เหตุรำคาญตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้แก่

     1. แหล่งระบายน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งที่เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็น หรือละลายสารเป็นพิษ หรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหานะโรคหรือก่อให้เกิดความเสื่อม หรือน่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     2. การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือวิธีใดหรือมีจำนวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     3. อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีระบบระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างเพียงพอ จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
     4. การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 
     การแจ้งเหตุเดือดร้อนรำคาญทางไปรษณีย์หรือทาง โทรศัพท์ ให้แจ้งสาระสำคัญให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หากเป็นจดหมายให้จ่าหน้าถึงผู้อำนวยการเขต หากเป็นการโทรศัพท์ให้โทรได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลเขต แต่อย่างไรก็ตามการมาแจ้งด้วยตนเองตามขั้นตอนปกติในข้อ 1-4 ท่านจะสามารถติดตามเรื่องนี้ได้ดีกว่าวิธีการอื่นๆ และจะได้รับแจ้งผลการดำเนินการจากสำนักงานเขตอีกด้วย
 
ขั้นตอนในการติดต่อ
     1. เขียนคำร้องในแบบคำร้องทั่วไปที่กำหนดไว้ โดยขอรับได้ที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตท้องที่ โดยให้ข้อความที่เขียนในคำร้องมีสาระสำคัญดังนี้
        - ระบุวันเวลาและสถานที่ที่เขียนคำร้อง
        - ชื่อ-สุกล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของท่าน ในฐานะผู้ร้องหรือผู้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
        - ระบุถึงสถานที่หรือชื่อ-สกุล ของเจ้าของสถานที่ (ถ้ารู้) ที่ตั้งของสถานที่ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แนบแผนที่ตั้งประกอบด้วยได้จะเป็นการดี
        - ระบุความต้องการ โดยเสนอและว่าต้องการให้ทางราชการดำเนินการอย่างไร
        - ลงชื่อด้วยลายเซ็น พร้อมวงเล็บชื่อ-สกุลตัวบรรจง
     2. ยื่นคำร้องดังกล่าวที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและ สุขาภิบาลของสำนักงานเขตท้องที่สุขาภิบาลประทับรับเรืองและขอจดเลขที่รับวัน ที่รับไว้เพื่อติดตามต่อไป
     3. หากได้มีโอกาสพบเจ้าหน้าที่รับผิดชอบหรือได้รับ มอบหมาย ก็ขอให้เล่าเรื่องราวให้แก่เจ้าหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนถูกต้องสำหรับการออกไปตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว
     4. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อพิสูจน์เหตุ เดือดร้อนรำคาญนั้นๆ หากวินิจฉัยได้ว่าเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญจริง จะได้ดำเนินการจัดการให้มีการแก้ไขเพื่อระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้นภายใต้ กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว และจำได้แจ้งผลการดำเนินการในขั้นต้นให้ทราบภายใน 2 วันทำการนับจากวันที่แจ้งตามข้อ 2

 
แนวทางการปฏิบัติการตรวจสอบเหตุรำคาญ