โครงการการให้บริการงานทะเบียนชื่อบุคคล
 
ความเป็นมา  :
                ฝ่ายทะเบียน  สำนักงานเขตลาดกระบัง  ได้ตระหนักถึงปัญหาของการให้บริการเกี่ยวกับงาน     ด้านการทะเบียนให้แก่ประชาชนในแต่ละวันที่มีปริมาณผู้ขอรับบริการจำนวนมาก  ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและรวดเร็ว เสียเวลาในการรอคอย โดยเฉพาะการขอรับบริการงานทะเบียนชื่อบุคคล ซึ่งจะต้องผ่านการดำเนินการทั้ง  3 ขั้นตอน (3 กลุ่มงาน) ได้แก่ การเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุล กลุ่มงานทะเบียนทั่วไปดำเนินการแก้ไขรายการในสำเนาทะเบียนบ้าน  กลุ่มงานทะเบียนราษฎรดำเนินการเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน กลุ่มงานทะเบียนบัตรฯ  ดำเนินการ  เห็นได้ว่าจะต้องผ่านการให้บริการถึง 3 กลุ่มงาน จึงจะแล้วเสร็จ
                ดังนั้น  ฝ่ายทะเบียนได้คิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย การจัดทำโครงการการให้บริการงานทะเบียนชื่อบุคคลแบบครบวงจร  เบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว
ลักษณะของการให้บริการ  :
                ลดขั้นตอนในการให้บริการให้เหลือขั้นตอนเดียว
 
วัตถุประสงค์  :
                1.  สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน รู้สึกว่าได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทันใจ
                2.  ส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ การให้บริการที่ดีของสำนักงานเขตลาดกระบัง
การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
หลักเกณฑ์ 
1.  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนาม
    ของพระราชินีหรือราชทินนาม
2.  ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย           
3.  ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
4.  ผุ้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออก    จากบบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอดถอน
5.  ชื่อรองที่ขอตั้งจะต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น ยกเว้นการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสเป็นชื่อรอง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่ใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่
6.  กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้
หลักฐาน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ร้อง
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว(กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างด้าว)
การขอจดทะเบียนชื่อสกุล
หลักเกณฑ์ 
1.  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนาม
    ของพระราชินีหรือราชทินนาม
2.  ต้องเป็นคำที่ไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
3.  ต้องเป็นคำที่ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทาน หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
4.  ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
5.  มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
6.  ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล
7.  ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรม-นามาภิไธยมาใช้เป็นนามสกุล
8.  ห้ามเพิ่มเครื่องหมายนามสกุล เว้นแต่เป็นราชตระกูล
9.  คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต่างฝ่าย  ต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
10. กรณีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าหรือศาลพิพากษาให้  เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายที่ใช้ชื่อสกสุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับมาใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
11. กรณีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่     และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นต่อไป
 
หลักฐาน
  1.                สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ร้อง
  2.                บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
  3.                ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว(กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างด้าว)
การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
หลักเกณฑ์
                ผู้ขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนเองได้
 
 
 
ขั้นตอนและหลักฐานที่จะต้องนำไปแสดง
ขั้นตอนที่ 1 เจ้าของชื่อสกุลต้องยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐาน
ดังนี้
1.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.  หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
 
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐาน
ดังนี้
1.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.  หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล