุกคน
(7) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิ หรือสำนักงานสาขา(ถ้ามี)
(8) หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่
(9) สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)
(10) เอกสารอื่นๆ ถ้ามี เช่น หนังสืออนุญาตจากเจ้าของชื่อหรือทายาท หรือหน่วยงานของรัฐ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2. การขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ให้มูลนิธิมูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 และเอกสารประกอบดังนี้
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
(2) บัญชีรายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิชุดเดิม
(3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิที่ขอแต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือที่ขอเปลี่ยนแปลง
(4) ข้อบังคับของมูลนิธิ
(5) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้ และภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่น คนต่างด้าวหรือภิกษุ ให้ใช้หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันกับที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้
3. การขอจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะกรรมการของมูลนิธิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
(2) ข้อบังคับของมูลนิธิในปัจจุบันและข้อบังคับของมูลนิธิในส่วนที่ประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติม
(3) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่งใหม่ของมูลนิธิและหนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา หรือมีการตั้งสำนักงานสาขาขึ้นใหม่
4. การเลิกมูลนิธิ ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะ มีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียน ตามแบบ ม.น.6 โดยแนบหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
(2) ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิ
(3) ข้อบังคับของมูลนิธิ
(4) เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
(5) สำเนารายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
(6) เอกสารอื่นๆ ถ้ามี
บันทึกคำให้การของบุคคลผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ
อัตราค่าธรรมเนียมมูลนิธิและค่าปรับของทะเบียนมูลนิธิ
1. ค่าคำขอ ฉบับละ 10 บาท
2. ค่าจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ครั้งละ 200 บาท
3. ค่าจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ ครั้งละ 50 บาท
4. ค่าจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ครั้งละ 50 บาท
5. ค่าขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิ ครั้งละ 50 บาท
6. ค่าคัดและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 10 บาท
7. ค่าขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับมูลนิธิ ครั้งละ 50 บาท
ซึ่งมิใช่เป็นกรณีตาม ข้อ(2.) (3.) (4.) (5.) หรือ (6.) รายการหนึ่ง
8. มูลนิธิใดมิได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับหรือจดทะเบียนแต่งตั้ง ไม่เกิน 10,000 บาท
หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันลงมติ
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6857
19. การจดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบการพาณิชย์ หมายถึง บุคคลธรรมดา (เจ้าของกิจการคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลต่างประเทศที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 (เสาชิงช้า)
หมายเหตุ ห้างร้าน/บริษัท ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4438, 0-2547-5979
- การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
- การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใด ขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
- การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรม ไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ง 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือรถยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
หมายเหตุ กิจการนอกเหนือจากที่ระบุ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4438, 0-2547-5979
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนพาณิชย์
1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ณ สถานประกอบการดังกล่าว แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
5.1 หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน
5.2 กรณีเช่าสถานที่
(1) ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
- สำเนาทะเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถานประกอบการ
- สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
(2) ผู้ให้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
- สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือรับรองบริษัท พร้อมลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
(3) กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
- สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด
6. กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ให้แนบเอกสารของผู้เป็นหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือจดจัดตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล, สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้เป็นหุ้นส่วน
เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. ใบทะเบียนพาณิชย์
เอกสารที่ต้องใช้จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล) หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ (กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ)
2. ใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแจ้งความ กรณีใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย
3. สำเนาเอกสารการสั่งเลิกประกอบกิจการในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
4. สำนาใบมรณะบัตรของผู้ประกอบกิจการ กรณีผู้ประกอบกิจการถึงแก่กรรม
5. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
เอกสารที่ต้องใช้กรณีการคัดรับรองสำเนาการขอตรวจสอบเอกสารทะเบียนพาณิชย์
1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
ค่าธรรมเนียมและมาตรฐานเวลาการให้บริการ ของสำนักงานเขตบางแค (ในกรณีที่เอกสารครบถ้วน)
- จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ฉบับละ 50 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที)
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ฉบับละ 20 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที)
- จดทะเบียนยกเลิก ฉบับละ 20 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที)
- ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที)
- ตรวจเอกสาร ครั้งละ 20 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที)
- คัดสำเนาและรับรองสำเนา ฉบับละ 30 บาท (ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที)
หมายเหตุ
1.ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวันเลิกประกอบกิจการ
2.กรณีแจ้งเลิกเพราะเหตุผู้ประกอบการถึงแก่กรรม ให้ลงชื่อทายาทคนในคนหนึ่ง หรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ทำการแทนทายาทหรือผู้รับมอบอำนาจจากทายาท
ติดต่อ คุณกิตติภัทร นวลรอด, คุณเดชา ศรีสอนใจ, คุณวรรณทิวา วรรณวาศ
โทร. 023269149 ต่อ 6857
20. เรื่องร้องทุกข์ เมื่อฝ่ายปกครองได้รับเรื่องร้องทุกข์ ฝ่ายปกครองจะดำเนินการและแจ้งผู้ร้องภายใน 3 วัน
- แบบรับร้องทุกข์
ติดต่อ คุณสกนธ์ ตระกูลวงศ์บุญมา และคุณมิรันตี สัมมาเพ็ชร์
โทร. 023269149 ต่อ 6860
21. การจดทะเบียนพินัยกรรม
1. การทำพินัยกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางอำเภอ มี 3 แบบคือ
(1) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อผู้อำนวยการเขตและพยาน โดยสามารถร้องขอทำพินัยกรรม ณ สำนักงานเขต หรือนอกสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แจ้งไว้
4) มีใบรับรองแพทย์แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดี
5) พยานบุคคล 2 คน
**ค่าป่วยการพยาน คนละ 50 บาท (กรณีไม่มีพยานมาด้วย)
**ค่าธรรมเนียมในสำนักงานเขต ฉบับละ 50 บาท ถ้าทำคู่ฉบับด้วย ฉบับละ10 บาท นอกสำนักงานเขต ฉบับละ 100 บาท ถ้าทำคู่ฉบับด้วย ฉบับละ 20บาท
(2) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้จัดทำพินัยกรรมขึ้นเอง โดยมีการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและลงลายมือชื่อคาบลอยผนึกพินัยกรรมนั้นด้วย และนำพินัยกรรมที่ผนึกแล้วไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขต
พร้อมพยาน แล้วให้ถ้อยคำต่อบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปยื่นแสดงเพื่อให้สำนักงานเขตจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
**ค่าธรรมเนียม 20 บาท
(3) พินัยกรรมทำด้วยวาจา
เป็นพินัยกรรมที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม
โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น แล้วพยาน 2 คนนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตโดยไม่ชักช้า และแจ้งข้อความ
ที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้นพร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษนั้นได้ด้วย โดยพยานสามารถไปแสดงตนแจ้งข้อความพินัยกรรม
ณ สำนักงานเจตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
**มีต้องเสียค่าธรรมเนียม
ข้อความทราบ
1) ผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือเอกสารลับ จะขอรับพินัยกรรมไปเก็บรักษาเองทันทีก็ได้ หรือจะให้สำนักงานเขตเก็บรักษาไว้ให้ก็ได้
2) พินัยกรรมทำด้วยวาจา จะไม่มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นตามกฎหมายกำหนดไว้
3) คุณสมบัติผู้ทำพินัยกรรม
- อายุ 15 ปีบริบูรณ์
- ต้องไม่เป็นคนที่ศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ
ติดต่อ คุณมนพัทธ์ เสนาพล, คุณชุติมา พฤฒิโกมล, คุณวิชญ์รพี มากเพ็ง
โทร. 023269149 ต่อ 6859
2. การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
การตัดทายาทโดยธรรมมอให้รับมรดก อาจทำได้ 2 วิธี คือ ทำเป็นพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานแห่งใด