Therapeutics
Therapeutics
คำถามที่1
ผู้ถาม เภสัชกร ศบส36 บุคคโล
เปรียบเทียบการใช้ยา Propylthiouracil (PTU) กับ Methimazole (MMI) ในการรักษาภาวะ Hyperthyroidism
ผู้ตอบ เภสัชห้วงเวลา หน่วยบริการเภสัชกรรมกทม2
สำหรับยา Propylthiouracil (PTU) กับ Methimazole (MMI) จัดเป็นยาในกลุ่ม Thioamides เป็นยาสำหรับรักษาภาวะ hyperthyroidism ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษานอกเหนือจากการกลืนไอโอดีนรังสี 131I และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยจุดประสงค์ของการใช้ยานั้นจะเป็นการใช้ยาในระยะยาวประมาณ 12-18 เดือนสำหรับผู้ป่วย Grave’s disease เพื่อให้ถึงจุด long term emission หรือนำมาใช้สำหรับรักษาผู้ป่วย hyperthyroidism ที่มีการตั้งครรภ์ร่วมด้วย ยาทั้งสองชนิดข้างต้นมีกลไกการออกฤทธิ์เดียวกันคือไปยับยั้งการสร้าง T3 และ T4 เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาเข้าไปแล้ว ยาทั้งสองชนิดสามารถถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้ดี ส่วนระยะเวลาการออกฤทธิ์ และระยะเวลาครึ่งชีวิตจะแตกต่างกัน คือ PTU มีครึ่งชีวิตประมาณ 1-2 ชั่วโมง และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ประมาณ 5 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้นเวลารับประทานยา จึงต้องแบ่งออกเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน แต่ MMI มีครึ่งชีวิตประมาณ 4-6 ชั่วโมง และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานยานี้เพียงวันละ 1 ครั้งก็ได้
สำหรับผลข้างเคียงของยา ทั้ง PTU และ MMI สามารถพบการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น Agranulocytosis เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาว granulocyte เหลือไม่ถึง 500 cell / mcL โดยมักจะมีอาการไข้สูงลอย อาการเจ็บคอ ซึ่งยา PTU สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้นได้แบบ idiosyncrasy โดยไม่ขึ้นกับ dose dependent แต่ในยา MMI จะเกิดผลข้างเคียงแบบ dosedependent ดังนั้นถ้ารับประมาณ MMI ไม่เกิน 30 mg/day จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด agranulocytosis ต่ำกว่า PTU และจะเกิดความเสี่ยงพอ ๆ กันกับ PTU เมื่อรับประมาณ MMI เกินวันละ 30 mg/day ส่วนผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอีกภาวะหนึ่งคือ Hepatic failure ซึ่ง 30% ของผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่ม Thioamides อาจเกิด hepatotoxicity ได้ แต่ลักษณะจะแตกต่างกัน ถ้าเกิดในยา PTU มักจะเกิดขึ้นโดยทำลายเซลล์ตับโดยตรง (hepatocellular damaged) แต่ถ้าเกิดจาก MMI จะเป็นในรูปแบบ cholestatic jaundice ซึ่งถ้าตรวจพบระดับ enzyme สูงกว่า 2.5 x normal baseline หรือมีภาวะเหลืองร่วมด้วย และยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้หลอดเลือดอักเสบ (Antineutrophil cytoplasmic antibody (ANCA) associated vasculitis) โดยเฉพาะในผู้ป่วยประมาณ 20% ของทั้งหมดที่ใช้ยา PTU ส่วนใหญ่จะเกิดอาการปวดข้อ ปัสสาวะมีเลือดแดงปน ไอเป็นเลือด เมื่อเกิดผลข้างเคียงทั้ง agranulocytosis, hepatotoxic หรือ ANCA associated vasculitis แล้วจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาในกลุ่ม Thioamides ได้อีกเพราะเป็น absolute contraindication
https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/322/DIS%20%2019-10-2564.docx