หมวด ADR & Side effects

คำถามที่ 1
ผู้ถาม คือ เภสัชกรศูนย์บริการสาธารณสุข 15ลาดพร้าว

https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000322/Sutarpat/DIS%20%2010-02-2564.docx

ผู้ตอบ คือ เภสัชกรห้วงเวลา หน่วยบริการเภสัชกรรม กทม.2 ค่ะ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามที่ 2
ผู้ถาม คือ เภสัชกรศูนย์บริการสาธารณสุข 63 สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
คำถาม : อยากได้ข้อมูลเปรียบเทียบของยา metoprolol / atenolol / propranolol (หรือทั้งกลุ่ม beta block ก็ได้ค่ะ)
ในแง่ ข้อบ่งใช้ /การศึกษาทางคลินิก / การเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ผลข้างเคียงของยาแต่ละตัว ในแต่ละข้อบ่งใช้ที่เด่นๆ / แนวทางการเลือกใช้ยาแต่ละตัวในกลุ่ม

https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000322/Sutarpat/Beta-Blockers.pdf

ผู้ตอบ คือ เภสัชกรห้วงเวลา หน่วยบริการเภสัชกรรม กทม.2 ค่ะ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามที่ 3
ผู้ถาม คือ เภสัชกรศูนย์บริการสาธารณสุข 63 สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
คำถาม : พอจะมีแนวทางการส่งตรวจยีน HLA-B*58:01 สำหรับคนรับประทานยา allopurinol ไหมคะ 

คำตอบ : https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000322/Sutarpat/allopurinol.pdf

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถามที่ 4

ผู้ถาม ประชาชน

คำถาม : ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็น G-6-PD Deficiency สามารถฉีด Sinopharm BBIBP COVID-19 Vaccine ได้หรือไม่

ผู้ตอบ เภสัชห้วงเวลา หน่วยบริการเภสัชกรรมกทม2

Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency (G-6-PD deficiency) หรือโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีการถ่ายทอดผ่าน X-link recessive ที่มีการกลายพันธุ์ของเอนไซม์ G-6-PD โดยตัวเอนไซม์ดังกล่าวมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอกจนเกิดภาวะ Oxidative Stress ภายในเซลล์ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเว้นแต่จะได้รับสิ่งกระตุ้น โดยสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิด Oxidative Stress และมีโอกาสทำให้เม็ดเลือดแดงแตกถ้าไม่มีเอนไซม์ G-6-PD คอยช่วยได้แก่ การติดเชื้อทั้งไวรัสหรือแบคทีเรีย การรับประทานอาหารบางชนิดเช่นถั่วปากอ้า หรือสารถนอมอาหารประเภทซัลไฟต์ การได้รับสารเคมีบางประเภท เช่น เมนทอล การบูร ลูกเหม็น  หรือการได้รับยารักษาโรคบางชนิด ซึ่งจำเป็นต้องระมัดระวังและได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรอย่างถี่ถ้วนก่อนใช้ยา โดยยาที่อาจทำให้เกิด Oxidative Stress ในผู้ป่วย G-6-PD deficiency เช่น Sulfanilamide หรือยาในกลุ่มซัลฟา  ยาในกลุ่มต้านมาลาเรีย  ยากลุ่ม Fluoroquinolones  /Trimethoprim/Sulfamethoxazole /Aspirins / Paracetamol เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD ก็มี variation ของการกลายพันธุ์ในระดับเอนไซม์ที่แตกต่างกัน ทำให้ความรุนแรงของโรคเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆตามที่อธิบายมา มีความแตกต่างกัน บางรายอาจได้รับสิ่งกระตุ้นแล้วไม่มีอาการใดๆเลย หรือบางรายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายโดยทันทีBBIBP-CorV เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรค COVID-19 ผลิตโดยบริษัท Sinopharm ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็น COVID-19 Vaccine ที่มีกลไกการออกฤทธิ์เป็นแบบเชื้อตาย มี Adjuvant คือ Aluminum Hydroxide 0.225 mg และมี Excipients ได้แก่ Disodium Hydrogen Phosphate 1.4 mg, Sodium Dihydrogen Phosphate 0.1373 mg และ Sodium Chloride 4.25 mg  ส่วนประกอบต่าง ๆ ข้างต้นไม่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD  แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังมีอายุเพียง 11 ปี จึงยังไม่สามารถฉีดวัคซีนดังกล่าวได้จนกว่าจะมีการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก (ในปัจจุบันอนุมัติให้ใช้วัคซีน BBIBP-CorV ได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป)  อย่างไรก็ตามในประเทศบาห์เรนได้มีการอนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-11 ปีได้แล้ว (ข้อมูลล่าสุดเมื่อ 27 ตุลาคม 2021)

https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/322/DIS%20%2019-10-2564.docx