ผู้ประสงค์ที่จะขอหนังสือรับรองจะต้องติดต่อสำนักงานเขตท้องที่ที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้านและขอออกหนังสือรับรองกรณี ดังนี้
         1. รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
         2. รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ
         3. รับรองสถานที่เกิด - รับรองการตาย
         4. รับรองว่าเป็นผู้ประสบสาธารณภัย
         5. รับรองความประพฤติ
         6. รับรองว่ายังมีชีวิตอยู่เพื่อไปรับบำนาญ
         7. รับรองสถานภาพการสมรส (รับรองความเป็นโสด)
         8. รับรองลายมือชื่อกรณีให้ความยินยอมแก่บุตรเดินทางไปต่างประเทศ
         9. รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตร หรือผู้ส่งเงินให้ในต่างประเทศเพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
       10. รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ
       11. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
       12. รับรองการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
       13. สอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลกรณีอื่น
       14. สอบสวนการอุปการะเลี้ยงดูหรือปกครองบุตรฝ่ายเดียว
       15. สอบสวนประกอบการพิจารณาพักการลงโทษ
       16. สอบสวนทายาทเพื่อรับบำเหน็จตกทอด
 
หลักฐานที่ใช้
         1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้องฉบับจริงพร้อมสำเนา
         2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้องฉบับจริงพร้อมสำเนา
         3. พยานบุคคลที่เชื่อถือได้อย่างน้อย 2 คน
         4. เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 
ใบเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
-  รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ใช้เอกสารที่ราชการออกให้ซึ่งไม่ตรงกันทุกฉบับพร้อมสำเนา
-  รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ (กรณีนำโฉนดประกันตัวผู้ต้องหา) ใช้หลักฐานกรรมสิทธิ์ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 เป็นต้น
-  รับรองสถานที่เกิด ใช้
-  สำเนาคำร้อง ทร.31 แจ้งขอคัดสูติบัตรในท้องที่ที่ผู้ร้องเกิด
-  หนังสือมอบอำนาจผ่านสถานฑูต (กรณีมอบอำนาจ)
-  รับรองว่าเป็นผู้ประสบสาธารณภัย
-  อื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เช่น หลักฐานการแจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ
-  หลักฐานหรือการประเมินราคาทรัพย์สินที่เสียหาย
-  ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ
- รับรองความประพฤติ
-  กรณีรับรองเพื่ออุปสมบทให้มีหนังสือจากวัดมาด้วย
-  กรณีรับรองการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้มีใบอนุโมทนาบัตรมาด้วย
-  รับรองสถานภาพการสมรส
                        -   กรณีเคยจดทะเบียนสมรสมาแล้วต้องนำหลักฐานใบสำคัญการหย่ามาด้วย พร้อมสำเนา
                        -   หนังสือมอบอำนาจผ่านสถานฑูต (กรณีมอบอำนาจ)
-  รับรองลายมือชื่อกรณีให้ความยินยอมแก่บุตรเดินทางไปต่างประเทศ
                        -  ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาของผู้ให้ความยินยอม (บิดา-มารดา)
                        -  ใบสำคัญการสมรส
                        -  ทะเบียนบ้านและสูติบัตรของบุตร (กรณีมีบัตรประจำตัวประชาชนให้นำมาด้วย)
-  รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
                        -  ใบสำคัญการสมรสของผู้ค้ำ (ถ้ามี)                 
 
ข้อควรทราบ
         1. กิจกรรมต่าง ๆ มอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทนไม่ได้
             ยกเว้น 
รับรองสถานที่เกิด - รับรองการตาย และรับรองสถานภาพการสมรส (รับรองความเป็นโสด)
         2. พยานต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและทราบเรื่องที่จะให้รับรองเป็นอย่างดี
 
ระยะเวลาและขั้นตอนการให้บริการ
 
 
แบบฟอร์ม             
 
สอบถามเพิ่มเติม      0 2377 5494 ต่อ 5796