การทำพินัยกรรม/การตัดหรือถอนทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก/การสละมรดก
การทำพินัยกรรม/การตัดหรือถอนทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก/การสละมรดก
พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย การทำพินัยกรรมที่ต้องติดต่อราชการกับสำนักงานเขต มี 3 แบบ คือ 1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง 2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ 3. พินัยกรรมทำด้วยวาจา |
1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แจ้งไว้ 4. กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุเกิน 60 ปี หรือป่วย ควรมีใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ 5. พยานบุคคล 2 คน (ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับพินัยกรรม) |
2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. พินัยกรรมที่เจ้าของได้ลงลายมือชื่อและได้ผนึกซองเรียบร้อยแล้ว 4. พยานอย่างน้อย 2 คน |
3. พินัยกรรมทำด้วยวาจา การทำพินัยกรรมด้วยวาจาใช้ในกรณีที่บุคคลอยู่ในอันตรายเสี่ยงแก่ความตายและไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ และต้องกระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน เมื่อทำพินัยกรรมด้วยวาจาสิ้นสุดลง พยานต้องแจ้งต่อผู้อำนวยการเขตให้ทราบถึงข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา วันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม และสาเหตุที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นได้โดยเร็วที่สุด หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. พยานอย่างน้อย 2 คน ที่อยู่ในขณะทำพินัยกรรมด้วยวาจา |
หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. พยานอย่างน้อย 2 คน |
หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. พยานอย่างน้อย 2 คน 4. หลักฐานการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก |
หลักฐานที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. กรณีเป็นผู้เยาว์ บุคลิกวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองใช้ - หลักฐานการยินยอมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ - คำพิพากษา หรือคำสั่งศาล |
สอบถามรายละเอียด 0 2377 5494 ต่อ 5796 |