พื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตลาดกระบัง  ดังนี้
  เขตลาดกระบังมีพื้นที่ทั้งหมด 123.859 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 77,406.1 ไร่ เป็นเขตชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองอื่น ๆ ดังนี้

                   ทิศเหนือ           ติดกับเขตมีนบุรี และเขตหนองจอก

                   ทิศใต้              ติดกับอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

                   ทิศตะวันตก       ติดกับเขตประเวศ  และเขตสะพานสูง

                   ทิศตะวันออก     ติดกับอำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

แขวงพื้นที่ (ตร.กม.)จำนวนบ้าน (หลังคาเรือน)
ลาดกระบัง
คลองสองต้นนุ่น
คลองสามประเวศ
ลำปลาทิว
ทับยาว
ขุมทอง
10.823
14.297
17.458
25.834
33.752
21.695
21,040
35,489
11,509
15,462
19,143
3,238
รวม      123.859                            105,881


จำนวนประชากรและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูล ณ เดือน 31 มีนาคม 2567)
  

ลำดับที่แขวงจำนวนราษฎรจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ชายหญิงรวมชายหญิงรวม
1
2
3
4
5
6
 
ลาดกระบัง
คลองสองต้นนุ่น
คลองสามประเวศ
ลำปลาทิว
ทับยาว
ขุมทอง
รวม
13,951
31,644
7,490
12,541
15,322
4,097
85,045
16,100
35,496
8,473
13,854
16,843
4,283
95,049
30,051
67,140
15,963
26,395
32,165
8,380
180,094
11,201
24,924
6,060
9,842
11,905
3,167
67,099
13,566
29,089
7,128
11,182
13,534
3,451
77,950
24,767
54,013
13,188
21,024
25,439
6,618
145,049

 

 

 


 การคมนาคม    เส้นทางหลักที่ใช้ในการคมนาคม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 

  1. เส้นทางคมนาคมในเขต เดิมประชาชนส่วนใหญ่จะใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน การคมนาคมได้พัฒนาไปมาก  มีการก่อสร้างถนนสายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางติดต่อกันได้สะดวกยิ่งขึ้น  ดังนั้น ประชาชนจึงหันมาใช้การเดินทางโดยรถยนต์มากกว่าทางเรือ แต่ยังมีบางท้องที่ที่ยังใช้การเดินทางเรืออยู่ เนื่องจากยังไม่มีถนนตัดผ่าน
  2. เส้นทางคมนาคมระหว่างเขตกับภายนอกเขต ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้เส้นทางรถยนต์และทางรถไฟในการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

 
                          รถประจำทางที่ผ่านสำนักงานเขตลาดกระบัง  ได้แก่ ปอพ. 23  ปอ.517  ปอ. 1013, สาย 1013, 517, 143, 151  และรถตู้สายต่างๆ
ถนน  ที่สำคัญ มีอยู่ 8 สาย 

  1. ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ติดต่อระหว่างเขตลาดกระบังกับเขตประเวศและเขตพระโขนง (สำนักการโยธาดูแลรับผิดชอบ)
  2. ถนนร่มเกล้า ติดต่อระหว่างเขตลาดกระบังกับเขตมีนบุรี(กรมทางหลวงดูแลรับผิดชอบ)
  3. ถนนฉลองกรุง (ถนนลำปลาทิว) ติดต่อระหว่างเขตลาดกระบังกับเขตหนองจอก           (สำนักการโยธา ดูแลรับผิดชอบ)
  4. ถนนเจ้าคุณทหาร ถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนร่มเกล้ากับถนนฉลองกรุง  (สำนักการโยธาดูแลรับผิดชอบ)
  5. ถนนหลวงแพ่ง เชื่อมต่อระหว่างถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังตรงเข้าอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา (สำนักการโยธา ดูแลรับผิดชอบ)
  6. ถนนกิ่งแก้ว เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังกับถนนบางนา-ตราด  จังหวัดสมุทรปราการ  (กรมทางหลวงดูแลรับผิดชอบ)
  7. ถนนขุมทอง – ลำต้อยติ่ง
  8. ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (มอเตอร์เวย์)

ทางรถไฟ  มีรถไฟสายตะวันออกแล่นผ่านสถานีรถไฟลาดกระบัง สถานีรถไฟหัวตะเข้และสถานีรถไฟหลวงแพ่ง
ทางน้ำ  เส้นทางหลักที่สำคัญ แบ่งเป็น
1. คลองที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน มี  1  คลอง คือ

  1. คลองลำปลาทิว

2. คลองที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการระบายน้ำ  กทม. มี 8 คลอง  คือ

  1. คลองทับยาว
  2. คลองประเวศบุรีรมย์
  3. คลองสองต้นนุ่น
  4. คลองสามประเวศ
  5. คลองสี่
  6. คลองหนึ่ง
  7. คลองสอง
  8. คลองหลวงแพ่ง (ลาดกระบัง)

 

3.คลองที่อยู่ในความรับผิดชอบของเขตลาดกระบัง มี 49 คลอง คือ

  1. คลองกาหลง
  2. คลองลำแขก
  3. คลอกเจ็ก (ลาดกระบัง)
  4. คลองตาสอน
  5. คลองตาสอนเก่า
  6. คลองบัวลอย
  7. คลองลำคูเวียง (ลาดกระบัง)
  8. คลองแยกลำพะอง
  9. คลองลำรางตาทุย
  10. คลองลำรางตาผ่อง
  11. คลองลัดทับยาว
  12. คลองลำกอไผ่ (ลาดกระบัง)
  13. คลองลำชวดเตย
  14. คลองลำชะล่า
  15. คลองลำตาแฟง
  16. คลองลำตาอิน
  17. คลองลำตาอู
  18. คลองลำแตงโม
  19. คลองลำนายโส
  20. คลองบึงบัว
  21. คลองลำพะอง
  22. คลองลำมะขาม
  23. คลองลำพุทรา
  24. คลองลำมะละกอ
  25. คลองลำมะละกอฝั่งใต้
  26. คลองลำมะละกอฝั่งเหนือ
  27. คลองลำรางชวดด้วน
  28. คลองลำรางตาแก่
  29. คลองลำรางตาติ่ง
  30. คลองลำตาเสือ
  31. คลองลำรางบึงบัว
  32. คลองลำรางลำคูเวียง
  33. คลองลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน
  34. คลองลำรางหลุมบัว
  35. คลองหลุมบัว
  36. คลองอ้อตัน
  37. คลองลำอ้ายแบน
  38. คลองหนองคา
  39. คลองหนองปรือ
  40. คลองหนองตะกร้า
  41. คลองพระยาเพชร
  42. คลองลำกระทุ่มล้ม
  43. คลองบัวเกราะ
  44. คลองลาดกระบัง
  45. คลอมมอญ (ลาดกระบัง)
  46. คลองหัวตะเข้
  47. คลองตาเกษม
  48. คลองแขก
  49. คลองทับยาวล่าง

 

อาชีพ

ลักษณะภูมิประเทศของเขตลาดกระบัง เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม แต่เนื่องจากมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ประกอบกับการเข้ามาลงทุนของภาคเอกชน  มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้างรองลงมาได้แก่อาชีพเกษตรกรรม  ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัวและอื่น ๆ
 

สถานที่สำคัญทางศาสนา

1. วัด  จำนวน 14 วัด  คือ 

  1. วัดลานบุญ
  2. วัดสังฆราชา
  3. วัดปลูกศรัทธา
  4. วัดลาดกระบัง
  5. วัดพลมานีย์
  6. วัดราชโกษา
  7. วัดขุมทอง
  8. วัดอุทัยธรรมาราม
  9. วัดสุทธาโภชน์
  10. วัดทิพพาวาส
  11. วัดบึงบัว
  12. วัดปากบึง
  13. วัดบำรุงรื่น
  14. วัดวชิรธรรมาวาส

 
2.  มัสยิด  จำนวน 7 แห่ง  คือ
2.1  มัสยิดน่าฟีอะห์ (ลำนายโส)                 แขวงคลองสองต้นนุ่น
2.2  มัสยิดดารุ้ลมูฮีบบีน                            แขวงคลองสองต้นนุ่น
2.3  มัสยิดอันนูร                                       แขวงคลองสองต้นนุ่น
2.4  มัสยิดมานารุ้ลฮุดา                             แขวงขุมทอง
2.5  มัสยิดมูฮายีรีน                                   แขวงขุมทอง
2.6  มัสยิดดารุ้ลมุกีม                                  แขวงขุมทอง
2.7  มัสยิดซิรอตุ้ลญันนะห์                          แขวงขุมทอง
 
3. โบสถ์     จำนวน  1  แห่ง  คือ  วัดพระแม่ประจักษ์เมืองลูดร์
4.  ศาลเจ้า    จำนวน  4  แห่ง  คือ 

  1. ศาลเจ้าปึ้งเถ้า
  2. ศาลเจ้าแป๊ะกง
  3. โรงเจเฮงตั้ว
  4. โรงเจเทียงป้อฮุกติ้ง

 
มูลนิธิ      จำนวน  36  มูลนิธิ
 
สมาคม    จำนวน  32  แห่ง
 
ชุมชน ซึ่งจัดตั้งตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร จำนวน 65 ชุมชน

ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร จำนวน 17 แห่ง คือ

1. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนจิตรา

2. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนดารุลมุกีมอุปถัมภ์

3. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนหลังวัดลานบุญ (ทองคำอุปถัมภ์)

4. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบำรุงรื่น

5. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนหมู่บ้านเคหะนคร 2 (พิวซิวติ่ง-ลิ้มเซาะคิ้ม)

6. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมิตรปลูกศรัทธา

7. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมิตรสามัคคีพื้นนครร่มเกล้าระยะ 5 โซน 11

8. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมิตรประชาร่วมใจฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 6 โซน 12

9. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสุทธาโภชน์สุนทรอุปถัมภ์

10. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนทิพพาวาส

11. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 1 โซน 7

12. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 2 โซน 9

13. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 3 โซน 8

14. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนฟื้นนครร่มเกล้าระยะ 4 โซน 10

15. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดราชโกษา

16. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนประชาร่วมใจ (แฟลตประชาร่วมใจ 72)

17. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดพลมานีย์

 

สถานพยาบาล   จำนวน 11 แห่ง  คือ
                                1. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักการแพทย์  กรุงเทพมหานคร
                                2.  ศูนย์บริการสาธารณสุข  สังกัดสำนักอนามัย  กรุงเทพมหานคร จำนวน  8  แห่ง
                                      2.1  ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า  ลาดกระบัง
                                      2.2  ศูนย์บริการสาธารณสุข 45  ศูนย์สาขาคลองสองต้นนุ่น
                                      2.3  ศูนย์บริการสาธารณสุข 45  ศูนย์สาขาคลองสามประเวศ
                                      2.4  ศูนย์บริการสาธารณสุข 46  กันตารัติอุทิศ  เขตลาดกระบัง
                                      2.5  ศูนย์บริการสาธารณสุข 46  ศูนย์สาขาลำปลาทิว
                                      2.6  ศูนย์บริการสาธารณสุข 46   ศูนย์สาขาบึงบัว
                                      2.7  ศูนย์บริการสาธารณสุข 46   ศูนย์สาขาขุมทอง
                                      2.8  ศูนย์บริการสาธารณสุข 46   ศูนย์สาขาทับยาว
                                3.  โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง
                                      3.1  โรงพยาบาลลาดกระบัง
                                      3.2   โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 8
 
สถานีตำรวจ  จำนวน  4  แห่ง  คือ 

  1. สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง
  2. สถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อย
  3. สถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง
  4. สถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า

 
สถานีดับเพลิง    จำนวน 1 แห่ง  คือ  สถานีดับเพลิงลาดกระบัง
ธนาคาร  จำนวน 33  แห่ง 
 
หน่วยงานราชการ  จำนวน 5 แห่ง  คือ 

  1. ศูนย์ดาวเทียม  สังกัดกระทรวงคมนาคม
  2. สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร  สาขาลาดกระบัง
  3. หมวดการทางมีนบุรี  กรมทางหลวง
  4. หอสมุดแห่งชาติ  สังกัดกรมศิลปากร
  5. สนามกีฬาพรตพิทยพยัต สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  จำนวน 7  แห่ง  คือ 

  1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลาดกระบัง
  2. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเจ้าคุณทหาร
  3. ชุมสายโทรศัพท์ลาดกระบัง
  4. การไฟฟ้านครหลวงเขตบางพลี  สาขาลาดกระบัง
  5. สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง      ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
  6. สถานีรถไฟลาดกระบัง, พระจอมเกล้า, หัวตะเข้, หลวงแพ่ง,ลานบุญ
  7. สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

 
สถาบันการศึกษา  จำนวน  37  แห่ง  ได้แก่
1.  โรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 แห่ง คือ
1.1 โรงเรียนวัดราชโกษา (เปิดสอนเพิ่มระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว)
1.2  โรงเรียนวัดลาดกระบัง (เปิดสอนเพิ่มระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว)
1.3  โรงเรียนวัดสังฆราชา  (เปิดสอนเพิ่มระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว)
1.4  โรงเรียนวัดพลมานีย์
1.5  โรงเรียนวัดปากบึง
1.6  โรงเรียนลำพะอง
1.7  โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
1.8  โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
1.9  โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
1.10  โรงเรียนวัดลานบุญ (เปิดสอนเพิ่มระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว)
1.11  โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
1.12  โรงเรียนวัดขุมทอง
1.13  โรงเรียนวัดบึงบัว
1.14  โรงเรียนวัดทิพพาวาส
1.15  โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
1.16  โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
1.17  โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
1.18   โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
1.19  โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง 
1.20 โรงเรียนวัดบำรุงรื่น

 
                2.  โรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน      (สพฐ.)  จำนวน 3 แห่ง  คือ
2.1  โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
2.2   โรงเรียนพรตพิทยพยัต
2.3   โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
 
   3.  โรงเรียนเอกชน  จำนวน 8  แห่ง  คือ
3.1  โรงเรียนมาเรียลัย  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ม.6
3.2  โรงเรียนเชิดเจิมศิลป์  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ป.6
3.3  โรงเรียนศึกษาพัฒนา  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ป.6
3.4  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ม.6 

  1. โรงเรียนยอดดวงใจ  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ป.6
  2. โรงเรียนอรรถญาสาธิต  เปิดสอนชั้นอนุบาล  -  ป.6
  3. โรงเรียนยุพลพัฒน์วัฒนา เปิดสอนชั้นอนุบาล
  4. โรงเรียนอนุบาลพร้อม  เปิดสอนชั้นอนุบาล

 
   4.  วิทยาลัย  จำนวน 4 แห่ง คือ 

  1. วิทยาลัยช่างศิลป  (สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์)
  2. วิทยาลัยพณิชยการเอเซีย  (เอกชน)
  3. วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  4. โรงเรียนเอกวิทย์อ่อนนุชบริหารธุรกิจ

 
   5.   มหาวิทยาลัย  จำนวน 1 แห่ง  คือ  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง                       

ชุมชน  ในพื้นที่เขตลาดกระบังมีจำนวนชุมชน ทั้งหมด 66 ชุมชน รายละเอียด ดังนี้ 
รายละเอียด

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง    จำนวน 20 โรงเรียน  รายละเอียด ดังนี้
รายละเอียด