การจดทะเบียนพินัยกรรม

1. การทำพินัยกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางอำเภอ มี 3 แบบคือ

(1) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อผู้อำนวยการเขตและพยาน โดยสามารถร้องขอทำพินัยกรรม ณ สำนักงานเขต หรือนอกสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แจ้งไว้
4) มีใบรับรองแพทย์แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดี
5) พยานบุคคล 2 คน
**ค่าป่วยการพยาน คนละ 50 บาท (กรณีไม่มีพยานมาด้วย)
**ค่าธรรมเนียมในสำนักงานเขต ฉบับละ 50 บาท ถ้าทำคู่ฉบับด้วย ฉบับละ 10 บาท นอกสำนักงานเขต ฉบับละ 100 บาท ถ้าทำคู่ฉบับด้วย ฉบับละ 20 บาท

(2) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้จัดทำพินัยกรรมขึ้นเอง โดยมีการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและลงลายมือชื่อคาบลอยผนึกพินัยกรรมนั้นด้วย และนำพินัยกรรมที่ผนึกแล้วไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขต
พร้อมพยาน แล้วให้ถ้อยคำต่อบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปยื่นแสดงเพื่อให้สำนักงานเขตจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
**ค่าธรรมเนียม 20 บาท

(3) พินัยกรรมทำด้วยวาจา
เป็นพินัยกรรมที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม
โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น แล้วพยาน 2 คนนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตโดยไม่ชักช้า และแจ้งข้อความ
ที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้นพร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษนั้นได้ด้วย โดยพยานสามารถไปแสดงตนแจ้งข้อความพินัยกรรม
ณ สำนักงานเจตแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
**มีต้องเสียค่าธรรมเนียม
ข้อความทราบ
1) ผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือเอกสารลับ จะขอรับพินัยกรรมไปเก็บรักษาเองทันทีก็ได้ หรือจะให้สำนักงานเขตเก็บรักษาไว้ให้ก็ได้
2) พินัยกรรมทำด้วยวาจา จะไม่มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นตามกฎหมายกำหนดไว้
3) คุณสมบัติผู้ทำพินัยกรรม
- อายุ 15 ปีบริบูรณ์
- ต้องไม่เป็นคนที่ศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ

2. การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
การตัดทายาทโดยธรรมมอให้รับมรดก อาจทำได้ 2 วิธี คือ ทำเป็นพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
** ค่าป่วยการพยาน คนละ 50 บาท (กรณีไม่มีพยานมาด้วย)
** ค่าธรรมเนียมค่าจัดทำ ฉบับละ 20 บาท
** ค่ารับมอบเก็บเอกสาร ฉบับละ 20 บาท

3. การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
การถอนจะทำได้โดยพินัยกรรมเท่านั้น หากทำเป็นหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำได้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบได้แก่
พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักแห่งใดก็ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
4) หลักฐานการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
** ค่าป่วยการพยาน คนละ 50 บาท (กรณีไม่มีพยานมาด้วย)
** ค่าธรรมเนียมค่าจัดทำ ฉบับละ 20 บาท

4. การสละมรดก
เมื่อมีผู้ประสงค์จะทำการสละมรดก ให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบเจ้าพนักงานต่อพนักงานมีเงื่อนไขเวลาไม่ได้ การสละมรกด จะทำเพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข
หรือมีเงื่อนไขเวลาไม่ได้ เมื่อสละแล้วจะถอนไม่ได้
เอกสารที่ต้องใช้
1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) ทะเบียนบ้าน
3) พยานบุคคล 2 คน
4) หลักฐานการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
** ค่าป่วยการพยาน คนละ 50 (กรณีไม่มีพยานมาด้วย)
** ค่าธรรมเนียมค่าจัดทำ ฉบับละ 20 บาท
** ค่ารับมอบเก็บเอกสาร ฉบับละ 20 ( ทะเบียน )

ดาวน์โหลด คำร้องขอทำพินัยกรรม ขอตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก หรือถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก หรือการสละมรดก