งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร

การขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ยื่นคำขออนุญาต แบบ ข.1 หรือ ข.2 พร้อมหลักฐาน ดังนี้
1.  แผนผังบริเวณ รายการประกอบแบบและแบบแปลนแสดงรายละเอียดอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง รวม 5 ชุด
2.  สำาเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ยื่นขออนุญาต พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด
3.  สำเนาโฉนดที่ดินที่ขออนุญาตทุกแผ่น ขนาดเท่าของจริง (ห้ามย่อหรือขยายส่วน) พร้อมให้เจ้าของที่ดินทุกคนเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
4.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินทุกคน พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด
5.  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขออนุญาตมอบหมายตัวแทน) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
6.  กรณีผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดินเป็นรูปบริษัท หรือนิติบุคคลจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามเซ็นชื่อ พร้อมประทับตราบริษัทในเอกสาร
7.  สำเนาหนังสือรับรองบริษัทหรือนิติบุคคล แสดงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและวัตถุประสงค์ ทุกแผ่นมีอายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนา จำนวน 1 ชุด
8.  หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน ตามาตรา 29 (แบบ น. 4) 
9.  รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร (กรณีเป็นอาคารที่ก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรหรือวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่) พร้อมให้วิศวกรผู้คำนวณโครงสร้างเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น จำนวน 1 ชุด
10. หนังสือรับรอง พร้อมสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (เฉพาะกรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาด อยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และสถาปัตยกรรมควบคุมแล้วแต่กรณี)
11. กรณีอาคารที่อยู่ในข่าย ต้องมีระบบกำจัดน้ำเสีย เช่น อาคารชุด หอพัก ต้องแสดงรายการคำนวณ 1 ชุด พร้อมแบบแปลนการกำาจัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด

โปรดอย่าทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ก่อนได้รับอนุญาต หรือก่อสร้าง ดัดแปลง ผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต มิฉะนั้นท่านจะได้รับโทษ ดังนี้ 
1.  การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือทำผิดจากแบบที่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.  การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น นอกจากจะต้องระวางโทษตามข้อ 1 แล้ว ต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000.- บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
3.  การกระทำดังกล่าว ถ้าเป็นการกระทำของผู้ดำเนินการต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า ของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
4.  ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทนซึ่งอาคารใด ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า ของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ 

งานรักษาที่สาธารณะ

1.  ตรวจสอบระวังชี้แนวเขตที่สาธารณะ ถนน ซอย คู คลอง ลำราง และที่ของกรุงเทพมหานครเพื่อมิให้มีการรุกล้ำ
2.  ตรวจสอบและกำหนดแนวเขตที่สาธารณะ ให้แก่ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่มีส่วนต่อกับที่สาธารณะ หรือมีแนวถนนโครงการของหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมระวังชี้แนวเขตที่สาธารณะหรือที่ดินของกรุงเทพมหานครกับสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครในกรณีที่มีการขอรังวัดที่ดินและที่ดินนั้นมีส่วนติดต่อกับที่สาธารณะ
3.  ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลที่สาธารณะให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.  ดำเนินการกับผู้ละเมิดหรือทำความเสียหายแก่ที่สาธารณะ เช่น การลักลอบขุดถนน ทางเท้า และทำการก่อสร้างอาคารรุกล้ำที่สาธารณะ
5.  จัดทำหลักฐานการอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณประโยชน์
6.  จัดทำทะเบียนที่สาธารณะ เก็บโฉนด ระวางแผนที่ รายละเอียดเกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์
7.  ตรวจสอบพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ
8.  การขออนุญาตเชื่อมท่อระบายน้ำกรณีต้องการสร้างเชื่อมระหว่างท่อระบายน้ำของอาคารกับท่อระบายน้ำสาธารณะ
9.  การขออนุญาตปรับปรุงถนน ทางเท้า และวางท่อระบายน้ำในที่สาธารณะ
10. การขออนุญาตทำาการต่าง ๆ ในที่สาธารณะ เช่น การกั้นรั้วชั่วคราว กองสิ่งของ วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ การตั้งโต๊ะ ตั้งเต็นท์ชั่วคราว
11. การตรวจสอบพิจารณาอนุญาตขุดดินและถมดิน ตามพระราชบัญญัติขุดดิน ถมดิน พ.ศ. 2543
12. การจัดกรรมสิทธิ์ ดำเนินการเกี่ยวกับการเวนคืน การจัดหาหรือการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น โดยวิธีตกลงซื้อขาย การขออุทิศและการจัดซื้อโดยวิธีปรองดองตามมติคณะรัฐมนตรี
13. จัดทำติดตั้ง ซ่อมแซม และดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ถนน คู คลอง สะพานข้ามคลอง และแผ่นสะท้อนภาพ (กระจกโค้ง)
14. ดูแลรักษาที่สาธารณะและที่เอกชนตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกันติดต่อกัน ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ทรัพย์สินที่เจ้าของได้แสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรยกให้กรุงเทพมหานครหรือให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินที่เจ้าของยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอย เช่า หรือเจ้าของจดทะเบียนสิทธิ์เหนือพื้นดินหรือจดทะเบียนภาระจำยอมให้กรุงเทพมหานคร ทรัพย์สินของส่วนราชการอื่น และเจ้าของแสดงความยินยอมให้ใช้สอย
15. พิจารณาการอนุญาตขุดถนน ทางเท้า เพื่อการก่อสร้างงานสาธารณูปโภค

งานโครงการก่อสร้างและบูรณะ

1.  สำรวจ ออกแบบ ประมาณราคา ขอจัดสรรงบประมาณ และวางแผนในการปรับปรุงซ่อมแซมถนน ตรอก ซอยและสาธารณูปโภค
2.  การบำรุงรักษาถนน ตรอก ซอย ท่อระบายน้ำและสิ่งสาธารณูปโภค
3.  การตรวจสอบแก้ไขปัญหาการร้องเรียน ถนน ทางเท้าที่ชำรุดเสียหายและน้ำท่วม กรณี ถนนมีระดับต่ำ
4.  การดำเนินการจ้างเหมา ควบคุมการดำเนินการปรับปรุงต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแบบและรายการก่อสร้าง
5.  การซ่อมแซมและบำรุงรักษาถนน ตรอก ซอยที่เป็นทางสาธารณะ

งานระบายน้ำ

1.  การบำรุงรักษาคู คลอง และท่อระบายน้ำสาธารณะ
2.  การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำแก้ไขและซ่อมแซมฝาท่อระบายน้ำสาธารณะ
3.  การเก็บขยะจากคู คลอง
4.  การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

การขอให้ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ทางเท้า สะพาน ป้ายชื่อซอย ป้ายบอกทาง 
หรือล้างท่อระบายน้ำ

หลักฐานที่ใช้
1.  บัตรประจำาตัวประชาชน
2.  ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขป